Transformer Map กรณีศึกษา SCB

กรณีศึกษาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ จาก “ธนาคารไทยพาณิชย์” เป็น “SCBX”

--

Transformer Map | Case Study : SCB | by Digital Transformation Academy

การทรานส์ฟอร์มของ SCB สะท้อนให้เห็นภาพของธุรกิจการเงินในอนาคต ที่จะแข่งกันบนกฎเกณฑ์และสิ่งแวดล้อมแบบใหม่ ทิ้งรากเง้าของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ จนไม่เหลือภาพจำแบบเดิมๆ อีกต่อไป โดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน

โครงสร้างใหม่นี้ แบ่งรูปแบบของธุรกิจได้เป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ก็คือ

  • ส่วนที่ 1 : ธุรกิจ Cash Cow ซึ่งก็คือ ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกัน
  • ส่วนท่ี 2 : ธุรกิจ New Growth

ธุรกิจในส่วน Cash Cow คือ ช่องที่ 1 และ ช่องที่ 2 และธุรกิจในส่วน New Growth คือ ช่องที่ 3 และ ช่องที่ 4 ของ Transformer Map นั่นเอง

Transformer Map by Digital Transformation Academy

ช่องที่ 1 และ 2 : Current [Core Business] + Current [Market] + New [Market]

ทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจหลักที่มีในปัจจุบัน + ในตลาดปัจจุบันของคุณ + เข้าสู่ตลาดใหม่

  • ปี 2016 ประกาศแผน SCB Transformation ตั้งเป้าหมายเป็น “The Most Admired Bank” ปรับโฉมโมบายแบงกิ้ง ลงทุนไอทีกว่า 6,500 ล้าน วางรากระบบ Big Data
  • ปี 2018 ประกาศแผนทรานส์ฟอร์มใหม่ ภายใต้กลยุทธ์ “Going Upside Down” หรือ “กลับหัวตีลังกา” แผนดำเนินการระยะยาว 3 ปี (ปี 2018–2020) เพื่อหาขีดความสามารถใหม่ ๆ เป้าหมายแรก คือ การลดต้นทุนองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำงานแทนพนักงานของธนาคาร นำลูกค้าไปอยู่บนดิจิทัลแพลตฟอร์มใหม่ของธนาคาร ปรับลดทั้ง “สาขาและพนักงาน” ลงต่อเนื่อง โดยคาดว่าปี 2020 จะเหลือสาขาประมาณ 400 สาขา จากปัจจุบันที่มี 1,153 สาขา ขณะที่พนักงานแบงก์จะเหลือ 15,000 คน จาก 27,000 คน

ช่องที่ 3 และ 4 : New [Core Business] + Current [Market] + New [Market]

ทรานส์ฟอร์มด้วยการสร้างธุรกิจหลักใหม่ + ในตลาดปัจจุบันของคุณ + เข้าสู่ตลาดใหม่

  • ปี 2021 ประกาศแปลงร่าง Transformation ธนาคารไทยพาณิชย์ จาก “ธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย” ขึ้นเป็น “SCBX” บริษัทโฮลดิ้ง ในรูปแบบ Financial Technology Group เพื่อเป็นยานแม่ของกลุ่ม SCB เพื่อ ขยายฐานลูกค้า 200 ล้านราย จากฐานลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ที่ 16 ล้านราย มีกำไรเพิ่มขึ้น 1.5–2.0 เท่า และมีมาเก็ตแคปถึง 1 ล้านล้านบาทวางเป้า 5 ปีข้างหน้า จะรายได้โตเป็น 1ใน 3ของรายได้รวม
  • “SCBX” ตามโมเดลใหม่ จะมีการโอนย้าย “ธนาคารไทยพาณิชย์” และธุรกิจในเครือออกมาเป็นบริษัทลูก จำนวน 9 บริษัท คือ Card X, SCB Securities, SCB 10X, SCB Abacus, MONIX, Purple Ventures, Digital Ventures, SCB Tech X และ Token X และจัดตั้งบริษัทใหม่จำนวน 5 บริษัท คือ Auto X, Alpha X, CPG-SCB VC Fund, AISCB JV และ Data X
  • กรกฎาคม 2563 เปิดตัว “Robinhood” (โรบินฮู้ด) แอปพลิเคชั่น Food Delivery จากกลุ่ม SCB โดย Purple Ventures ที่จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ เช่นกัน ไม่มีค่าสมัคร ไม่คิดค่า GP (Gross Profit) ลูกค้าได้จ่ายค่าอาหารและค่าส่งตามจริงไม่มีบวก นอกจากนี้ ยังช่วยให้ร้านค้ามีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นด้วย
  • พฤษภาคม 2565 เปิดตัว “Robinhood Travel” แพลตฟอร์ม OTA (Online Travel Agent) ที่รวบรวมประสบการณ์การเดินทางแบบครบวงจร (All-In-One) ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ทั้งบริการจองที่พัก ตั๋วเครื่องบิน ทัวร์กิจกรรม รถเช่า และประกันภัย พร้อมย้ำจุดยืนเดิม Zero Commission ไม่เก็บค่าธรรมเนียม ช่วยผู้ประกอบการไม่ต้องแบกรับต้นทุนจากการใช้ตัวแทนขายห้องพักผ่านออนไลน์ สามารถนำต้นทุนที่ลดลงไป นำไปเป็นส่วนลดให้แก่นักท่องเที่ยว ซึ่ง Robinhood Travel นับเป็นอีกก้าวที่สำคัญของ Robinhood ในการมุ่งสู่การเป็น “ซุปเปอร์แอปสัญชาติไทย”

โครงสร้างธุรกิจ SCBX จะดำเนินงานภายใต้ 3 ธุรกิจหลัก คือ

  • “กลุ่มแรก ธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์” จะยังคงเป็นแกนหลัก โดยจะมีการพัฒนาในเรื่องประสิทธิภาพให้ดีขึ้น เน้นการสร้างผลกำไร ผลตอบแทนที่สูงขึ้นเป็นหลัก
  • “กลุ่มที่สอง ธุรกิจสินเชื่อเพื่อรายย่อยและบริการการเงินแบบดิจิทัล” ซึ่งมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก มีอัตราผลกำไรที่สูงอยู่แล้ว จะแยกออกมาจากธนาคาร เพื่อความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ
  • และ “กลุ่มที่สาม กลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มเทคโนโลยี” คาดว่าจะมีบทบาทกลายเป็นกลุ่มธุรกิจหลักในระยะยาว
  • ตั้งเป้าหมายธุรกิจสินเชื่อรายย่อยและบริการการเงินแบบดิจิทัล และธุรกิจแพลตฟอร์มเทคโนโลยี 2 ธุรกิจนี้จะมีสัดส่วนรายได้รวมกันมากกว่า 30% แต่ในระยะถัดไป ธุรกิจแพลตฟอร์มเทคโนโลยี จะเติบโตกลายเป็นเป็นธุรกิจหลักแทน
Transformer Map | Case Study : SCB | by Digital Transformation Academy

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ฐานเศรษฐกิจ ประชาชาติ Techsauce มติชน กรุงเทพธุรกิจ-1 กรุงเทพธุรกิจ-2 ลงทุนแมน เนชั่นทีวี

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Transformer Map เครื่องมือออกแบบกลยุทธ์ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เพื่อโต้กลับ Disrupter ได้ ที่นี่

กรณีศึกษา : การทรานส์ฟอร์มธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย

Transformer Map | Case Study : KBank | by Digital Transformation Academy

กรณีศึกษา : การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ จาก ธุรกิจผลิตตู้สาขาโทรศัพท์ ‘Forth’ และ ตู้เติมเงิน ‘บุญเติม’ สู่ ธุรกิจคาเฟ่อัตโนมัติ ‘เต่าบิน’

Transformer Map กรณีศึกษาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ จาก ธุรกิจผลิตตู้สาขาโทรศัพท์ ‘Forth’ และ ตู้เติมเงิน ‘บุญเติม’ สู่ ธุรกิจคาเฟ่อัตโนมัติ ‘เต่าบิน’โดย Digital Transformation Academy

กรณีศึกษา : การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ จาก ‘ธุรกิจตู้เติมเงิน’ สู่จักรวาล ‘SABUYVERSE’

Transformer Map กรณีศึกษาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ จาก ‘ธุรกิจตู้เติมเงิน’ สู่จักรวาล ‘SABUYVERSE’ โดย Digital Transformation Academy

กรณีศึกษา :การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ ของ ไทยรัฐ จาก ‘หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ’ เป็น ‘THAIRATH LOGISTICS’

Transformer Map | Case Study : Thairath | by Digital Transformation Academy

--

--