Transformer : กรณีศึกษา ไทยรัฐ

กรณีศึกษาการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ จาก “ไทยรัฐ” เป็น “ไทยรัฐออนไลน์” และ “Thairath Logistics

--

Transformer | Case Study : Thairath | by Digital Transformation Academy

ไทยรัฐ ในฐานะเจ้าแห่งสื่อหนังสือพิมพ์ นอกจากทรานส์ฟอร์มมาทำธุรกิจสื่อออนไลน์แล้ว ไทยรัฐยังได้ทรานส์ฟอร์มสู่ธุรกิจโลจิสติกส์อีกด้วย

สถานการณ์

บริษัท วัชรพล จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ อยู่ในอุตสาหกรรมที่อยู่ในขาลง จากมูลค่าของเม็ดเงินโฆษณาของสื่อสิ่งพิมพ์หายไป

  • ปี พ.ศ. 2558 : เม็ดเงินโฆษณาสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ มีมูลค่า 12,332 ล้านบาท
  • ปี พ.ศ. 2562 : เม็ดเงินโฆษณาสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ มีมูลค่า 4,600 ล้านบาท

ความท้าทาย

รายได้ธุรกิจเดิมจากหนังสือพิมพ์ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา จนในปี 2562 ผลประกอบการของ บริษัท วัชรพล จำกัด เริ่มมีตัวเลขขาดทุน

  • ปี 2556 รายได้ 4,754 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,092 ล้านบาท
  • ปี 2557 รายได้ 4,082 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,647 ล้านบาท
  • ปี 2558 รายได้ 3,504 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,456 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 2,739 ล้านบาท กำไรสุทธิ 927 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 2,238 ล้านบาท กำไรสุทธิ 603 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 1,725 ล้านบาท กำไรสุทธิ 313 ล้านบาท
  • ปี 2562 รายได้ 1,304 ล้านบาท ขาดทุน 36 ล้านบาท

โอกาสในอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์

ในทางกลับกันเม็ดเงินโฆษณาในอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์ได้อานิสงส์จากการที่คนนิยมใช้งานสื่อออนไลน์มากขึ้น

  • ปี พ.ศ. 2558 : เม็ดเงินโฆษณาสำหรับสื่อออนไลน์ มีมูลค่า 8,084 ล้านบาท
  • ปี พ.ศ. 2562 เม็ดเงินโฆษณาสำหรับสื่อออนไลน์ มีมูลค่า 20,163 ล้านบาท

โอกาสในการสร้าง New Growth

อีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังเติบโตนั่นก็คือ “ธุรกิจโลจิสติกส์”

ในปี พ.ศ. 2558 มูลค่าตลาด อีคอมเมิร์ซ ของไทยเท่ากับ 2.2 ล้านล้านบาท
ขณะที่ ปี พ.ศ. 2562 มูลค่าตลาด อีคอมเมิร์ซ ของไทยเท่ากับ 4.0 ล้านล้านบาท
ซึ่งเติบโตเกือบเท่าตัวในระยะเวลาเพียง 5 ปี

ซึ่งการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ก็ได้พาให้ธุรกิจหนึ่งโตตามไปด้วย นั่นก็คือ “ธุรกิจขนส่งพัสดุ”

นอกจากนี้ มูลค่าตลาดของธุรกิจขนส่งพัสดุ ในปี พ.ศ. 2560–2562 เติบโตกว่า 96% และยังมีแนวโน้มเติบโตอีก

  • ปี พ.ศ. 2560 : ตลาดของธุรกิจขนส่งพัสดุ มีมูลค่า 25,000 ล้านบาท
  • ปี พ.ศ. 2561 : ตลาดของธุรกิจขนส่งพัสดุ มีมูลค่า 35,000 ล้านบาท
  • ปี พ.ศ. 2562 : ตลาดของธุรกิจขนส่งพัสดุ มีมูลค่า 49,000 ล้านบาท

การทรานส์ฟอร์มธุรกิจ จาก “ไทยรัฐ” เป็น “ไทยรัฐออนไลน์” และ “Thairath Logistics” เป็นการดำเนินกลยุทธ์ ทั้ง 4 ช่องของ Transformer Map

Transformer Map by Digital Transformation Academy

ช่องที่ 1 : Current [Core Business] + Current [Market]

ทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจหลักที่มีในปัจจุบัน + ในตลาดปัจจุบันของคุณ

ในส่วนของธุรกิจ ‘หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ’ ได้ใช้กลยุทธ์​ Refocus เพื่อรักษาฐานลูกค้าเฉพาะบางกลุ่มที่ยังสามารถทำรายได้หรือกำไรให้ธุรกิจได้ ควบคู่ไปกับการ Lean เพื่อลดต้นทุนและให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ช่องที่ 2 : Current [Core Business] + New [Market]

ทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจหลักที่มีในปัจจุบัน + เข้าสู่ตลาดใหม่

นอกจาก ‘ไทยรัฐออนไลน์’ ไทยรัฐ ยังได้เปิดตัวเว็บไซต์ 2 แบรนด์ใหม่ MIRROR (มิร์เรอร์) คอนเทนท์สำหรับผู้หญิงยุคใหม่ และ PEEPZ (พีพซ์) คอนเทนท์สำหรับวัยรุ่น

สำหรับ MIRROR เน้นเจาะกลุ่มผู้หญิงยุคใหม่ นำเสนอคอนเทนต์ 3 กลุ่มหลัก คือ ‘Style’ คอนเทนต์เกี่ยวกับเทรนด์การแต่งตัว สร้างความมั่นใจ และอัพเดทเทรนด์ใหม่ ‘Beauty+’ คอนเทนต์เกี่ยวกับการแต่งหน้า ทำผม การออกกำลังกาย การรักษาสุขภาพ ดูแลตัวเอง และ ‘Life’ นำเสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในแง่มุมต่างๆ ทั้งเรื่องงาน ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์และแรงบันดาลใจต่างๆ ในชีวิต

ส่วน PEEPZ จะเป็นแบรนด์วัยรุ่น จับกลุ่ม Gen Z นำเสนอวิดีโอคอนเทนต์สนุกๆ ในรูปแบบของ Short-Form Mobile VDO โดยเนื้อหาเจาะไปที่ความสนใจของวัยรุ่น เช่น เกม, เรื่องตลก, เพลง, เต้น, ความสัมพันธ์กับเพื่อน แฟน ครอบครัว และ LGBT

ช่องที่ 3 : New [Core Business] + Current [Market]

ทรานส์ฟอร์มด้วยการสร้างธุรกิจหลักใหม่ + ในตลาดปัจจุบันของคุณ

ผลประกอบการของ บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด ผู้ดูแลข้อมูลข่าวในด้านต่างๆ ของไทยรัฐ ผ่านระบบสื่อดิจิทัลในชื่อ “ไทยรัฐออนไลน์” มีแนวโน้มรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี

  • ปี พ.ศ. 2560 : รายได้ 166 ล้านบาท กำไร 27 ล้านบาท
  • ปี พ.ศ. 2561 : รายได้ 196 ล้านบาท กำไร 36 ล้านบาท
  • ปี พ.ศ. 2562 : รายได้ 194 ล้านบาท กำไร 14 ล้านบาท

นำ AI และ Machine Learning มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการนำเสนอคอนเทนต์ให้ตรงกับความต้องการของผู้อ่านมากขึ้น

ไทยรัฐออนไลน์ ได้นำเอา AI Technology ของ Google cloud ที่ชื่อว่า Vision API และ Auto ML มาใช้ในการวิเคราะห์รูปภาพ เพื่อหาข้อมูลที่สำคัญในรูป และใช้ข้อมูลนั้นในการทำ keyword แบบอัตโนมัติเพื่อช่วยจัดระเบียบคลังข้อมูลและภาพทั้งหมดของเครือไทยรัฐ กรุ๊ปกว่า 10 ล้านรูป จากเดิมที่ต้องใช้บุคคลากรและเวลานานในการทำงาน อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กองบรรณาธิการ สามารถค้นหาภาพ ข่าว เนื้อหาและเอกสารต่างๆได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ผ่าน Google cloud search และยังมีแผนการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้กับการค้นหาข่าวในเว็บไซต์อีกด้วย

ช่องที่ 4 : New [Core Business] + New [Market]

ทรานส์ฟอร์มด้วยการสร้างธุรกิจหลักใหม่ + เข้าสู่ตลาดใหม่

การเข้าสู่ธุรกิจขนส่ง Thairath Logistics จึงเป็นอีกการปรับตัวของค่ายสื่อยักษ์ใหญ่ ในสมรภูมิ Technology Disruption ที่ทุกคนต้องหาทางรอดและสร้างโอกาสใหม่ในธุรกิจที่ยังเติบโต

ในกรณีของไทยรัฐ บริษัทมีรถบรรทุก 6 ล้อ เป็นรถขนส่งที่ทำความเร็วได้สูงสำหรับขนส่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เพื่อส่งไปขายยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศอยู่แล้ว บริษัทก็มองว่า รถดังกล่าวสามารถนำมาใช้รับส่งวัสดุไปตามสถานที่ต่างๆ ได้ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ให้แก่เครือไทยรัฐแล้วนั้น ยังเป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้คุ้มค่าและ และสร้างรายได้ในธุรกิจใหม่

การเข้าสู่ธุรกิจขนส่งของเครือไทยรัฐ เป็นการเข้ามาให้บริการเกาะเทรนด์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตสูง ซึ่งการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ก็ได้พาให้ธุรกิจหนึ่งโตตามไปด้วย นั่นก็คือ “ธุรกิจขนส่งพัสดุ” เพราะทุกธุรกิจต้องเข้าสู่การค้าออนไลน์และต้องใช้บริการขนส่ง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : Brand Buffet ลงทุนแมน MarketingOops

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Transformer Map เครื่องมือออกแบบกลยุทธ์ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ เพื่อโต้กลับ Disrupter ได้ ที่นี่

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในกรณีศึกษาบริษัทชั้นนำระดับโลกและของไทย ถอดรหัสการทรานส์ฟอร์มธุรกิจ จากหนังสือใหม่ Transformer Playbook คู่มือทรานส์ฟอร์มธุรกิจ หนังสือลำดับที่ 4 ของหนังสือชุด Digital Transformation เขียนโดย ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล

หนังสือชุด Digital Transformation ทั้ง 4 เล่ม เขียนโดย ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล

ดูข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือชุด Digital Transformation ทั้ง 4 เล่ม และสั่งซื้อได้ที่ www.digitaltransformationacademy.org/Books

กรณีศึกษาทรานส์ฟอร์มธุรกิจระดับโลกและของไทย หนังสือชุด Digital Transformation ทั้ง 4 เล่ม เขียนโดย ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล

อ่านกรณีศึกษา Transformers เพิ่มเติมได้ ที่นี่

--

--