Wirintorn Jrm
Sharing Citizen
Published in
2 min readNov 4, 2017

--

นักแปลรุ่นใหม่ VS วิทยานิพนธ์สุดเจ๋ง ในงานของ TSIS

เราไปร่วมงานน่ารักๆนี้รู้สึกอยากแชร์เกร็ด ที่น่าสนใจสำหรับคนที่สนใจงานสิ่งพิมพ์ ลองอ่านกันดูนะคะ

“PASSION x RESEARCH”

Post Halloween talk, Academic Zombie

by “TSIS” องค์กรที่มุ่งสร้างสังคมนักวิจัยคุณภาพครบวงจร ภูมิใจนำเสนองานเสวนา (เกือบ) วิชาการ ที่จะหยิบเอาเรื่องที่ บางคนอาจคิดไม่ถึง แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ มาพูดคุย

เผื่อใครอยากเห็นภาพบรรยากาศในงาน ที่มีผีมาจริงๆ เอ้ย ทุกคนทุ่มเทให้กับ theme สมจริง และครั้งหน้าจะ หยิบเอาเรื่องมันส์เรื่องไหนมาคุยกันต่อ ติดตามได้ที่>> https://www.facebook.com/theTSISThailand/

Session 1ทฤษฏีการเมืองระหว่างประเทศ ฉบับ ซอมบี้

พูดคุยกับคุณ ธรรมชาติ กรี่อักษร (นักแปลรุ่นใหม่ไฟแรง)จากส่วนหนึ่งของหนังสือ เขียนโดย แดเนียล เดรชเนอร์ (2017)

ถ้าไม่มีคนรับเข้าทำงาน แล้วจะมีประสบการณ์การทำงานได้ไง มันเป็นปัญหางูกินหาง เราทำผลงานของเราให้เป็นชิ้นเป็นอันก่อน นั่นก็กรั่นกรองมาจากประสบการณ์ของเรา ไม่มีที่ทำงานที่ไหน ไม่อยากรับคนมีความสามารถ ทำงานเป็นในด้านนั้นๆ

และนักแปลรุ่นใหม่คนนี้ก็เริ่มจาก แปลต้นฉบับให้เสร็จเรียบร้อยเลย ทำให้สำนักพิมพ์รู้สึกว่า งานแปลมีความน่าเช่ื่อถือ ด้วยการหาบรรณาธิการมาเป็นcradit ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่ทางสำนักพิมพ์จัดการให้เอง

คุณคิดว่าตัวเองเป็นนักแปลหรือยัง

ยังไม่คิดว่าตัวเองเป็นนักแปล เพราะไม่จบทางการแปลมาโดยตรง ผมBMIR แต่สนใจหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่ป.ตรี แล้วค่อยๆทำมัน แล้วความรู้จากสิ่งที่เรียนในห้อง และความรู้ด้านอื่นก็มีส่วนช่วยในการช่วยแปลให้ง่ายขึ้น

เวลาเลือกใช้คำ เลือกยังไง คำแต่ละคำเหมือนกันก็จริงแต่น้ำหนักจะไม่เท่ากัน อย่าง กินกับแดก น้ำหนักก็ไม่เท่ากัน แล้วเทคนิคการเลือกคำคือ?

มีพื้นฐานจากการเรียนรัฐศาสตร์มาอยู่แล้วเลยเข้าใจบริบทง่ายขึ้น แล้วก็เลือกจาก digtionary ใน google และ วิกิฯ ดุูคำแปลจาก Eng to Eng ก่อน แล้วค่อยมาเลือกว่าคำไหนดีในภาษาไทยโดยไม่เปลี่ยนแปลง จุดประสงค์ บริบทเดิมของผู้เขียนและที่สำคัญ ต้องดูก่อนว่าหนังสือเล่มเนี๊ยะ ตั้งใจให้ใครอ่าน

รู้ได้ไงว่า งานเราดีจริงหรือไม่ ต้องมีคนช่วยดูไหม

ผมมีอาจารย์เป็นบบรรณาธิการแปล / ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนใน Facebook

แปลเสร็จ จะมีสำนักพิมพ์รับไปพิมพ์ไหม นี่คือความท้าทายความช่วยเหลือจากคนรอบข้างมีส่วนช่วยมากๆครับ

ภาษาไม่ใช่ของเรา เราเป็นแค่ร่างทรงของภาษา (พิธีกร เอาหลักคิด wording ของคนอื่นมาอ้างอิงในการถามด้วย ให้การถามมีเสน่ห์และมีความรู้ในตัวคำถามไปด้วย ) แปลยังไงให้ส่งผ่านบริบทเดิมผ่านไปยังผู้อ่านได้ โดยไม่ไปเปลี่ยนบริบทของผู้แปลเดิม ให้ตรงกับบริบทในวัฒนธรรมที่ต่างกัน

งานเขียนEng จะมีคำที่เน้นให้เราเข้าใจอยู่แล้วอย่างเช่นคำว่า ซอมบี้ไม่สนไรเลยนอกจากสมองง ..ง ..ง.. ก็จะมีคำว่า brainnnnnnn บอกไว้ อาศัยจินตนาการ

ก็จะมีบ้างคำยากๆเช่น Elephant in room แปลว่า มองข้ามบางสิ่งบางเรื่องไป

Kick the can เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเดี๋ยวก็กลับมาเจออีก ไม่ใช่แปลว่า บางเรื่องก็เตะกระป๋องไป ทำให้ผู้อ่านงง เราต้องหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อเข้าใจถึงบริบทจริงๆ ไม่แปลมั่วซั่ว ง่ายๆ นี่คือสิ่งที่ทำให้มนุษย์ ต่างจาก google traslate

นักแปลเงินดีมะ?

10%ของราคาปก คูณด้วยจำนวนที่พิมพ์ แล้วก็หักภาษีนิดหน่อย คุณอาจจะใช้เวลาแค่ 15นาทีต่อวัน ก็ทำเงินได้ละ แถมช่วยเกลาภาษาการเขียนเราให้ดีขึ้น และเป็นแหล่งอ้างอิงของรายงานที่เราต้องทำในส่วนอื่นได้

ข้อเสีย ถ้าจัดเวลาไม่ดี ก็รวน และอาจสับสนในตัวเองระหว่างการเขียน paper และงานแปล เพราะการเขียนpaper เราต้องมี ความคิดเป็นของตัวเอง มี orginality ของตัวเอง แต่การแปล เป็นการแปลidea ของคนอื่นที่เหมือนเป็นร่างทรงความคิดคนอื่น ทำให้เวลาเราทำ paper ของตัวเอง กลับเอาความคิดและภาษาเขามาเติม ไม่ใชของเราเอง

เริ่มอย่างไรดี

1.เลือกหนังสือที่เราสามารถมี commitment กับมันได้ สนใจจะทำให้เสร็จ

2.เราน่าจะขายได้ เช่น กลายเป็นหนังสือที่จะกลายเป็นหนังสือใช้สอนในอนาคตหรือปัจจุบัน

3. ถ้าสามารถถามเจ้าของงานได้ก็ดี แต่ถ้าไม่มีโอกาส ก็ควรถามอาจารย์หรือผู้รู้เกี่ยวกับคนนั้น

สร้างเป้าหมายให้ตัวเองวิธี

-ค้ิดแบบ bottom up เช่น ย่อหน้านี้สนุกดีแล้วสะสมเรื่อยๆก็จะเห็นเป้าหมายในระยะยาวเอง ต่างจาก topdown เช่น บางคนตั้งใจว่าจะเป็นหมอก็เรียนและทำทุกอย่างเพื่อเป็นหมอเลย

-มี Critical thinking ตั้งคำถามกับตัวเองและสิ่งที่เราเชื่อ

session 2 ซอมบี้ไทย สังคมไทย การเมืองไทย

วิทยานิพนธ์คนรุ่นใหม่ ที่เอาเรื่องเหมือนไร้สาระมาผนวกกับวิชาการ ให้มีชีวิตชีวา

นักปรัชญาบางคน เชื่อว่า ซอมบี้มีจริงยิ่งกว่าพระเจ้ามีจริงเสียอีก

เป็นวิทยานิพนธ์ find out โดยย่อได้ 3 อย่าง

1. บริบทอะไรชักนำให้ซอมบี้เข้ามาในสังคมไทย ทุกวัฒนธรรมมีmonsterของเป็นของตัวเองและ represent อะไรบางอย่างออกมา

2 มีร่องรอยอะไรทางซอมบีที่ปรากฏในสื่อ ที่มีกับสังคมไทย

3 นอกจากปรากฏตัวในสิ่อแล้วยังเป็นเครื่องมือที่ใข้ในชีวิตประจำวันด้วย

ซอมบี้ เข้ามาในไทยตอนไหน บริบทชักนำเข้ามา จากผีไทยในขนบเดิมๆ ที่มีในความคิดความเชื่ออยู่แล้ว ต่อมาบริบทความคิดความเชื่อที่เปลี่ยนไปตามเวลาก็อาจชักนำเข้ามาเช่นกัน การรับสื่อต่างประเทศมากขึ้น อุตสาหกรรมสื่อที่เติบโตขึ้น

คนแปลคำคว่า zombie กล่าวถึงสิ่งที่ตายแต่ไม่ตาย ผีนำเข้าที่มาพร้อมกันคือ เจียงซือ และแวมไพร์

ไปพร้อมๆกับคำว่า ผี ซึ่งเข้ามาชนกับระบบความเชื่อผีไทย

ซอมบี้ คำนี้มีคุณค่าบางอย่างถึงกับเราเอามาใช้เปรียบเปรยบางอย่างกับตัวบุคคล เช่น เธอโทรมเหมือนซอมบี้เลย หรือ สังคม เช่น สังคมเฉื่อยชาเหมือนซอมบี้เลย หรือ การเมือง

ทำไมทำเรื่องนี้

จากPassion คือชอบ ซอมบี้ พอได้หัวข้อก่อนแล้วค่อยเลือกอาจารย์

ใช้วิธี documentary analysis วิเคราะห์จากสื่อ และค้นคว้าข้อมูล พูดคุย ค้นคว้าวรรณกรรม ตอนแรกอยากเขียน วิทยานิพนธ์ เป็นนิยาย แต่กลัวสังคมไม่ยอมรับ เลยเขียนเป็นเชิงคุณภาพ แต่ก็ไม่ได้เขียนตามแบบเดิมเช่น ที่มาและความสำคัญ แต่เขียนว่า มาทำไม , ก้าว ต่อ ไป

มีแพลนการทำหนังสือ AR เอามือถือไปส่องแล้ว ขึ้นเป็น รูปและวิดิโอ ซึ่งอาจเป็นสีสันในวงการวิชายวิชาการได้

--

--