ว่าด้วยเรื่องการศึกษาโรงเรียนในชนบทกับพี่ๆ TeachforThailand : Day 4 Ep.1

Wirintorn Jrm
Sharing Citizen
Published in
3 min readJul 4, 2017

ผมว่า ความเป็นครูมันตัดขาดจากลูกศิษย์ไม่ได้นะ แม้แต่trickเล็กๆ ผมก็ไม่มองข้าม เช่น เวลาตรวจไรไม่ใช่แค่ติ้กถุกผิด.. มันต้องมีคอมเม้นกลับไปให้เด็กด้วยว่า ควรแก้ไขยังไง

วันนี้พวกเราตื่นขึ้นมาพร้อมกับสายฝนพรำๆ ดูท่าน่าจะตกทั้งวัน แต่ไม่เป็นไร ! ตามสัญญาของเมื่อวาน ภารกิจวันนี้เรามี ไปโรงเรียนหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ บ้านง้อมเปา (ห้วยกานต์) และโรงเรียนกิ่วจันทร์ กับทางคณะ Teach for Thailand เพื่อไปดูวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กๆ สภาพแวดล้อมโรงเรียน สภาพการศึกษา ฯลฯ แถมมีเดินป่าตอนบ่ายอีกด้วย ว้าวววววว

พี่ๆTeah for thailand, CEO ก็มาเองเลยนะครับ + คุณครู,ผอ โรงเรียนง้อมเปา+พี่ๆเจ้าหน้าที่โครงการแม่ฟ้าหลวง

พี่ๆTeach for Thailand มาเยี่ยมเยียน ที่ขุนน่าน ทำไม?

เพื่อหาพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาคนที่มีศักยภาพผู้ที่ผ่านการคัดเลือก ที่เข้าร่วมโครงการนั่นเอง นำมาปรับ Mindset องการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เข้าใจสังคม การศึกษาจริงๆ เตรียมความรู้ ดูวิธีคิด รู้จักตนเอง รู้จักการจัดการระบบ เพราะกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องทำให้การสอนมันflowไปได้มาก สร้างประสบการณ์การสอนเบื้องต้น สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูในโครงการและคนจากหลายภาคส่วนทำให้องค์กรขับเคลื่อนได้ไกลมากขึ้น

สนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีค่าต่อการศึกษาไทย คลิกดูได้ ตาม

http://www.teachforthailand.org/TH/

เมื่อเดินทางถึงโรงเรียนหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ คุณลุงผู้อำนวยการโรงเรียนยิ้มต้อนรับอย่างเป็นกันเอง มาแอบฟังพวกเรากันดีกว่า

ผอ.ท่านเล่าว่า สมัยคอมมิวนิสต์ประชาชนยังมีความคิดแตกต่างจากรัฐเยอะแรกเริ่ม เอาคนที่สนใจจะเรียนทุกอายุมารวมกันจากนั้นสอบเทียบว่าใครชั้นไหน ป.1–6 ตอนนั้นบริบทบ้านเมืองเปลี่ยนไป จึงเปลี่ยนเป็นรร.ขยายโอกาสทางการศึกษา คนยังอ่านเขียนไม่ได้ก็มีอยู่เยอะ บุคลากรในโรงเรียนก็มีน้อยมาก ปัจจุบันทางโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่อ.1-ม.3 มีนักเรียนทั้งหมด 106คน บุคลากรในรร.อาจารย์รวม 15 คน

จุดเด่นของโรงเรียนนี้

  • มีหลายหน่วยงานคอยให้ความช่วยเหลือ แต่บางหมู่คณะ พอเกนชาวบ้านไม่ได้ก็มาเกนเดกเข้าร่วมกิจกรรมหมู่บ้าน มาเกนครูไปอบรม==’ แต่โครงการปิดทองเนี่ยมาช่วยจริงจัง คือดี ^O^ล่าสุดจากจุดด้อยของโรงเรียนที่ ภาระงานของครูเลยทำให้กระบวนการการเรียนแย่ ปิดทองเลยเข้ามา 2โครงการ นักปฏิบัติการรุ่นเยาวปลูกพืชลดรายจ่าย&สัตว์ปีก คือ ได้จดบันทึก ติดตามผล โดยใช้บุคลากรของโรงเรียนและปิดทอง ทำให้ครูได้ไปเยี่ยมบ้านนร.บ่อยขึ้น แม้แต่ผู้บริหาร ก็มีความจำเปนที่ไปสานสัมพันธ์ จะอ้างว่าไม่มีเวลาไม่ได่ถ้ามันเปนประโยชน์กับเด็ก ก้ต้องไป การที่ปิดทองมา แนะว่าควรมีการแปรรูปทำให้โรงเรียนตื่นตัว มันเปนการมาspark ถ้าปิดทองไม่มา การยกระดับก็ไม่เกิดที่รร.เรา บางกิจกรรมที่เกี่ยวโยงกับป่า ก็ของบจากปิดทองได้ เด็กก็ได้ไปเที่ยวหาความรู้นอกห้องเรียนกับปิดทองหลายครั้ง เช่น เดกดูแลป่า ค่ายเด็กลุยป่า ฯลฯ หลังๆทหารอยากสร้างบทบาท ผอรู้แกม55 เลยเขียนหนังสือไปขอความอนุเคราะห์ ไม่ขอเปนเงินนะ เค้าก้ส่งคน+เครื่องมือ มาสร้างบ่อน้ำทหารก็มาสร้างให้,กระทรวงมหาดไทยผอ.ก็ขอทำแปลงผัก ปลูกไผ่(เพื่อที่ว่าชาวบ้านตัดก็งอกใหม่ได้ ป่าไหม้ไผ่ไม่ตายเลยอยากเอามาเปนโมเดลสร้างป่า) ,การประปานครหลวง ทำหนังสือ ปรับปรุงระบบน้ำในโรงเรียน เค้าก้จะมาดำเนินการให้ซื้อวัสดุอุปกรขึ้นมา ชาวบ้านลงแรง น้ำใจของชาวบ้านก็เป็นส่วนสำคัญของเรานะ
  • มีการทำMou กับการอาชีพมาสอนวันพฤหัส เช่น ช่างยนต์ ช่างก่อสร้าง เวียนไปแต่ละปีการศึกษา
  • ผอ.มีการวางแผนจะทำโรงแปรรูปกาแฟ ร้านกาแฟเล็กๆนี่คือวิสัยทัศน์ที่น่าสนใจอย่างมากของผอที่อยากจะสร้าง Product ของ “เรา”ขึ้น “เรา” ในที่นีหมายถึงผลผลิตของเด็ก คือการให้พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข ผอ.ใช้ Slogan ว่า

“คิดได้ ผลิตเป็น ขายเป็น”

คือเป็นการนำเอาโครงสร้างการสอนวิชาชีพในโรงเรียนมา แล้วทำความเข้าใจกับผู้ปกครองก่อน เน้นให้เด็กทำงานค่อนข้างเยอะ อีกทั้งมองหาสิ่งที่มีในชุมชุนมาประกอบการสอนเช่น หม่อน กล้วย สอนให้เด็กรู้จักแปรรูป ทำการตลาด ทำpackaging อีกทั้งพยายามหาเงินมาทำจุดสาธิตในการขาย และจะนำเอาอาชีพด้านบริการมาผสมผสานการสอนด้วย ทั้งนี้ก็เชื่อโยงกัมูลนิธิปิดทองฯด้วย เพราะ ทางมูลนิธิสนับสนุนให้ปลูกกาแฟ ในอนาคตต่อไปหากทางโรงเรียนมีการผลิตกาแฟออกมา แล้วแปรรูป ก็ทำให้สามารถสร้างร้านกาแฟเล็กๆได้ แม้ไม่มีกำไร แต่ให้เด็กเรียนรู้อาชีพการบริการที่ถูกต้องเพื่อทำงานหาเลี้ยงชีพได้

เด็กลงทุนกันคนละ5บาทเพื่อทำให้รู้สึกว่ากบเปนของเค้า เค้าจะได้ช่วยกันดูแล จากนั้นขายให้สหกรณ์และแจกปันผลคืนให้กัยเดกที่ลงทุนไว้ บางส่วนโรงเรียนก็ ซิ้อต่อจากสหกรณ์ มาทำเปนอาหารกลางวันให้น้อง
  • การเรียนการสอนสอดคล้องกับวิถีชีวิต มีแปลงผัก แปลงเพาะกล้า บ่อน้ำที่ทหารมาสร้างให้ กบคอนโด >>เด็กป.1ให้ปลูกต้นไม้คนละต้น จนจบละจะภูมิใจในผลของเค้า คุณครูก็ไปสอนวัดความสูงของต้นไม้ ติดตามผลเพราะป.1ยังบันทึกไม่เป็น
  • คุณครูที่อยู่กับผอ.ได้ ต้องเป็นทุกอย่างให้เด็กแล้ว ช่วยกันสร้าง ซ่อม โรงเรียน เช่นสร้างป้าย สร้างสนามเด็กเล่นให้เด็กๆ คนสำราญ งานสำเร็จ

เด็กจบม.3 เด็กเรียนต่อ 100% แต่จะรอดไม่รอดอีกเรื่องนึง ด้วยอัตภาพผมหวังแค่ให้เด็กสร้างเนื้อสร้างตัวได้ แต่ถ้าไปไกลละดับจังหวัดประเทศ ได้รับการศึกษาสูงๆดีดีผมสักคนสองคนในโรงเรียนผมว่ามันก็ที่สุดแล้ว

จุดด้อย>> ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาไม่ดี

เฉพาะรับนโยบายต่างๆก็แทบไม่มีเวลาสอนจริงจัง แล้ว ยังต้องเอาเวลาไปทำอย่างอื่นด้วย ผลสัมฤทธิ์จึงอยู่ในเกนฑ์ ชช (ชุ่ยๆ) 555

เพราะจำเป็นต้องสนองนโยบายรัฐบาลที่เข้ามามากมายรวมถึงกิจกรรมอื่นที่บั่นทอนเวลาทำการเรียนการสอน เช่น

  • นโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาเล่น แนวคิดมันดีนะ แต่ผอ.(แอบบ่น)เหมือนยัดเยียดทำให้จัดตารางสอนยาก โดยเฉพาะ โรงเรียนครูไม่พอ รร.นี้มีถึงม.3ไม่มีครูภาษาไทยด้วยซ้ำ

- พวกกิจกรรมเข้ามาในรูปแบบของ ค่าย(ที่คิดน้อยๆ) มันทำให้ เบียดบังเวลาการสอนของครู บางกิจกรรมก็เป็นกิจกรรมที่มีอยุ่แล้ว มาตั้งวงร้องเพลง เพลงสันทนาการควบคุมการใช้คำไม่ได้บางทีใช้คำหยาบ คำสองแง่สองง่าม เด็กวัยนี้มันรับรู้อะไรพวกนี้ได้ง่ายอยากให้ระวังหน่อย อาจทำให้เด็กเรียนรู้อะไรที่ไม่เหมาะสมไป เกิดต้นทุนของโรงเรียนและชุมชนที่ต้องมาคอยทำความสะอาด และซ่อมแซมบางส่วนที่คนนอกเข้ามาทำชำรุด

  • บางหน่วยงานมาบริจาคเงินเล็กน้อย (ผมขอขอบคุณในความกรุณา)แต่บางทีเพื่อนำเงินไปหักภาษี เพราะมันหักได้2เท่า ก็มาขอให้ออกใบกำกับภาษีให้ซึ่งขั้นตอนมันยุ่งยาก เสียเวลานิดนึง
  • บางหน่วยงานติดต่อว่าจะมา แต่ก็หายไป อาจเพราะมันไกลเกินใจ

ระหว่างทางเราก็ได้ข้อคิดดีดีจากพี่บอสบนรถว่า

เวลาเข้าไปชุมชน/รร ต้องเคลียให้ชัดว่าเราทำไร ให้เค้าได้แค่ไหน เพราะเหมือนเปนการให้ความหวังเขา

อยากให้ชมก่อนถึงโรงเรียนกิ่วจันทร์

โรงเรียนกิ่วจันทร์ สะท้อนปัญหาโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลได้ชัดมาก คือ

  • เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีจำนวนเด็กน้อยมาก เวลาราชการจัดสรรครูมาก็จัดตามจำนวนเด็กไม่ได้จัดตามว่า จะต้องสอนอะไร ทำให้ มีครูไม่ครบทุกชั้น

เมื่อก่อนครู1คนสอนทุกวิชาแต่ครูโจ เสกสรร บุญรักษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ เปลี่ยน เพราะนโยบายรัฐเรียนเพื่อไปสอบ เขาจึงเปลี่ยนไม่ทำตามทั้งหมด ก็เปลี่ยนเปนครู1คนสอนแต่ละวิชาไปเลย

  • เดกใช้ภาษาเผ่ารั้วในชีวิตประจำวัน สื่อสารลำบากเพราะครูก้ไม่ได้ศึกษารั้วมาแบบ สอนไทยอยุ่ ก็หันหน้าไปพูดรั้วกัน

แต่รั้ว เป็นเผ่าที่พูดไทยชัดสุดในเรื่องของการออกเสียง ชัดเจน ป.1ยังแค่ อาอีอูอยู่เลย ในขณะที่ในเมืองผสมคำเรียบร้อย การบ้าน สั่งไปเถอะ ต้องขู่ เพราะเสาอาทิตต้องไปไล่สวนกับพ่อแม่เพราะพ่อแม่ต้องนอนในไร่ขาดเรียนบ่อย

ที่นี่ 50% ไปเรียนต่อสายสามัญ 50 ปวชปวสส่วนมากผู้หญิงจะ success เพราะเด็กผู้ชาย สังคมเยอะกว่าเรียนจบอยากมีเมียแล้ว ญรักเรียนมากกว่า

ผอ. ร่วมกันชุมขนอย่างไร>> ประชุมร่วมกับผู้นำสำคัญ ไปหาปลา กับชาวบ้าน ใช้เข้าใจเข้าถึงพัฒนา สิ่งก่อสร้างที่มีในโรงเรียนชาวบน้านร่วมกันลงแรง ใช้วัสดุของแต่ละบ้านบางส่วน

เวลาประชุมผู้ปกครอง ต้องประชุมกลางคืน หรือวันกำ ซึ่งเปนวันหยุดการทำงาน10วันหยุดครั้งนึง เพราะเวลาอื่นเขาทำงาน

พี่โจเล่าว่า วงการครูมี 2 สายคือสายบริหารกับสายสอน แล้วครูข้าราชกับกับครูอัตราจ้างต่างกันตรง สวัสดิการและกรอบงาน

ครูโจ เสกสรร บุญรักษา กำลังทำงานวิจัยเกี่ยวกับการอ่านออกเขียนได้ของเดก อยากข่วยทำนวัตกรรมช่วยอ่านออกเขียนได้ของเด็กทุกวิชา เคยสอนโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดที่เชียงราย

ขณะนี้เวลา 1.00 ออยกับน้องแพรว ขอฝากนิดนึงว่า ต่อให้เอาครูเตรียมอุดมมาสอนบ้านง้อมเปาก็คงสอนเด็กให้เก่งเหมือนกรุงเทพไม่ได้เพราะแต่ละที่มีข้อจำกัดแตกต่างกัน ไม่มี one size fits all สำหรับเรื่องนี้ เด็กธรรมศาสตร์หรือจุฬา ก็มีกิมมิกต่างกันบ้างจากtraditional ที่ผ่านมาต่างกัน ควรสอนให้เด็กเป็นศูนย์กลางบูรณาการร่วมกับชุมชน

เดินป่า >> Day4 EP2 ฉบับหน้าค่ะ

พี่ๆTeach for thailand byebye + เตรียมตัวพบกับการผจฐภัยในป่าใหญ่ของสาวๆ

--

--