[DataVisualization] ทำความรู้จักกับ Tree Map และ Heat Map

Karnawat Wongudom
Siam Chamnankit Family
2 min readJan 31, 2020

บทความชิ้นที่สี่สำหรับเรื่อง Data Visualization แล้วนะครับ
โดยภายในบทความนี้จะพามารู้จัก Map ทั้งสองประเภทนี้ โดยมี
Heat Map ที่อาจจะคุ้นหน้าคุ้นตากันแล้ว และ
Tree Map ที่อาจจะเคยผ่าน ๆ ตามาบ้างแต่ยังไม่เข้าใจ เรามาลองดูกันเลยครับ

Tree Map — แผนภูมิต้นไม้

การใช้งาน : ใช้นำเสนอข้อมูลแบบแสดงให้เห็นพื้นที่ แสดงผลในแบบลำดับชั้น เหมือนแบบโครงสร้างต้นไม้ เบื้องต้นพื้นที่จะบ่งบอกถึงปริมาณในข้อมูลนั้น ๆ เป็นแผนเชิงปริมาณ จัดกลุ่มตามกลุ่มพื้นหลักและมีแต่ละกลุ่มย่อยตามความสัมพันธ์ เช่น ข้อมูลปริมาณยอดขายของอาหารแต่ละชนิดในประเภทอาหารเช้าและมื้อเที่ยง , ปริมาณพนักงานในแต่ละแผนกในแต่ละออฟฟิศ เป็นต้น

เทคนิค : แผนภูมิสามารถใช้ความเข้มของสี เพื่อเพิ่มรายละเอียดให้เห็นความต่างของแต่ละประเภทของข้อมูลได้ดีขึ้น โดยยิ่งข้อมูลในประเภทนั้นมีจำนวนมาก พื้นที่จะยิ่งกว้าง และมีสีที่เข้มมาก ซึ่งการใช้สีควรใช้ให้น้อยเพื่อให้ได้แผนภูมิมีความซับซ้อนมากจนเกินไป

ตัวอย่าง Tree Map ของความห่างผู้เลือกประธานาธิบดีในรัฐฟลอริด้าในเขตต่าง ๆ

Heat Map-แผนภูมิความร้อน

การใช้งาน : ใช้นำเสนอข้อมูลแนวโน้มหรือความสัมพันธ์แบบง่าย ๆ โดยใช้ คู่สี
และความเข้มข้นของสีแทนปริมาณหรือความถี่
เช่น ตารางแสดงข้อมูลอุณหภูมิในแต่ละพื้นที่ในช่วงเวลาของแต่ละเดือน ,
ตารางข้อมูลจำนวนอุบัติเหตุในแต่ละวันของช่วงเดือนมกราคม เป็นต้น
โดยพื้นฐานของแผนภูมินี้ไม่จำเป็นว่าต้องระบุตัวเลขลงไป ในแต่ละช่องของตาราง

เทคนิค : เลือกใช้คู่สีที่แสดงถึงความหมายที่ต้องการจะสื่อสาร (เช่น สีแดงหมายถึงอันตราย คู่กับสีเขียวที่หมายถึงปลอดภัย) โดยแผนภูมิความร้อนที่เกี่ยวข้องกับทางภูมิศาสตร์จะเรียกว่า Choropleth Map(แผนที่เฉพาะเรื่อง)

ตัวอย่าง Heat Map (Choropleth) แสดงจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรน่าในประเทศจีน

ขอขอบคุณที่เข้ามาอ่าน ขอให้สนุกกับ Data Visualization ครับ
Reference Course : Data Visualization, Excel Charts & Graphs : Chris Dutton

--

--