SIX NETWORK ประกาศข่าวดีก่อนสิ้นปี มียอด upload กว่า 1,000,000 ผลงานบน ระบบ ECHO

Thannicha Tina Jiratthanan
SIX Network
Published in
3 min readDec 25, 2019

หลังจากที่ทาง SIX Network ได้เปิดตัว ECHO Project หรือระบบลงทะเบียนข้อมูลทางอัตลักษณ์ (identity) บนเทคโนโลยี blockchain และพร้อมให้นักสร้างสรรค์ทุกคนสามารถ upload ข้อมูลได้เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งทาง SIX Network ได้รับผลการตอบรับเป็นอย่างดี โดยเพียงเวลาไม่ถึง 1 เดือน จำนวนข้อมูลที่ถูกนำมาลงทะเบียนนั้นมีมากกว่า 1 ล้านชิ้นแล้ว (https://echo.work/)

ส่วนหนึ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นของกลุ่มนักสร้างสรรค์คือการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ยังมีอยู่เกือบทุกวงการซึ่งส่งผลสร้างความเสียหายให้แก่ทั้งตัวบุคคลและธุรกิจไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์, นักเขียน Freelance หรือบริษัทสตาร์ทอัพที่ไม่สามารถเริ่มดำเนินธุรกิจหรือสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ

การพัฒนาระบบลงทะเบียนข้อมูลทางอัตลักษณ์ (identity) หรือ ECHO ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีและเป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจาก ECHO นั้นสามารถจัดเก็บอัตลักษณ์และตรวจสอบข้อมูลและจัดเก็บอยู่บนเครือข่ายเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มกลางที่เมื่อ upload ข้อมูลแล้ว ไม่มีใครสามารถแก้ไขได้ ดังนั้นนักสร้างสรรค์จากทุกวงการสามารถใช้ระบบนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดของตนเองได้อย่างแน่นอน

โดยปัจจุบันเราพัฒนาระบบ ECHO ขึ้นมาเพื่อให้จัดเก็บและตรวจสอบข้อมูลได้ 6 ประเภท ได้แก่

  1. ข้อความ
  2. ภาพถ่าย
  3. ไฟล์เสียง
  4. วิดีโอ
  5. Other digital asset class (สำหรับข้อมูลรูปแบบอื่นๆ เช่น ฐานข้อมูลทองคำ ข้อมูลสินทรัพย์ดิจิตัล)
  6. Identity physical asset (ข้อมูลรหัสสินค้าสำหรับสินค้าทั่วไป เช่น รูปภาพศิลปะ งานปั้น หรือพระเครื่อง ที่นำมาใช้ร่วมกับสติ๊กเกอร์ลิขสิทธิ์เพื่อใช้ยืนยันตัวตน

เพื่อความเข้าใจในระบบ ECHO มากยิ่งขึ้น เรามาดูกันว่าการทำงานของ ECHO ในการจัดเก็บอัตลักษณ์และตรวจสอบงานเขียนนั้นทำงานอย่างไร (https://sixnetwork.gitbook.io/docs/)

หลักการทำงานของ ECHO ในการจักเก็บและตรวจสอบงานเขียน (Text Digest)

ขั้นตอนที่ (1)

นักเขียนทำการ upload งานเขียนของตนเองขึ้นบนระบบ ECHO ซึ่งสามารถทำได้ 2 ทางด้วยกันคือ (1) Upload ขึ้นทาง ECHO โดยตรงผ่าน browser หรือ (2) Upload ผ่านทาง SDK ที่วางไว้ที่ Partner Platform

ขั้นตอนที่ (2)

ระบบจากสร้าง Metafinger จาก Fingerprint และ Metadata ของข้อมูลนั้นๆ เพื่อนำ Metafinger เข้าสู่ขั้นตอนการตรวจสอบจากต้นฉบับของหนังสือทั้งหมด ตัวอย่างเช่น หากหนังสือเล่มนั้นมี 1,000 คำ ระบบก็จะหั่นคำเป็นคำต่อคำ (Word Tokenization ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Natural Language Processing หรือ NLP) หลังจากนั้นระบบจะทำการเรียงลำดับคำทั้งหมด และแบ่งคำต่างๆออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ Group of 25 tokens, Group of 14 tokens และ Group of 9 tokens ตามลำดับ ซึ่งรวมแล้วเรียกว่า Group of Tokens Generation

ขั้นตอนที่ (3)

ชุดตัวเลขทั้ง 3 ชุดหรือ Group of Tokens Generation จะถูก Hash และเก็บไว้เพื่อทำการเทียบกับ Text ชุดอื่นๆ ที่ผ่านขั้นตอนเดียวกันและถูก Hash เก็บไว้เหมือนกัน ด้วยเทคนิค Jaccard similarity ซึ่งก็คือการเทียบกลุ่มต่อกลุ่ม ว่ามีคำที่เรียงแบบเดียวกันและซ้ำกันแค่ไหน โดยมีวิธีการดังนี้

  1. เทียบด้วย Group of 25 tokens เป็นลำดับแรก

a. ถ้าซ้ำน้อยกว่า 50% เราจะถือว่าไม่ใช่เนื้อหาเดียวกัน

b. แต่ถ้าซ้ำเกิน 50% เราจะทำการเทียบด้วยกลุ่มถัดไป (ซึ่งละเอียดกว่า)

2. เทียบด้วย Group of 14 tokens (เมื่อเทียบด้วยกลุ่มแรกแล้วซ้ำเกิน 50%)

a. ถ้าซ้ำน้อยกว่า 70% เราจะถือว่าไม่ใช่เนื้อหาเดียวกัน

b. แต่ถ้าซ้ำเกิน 70% เราจะทำการเทียบด้วยกลุ่มสุดท้ายซึ่งถือว่าละเอียดที่สุด

3. เทียบด้วย Group of 9 tokens (เมื่อเทียบด้วยกลุ่มที่สองแล้วซ้ำเกิน 70%)

a. ถ้าซ้ำน้อยกว่า 80% เราจะถือว่าไม่ใช่เนื้อหาเดียวกัน

b. แต่ถ้ายังมีการซ้ำซ้อนของคำและการเรียงลำดับเกินกว่าที่ตั้งไว้ในกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือ 80% อีก ทางเราจะถือว่าเป็น Content ที่มีอยู่แล้วในระบบทันที!

การนำระบบที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain อย่าง ECHO เข้ามาช่วยในการจัดเก็บผลงานของนักเขียนมีประโยชน์อย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นการปกป้องสิทธิ์ในผลงาน การยืนยันความเป็นเจ้าของผลงานและยังสามารถตรวจสอบความเป็นเจ้าของได้อย่างยุติธรรม อีกทั้งยังป้องกันปัญหาที่เกิดจากการลอกเลียนแบบข้อมูลบางส่วนของนักเขียนแต่ละคน ซึ่งการเริ่มต้นนำงานเขียนที่นักเขียนสร้างสรรค์อยู่บน platform ของ Ookbee U มาเก็บอยู่บนเครือข่ายเทคโนโลยี Blockchain นั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้นักเขียนตระหนักถึงความเป็นเจ้าของงาน รวมไปถึงการป้องกันการคัดลอกผลงานไปใช้โดยมิแจ้ง

ซึ่งในส่วนแรก ทาง SIX Network และ Ookbee U จะทำการเก็บผลงานจากนักเขียนกว่า 600,000 คนจากทุกๆ platform ของ Ookbee U โดยมีผลงานรวมกันมากกว่า 5,700,000 ผลงาน จากที่เกริ่นไปแล้วข้างต้นปัจจุบันการจัดเก็บดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว มากกว่า 1,000,000 ผลงานมีการจัดเก็บและเชื่อมต่อข้อมูลเข้าไปที่ Klaytn Blockchain จาก Ground X (บริษัทลูกของ Kakao) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่จัดเก็บผลงานเก่าเรียบร้อย จะมีการเชื่อมต่อการจัดเก็บข้อมูลทุกๆ ผลงานอย่างทันท่วงที (Real-time) ซึ่งจากการทำงานดังกล่าว หากมีการคัดลอกผลงานเกิดขึ้น ระบบจะทำการแจ้งไปยังนักเขียนทันทีว่า ผลงานโดนลอกเลียนแบบโดยนักเขียนท่านอื่น และนอกจากนี้การจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ในเครือข่าย ECHO ยังเป็นการรักษาสิทธิความเป็นเจ้าของให้กับนักเขียนผู้สร้างสรรค์ผลงานอยู่บน 3rd-party platform อีกด้วย

จากตัวอย่างทางด้านบนนั้น ถือว่า ECHO นำเทคโนโลยี Blockchainมาสร้างเครือข่ายพื้นฐาน และพัฒนาขึ้นในรายละเอียดของการจัดเก็บอัตลักษณ์ของข้อมูล เพื่อปกป้องลิขสิทธิ์ของกลุ่มนักสร้างสรรค์ รวมไปถึงจัดทำระบบตรวจสอบการคัดลอกที่ทำได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ทีมงาน SIX Network ยังทุ่มเทพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความสามารถในการจัดเก็บไปยังสินทรัพย์แบบอื่นๆ ทั้งในรูปดิจิตัลหรือสินทรัพย์ทั่วไป

วันนี้เราขอเชิญชวน กลุ่มบริษัท หน่วยงาน หรือสตาร์ทอัพ ที่สนใจการจัดเก็บผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบดังกล่าวบนเครือข่าย ECHO ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain เข้ามาร่วมพัฒนา หรือใช้เครือข่ายของเรา โดยสามารถติดต่อพวกเราได้ที่ช่องทางติดต่อใน Telegram หรือส่งอีเมลมาคุยกันได้ที่ partner@six.network

Remark

(1) คอนเท็นต์แรกของเราเริ่มต้นเมื่อ 27พฤศจิกายน 2562, สามารถตรวจสอบได้จาก link .

(2) คอนเท็นต์ครบ 1,000,000 คอนเท็นต์ เมื่อ 22 ธันวาคม 2562, สามารถตรวจสอบได้จาก link .

--

--