Study In India
Study in India
Published in
2 min readApr 11, 2016

--

ภาพรวมของระบบการศึกษาของอินเดีย (การศึกษาในประเทศอินเดีย)

ระบบการศึกษาในสาธารณรัฐอินเดีย แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1. ระดับอนุบาล (Kindergarden)
เป็นการศึกษาในระดับเด็ก ที่มีอายุ ระหว่าง 3–5 ปี ซึ่งไม่ใช่ภาคบังคับ แต่เพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา
2. ระดับประถมศึกษา (Primary Eduction)
เป็นการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งรัฐบาลอินเดียกำหนดไว้สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี อายุเฉลี่ยของเด็กที่เรียนในชั้นนี้ระหว่าง 6–10 ปี หรือ 6–11 ปี หลักสูตร 5–6 ปี (grade 1–6)
3. ระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education)
แบ่งเป็น 2 ระดับคือ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (High School Education) สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 11–14 ปี หรือ 11–15 ปี กำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 4–5 ปี (grade 6–10 หรือ grade 7–10) เมื่อนักเรียนสอบผ่านจะได้รับ Secondary School Certificate
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Higher School Education) สำหรับ
นักเรียนอายุระหว่าง 16–17 ปี กำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 2 ปี
(grade 11–12) เมื่อนักเรียนสอบผ่านระดับนี้จะได้รับ Higher Secondary Education Certificate หรือ Senior School Certificate
รวมระยะเวลาศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็น 10+2 ปี หรือ 12 ปี (grade 1–12) เมื่อนักเรียนจบ grade 12 แล้วหากประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา จะต้องสอบผ่าน Public Exam ซึ่งดำเนินการโดย Board of Education ของรัฐแต่ละรัฐ
สำหรับนักเรียนไทยที่จบชั้นมัธยมตอนปลาย (ม.6) จากประเทศไทยเทียบได้เป็น grade 12 และในการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของอินเดียนั้น ไม่ต้องสอบ Public Exam ทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณารับเข้าเรียนโดยดูคะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรของนักเรียนจาก Transcript เท่านั้น
4. ระดับอาชีวศึกษา (Vocational Eduction)
การศึกษาในระดับนี้จัดขึ้นสำหรับผู้ที่มีความถนัดทางช่างฝีมือ หรือวิชาชีพเฉพาะทาง ซึ่งไม่ประสงค์หรือไม่สามารถศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาที่เปิดสอนได้แก่ ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ ช่างก่อสร้าง ช่างเครื่องยนต์ การบัญชี เลขานุการ ฯลฯ ซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลและเอกชน หลักสูตรระยะสั้น 6–12 เดือน หลักสูตรระยะยาว 2–4 ปี ผู้ที่จบ grade 10 มีสิทธิเข้าศึกษาได้ แต่โรงเรียนเหล่านี้จะใช้ภาษาท้องถิ่นคือภาษาฮินดี (Hindi) ในการเรียนการสอน ดังนั้นนักเรียนไทยจึงไม่นิยมไปศึกษาระดับนี้
5. ระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
มหาวิทยาลัยในอินเดียเป็นของรัฐทั้งสิ้น แต่ละมหาวิทยาลัยประกอบด้วย College มากมาย College บางแห่งเป็นของเอกชนซึ่งอยู่ในความควบคุมทั้งด้าน หลักสูตรการศึกษาและการสอบไล่ของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ เมื่อสิ้นปีการศึกษามหาวิทยาลัยก็จะจัดสอบและมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สอบได้ การศึกษาในระดับอุดมศึกษามีดังนี้คือ
1) ระดับปริญญาตรี (Bachelor&quoat;s Degree) หลักสูตรปริญญาตรี โดยทั่วไปกำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 3 ปี ซึ่งได้แก่ ปริญญาตรี ทางศิลปศาสตร์ (B.A.) วิทยาศาสตร์ (B.Sc.) พาณิชยศาสตร์ (B.Com) เภสัชศาสตร์ (B.Pharm บางแห่ง 4 ปี) แต่ยังมีหลักสูตรปริญญาตรีที่กำหนดจำนวนปีการศึกษาแตกต่าง จากนี้คือ
ปริญญา 4 ปี ได้แก่ สาขาวิชาทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ (บางมหาวิทยาลัย)
ปริญญา 5 ปี ได้แก่ สัตวศาสตร์ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรมศาสตร์
หลักสูตรปริญญาตรี บางหลักสูตรต้องสำเร็จปริญญาตรีบางสาขามาก่อนแล้ว มาต่อหลักสูตรเหล่านี้อีก 3 ปี ได้แก่ หลักสูตรนิติศาสตร์ (LL.B.) และสำรับการศึกษา (B.Ed) และพลศึกษา (B.P.Ed) เรียนต่ออีก 1 ปี
หลักสูตรแพทยศาสตร์ กำหนดระยะเวลาศึกษา 4½ ปี หลังจากศึกษา Pre-Medical Program (หลักสูตร 1 ปี) และต้องฝึกงาน (Internship หรือ Housemanship) อีก 1 ปี รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 6½ ปี (บางมหาวิทยาลัยไม่กำหนดให้เรียน Pre-Medical Program ก่อนเรียนหลักสูตร แพทยศาสตร์ ดังนั้นระยะเวลาเรียนทั้งสิ้น 5½ ปี)
2) ระดับปริญญาโท (Master&quoat;s Degree) หลักสูตรปริญญาโท ประมาณ 2 ปี ต่อจากปริญญาตรี ยกเว้นสาขาวิชาการศึกษา (M.Ed)
และพลศึกษา (M.P.Ed) ซึ่งกำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 1 ปีต่อจากระดับปริญญาตรี

3) ระดับ Master of Philosophy (M.Phil) เป็นการศึกษาในระดับก่อนเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก ซึ่งกำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 1 ปี เป็นการศึกษาทั้ง Course Work และเขียน Thesis ด้วย มหาวิทยาลัยบางแห่งได้กำหนดให้นักศึกษาต้องได้รับ M.Phil ก่อนเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก

4) ระดับปริญญาเอก (Doctoral Degree) หลักสูตรปริญญาเอกประมาณ
2–3 ปี สำหรับการเรียนการสอนนั้น สถานศึกษาบางแห่งกำหนดให้เรียน Course Work และเขียน Thesis แต่บางแห่งให้ทำ Research ตามหัวข้อที่อาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติเท่านั้น
ภาคการศึกษา
ในสาธารณรัฐอินเดียภาคการศึกษาสำหรับนักเรียนในโรงเรียนและนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะไม่เหมือนกัน และการเปิดเรียนของแต่ละโรงเรียนอาจแตกต่างกันตามสภาพของภูมิภาคที่โรงเรียนตั้งอยู่ ซึ่งบางโรงเรียนอาจเปิดเร็วหรือช้ากว่าที่กำหนดนี้

เข้ารับการรักษาในบางโรงเรียนจะเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม
และบางเมษายน-กรกฎาคมของแต่ละปี
เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยรวมทั้งจะเริ่มขึ้นในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมและมหาวิทยาลัยบางอย่างในเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน

มหาวิทยาลัยบางอย่างในเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายนสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าศึกษาต่อประเทศอินเดียคุณสามารถติดต่อเราได้ที่ info@kkconsultant.com หรือ info@studyinindia.ioโทรศัพท์: +918605959450 (Viber และ WhatsApp) www.kkconsultant.com / www.studyinindia.io

--

--