“เบียด แซง เปลี่ยนเลนเส้นทึบ เตรียมรอใบสั่งถึงบ้าน” เบื่องหลังการทำงานของ AI ที่อยู่ในกล้องตรวจจับผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร

Naratip Boonbanyen
Super AI Engineer
Published in
Jan 29, 2021
ระบบตรวจจับยานพาหนะข้ามเส้นทึบอัตโนมัติ ภาพจาก คุณ Wittipan Image Processing

จากรูปดังกล่าว เป็นคลิปที่เคยดังในโซเชี่ยลเมื่อประมาณปี 2556 ซึ่งโพสโดยเพจเฟซบุ๊ก YouLike (คลิปเด็ด) โดยคลิปนี้เมื่อ 8 ปีที่แล้วเป็นเพียงงานวิจัยเท่านั้น

แต่ในปัจจุบัน การใช้กล้องเพื่อตรวจจับผู้ใช้งานทำผิดกฎจราจรเริ่มมีการใช้งานจริงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2560 และได้มีการพัฒนาระบบเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันไม่เพียงแต่ตรวจจับได้แค่การทำผิดในเรื่องการเปลี่ยนเลนส์ในเส้นทึบเท่านั้น แต่ยังสามารถจับการทำผิดกฎจราจรในด้านอื่นได้อีกด้วย

ระบบตรวจจับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัย https://www.youtube.com/watch?v=GndFA2hjDx4
ระบบตรวจจับการกระทำผิดฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรอัตโนมัติ https://www.youtube.com/watch?v=QEhI9tBJWXw&feature=emb_title

จะเห็นว่าเทคโนโลยีนี้ นอกจากจะช่วยในการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ใช้ถนนได้แล้วยังสามารถลดการฉวยโอกาสการตั้งด่านลอยหรือ การตั้งด่านที่ผิดกฎหมายในฝั่งของ
ผู้บังคับใช้กฎหมายได้อีกด้วย เนื่องจาก เมื่อกล้องตรวจจับผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรสามารถติดตั้งได้ทั่วทุกพื้นที่ การตั้งด่านก็จะเกิดขึ้นเพียงในบางกรณีที่จำเป็น เท่านั้น

แล้วเบื่องหลังของเทคโนโลยีกล้องตรวจจับผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร ทำงานอย่างไร?

จริง ๆ แล้วเทคโนโลยีกล้องตรวจจับผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร นั้นมีชื่อเรียกว่า Object Detection ซึ่งคือ เทคโนโลยี AI ที่ใช้สำหรับตรวจจับวัตถุ ในงานทางด้าน Computer Vision ที่จะจำแนก และตรวจจับวัตถุที่อยู่ในรูป การตรวจจับ มาร์กจุด มาร์กพื้นที่ โดยหลักการ สามารถทำได้หลายวิธี การทำมาร์กพื้นที่ที่นิยมได้แก่ วาดกล่องรอบวัตถุ (Bounding Box) หรือ ถมสีให้ทุก Pixel ของวัตถุนั้น (เรียกว่า Segmentation)

from: Standford University 2016 winter lectures CS231n Fei-Fei Li & Andrej Karpathy & Justin Johnson

โดย Object Detection จะต้องมีการให้โปรแกรมเรียนรู้สิ่งที่ต้องการตรวจจับก่อน (Train model) เช่นถ้าเราต้องการให้โปรแกรมตรวจจับรถ เราก็ต้องทำให้โปรแกรมเรียนรู้ว่า ภาพนี้มีรถ อยู่ที่พิกัด (X,Y) ซึ่งเราต้องใช้จำนวนข้อมูลที่มากพอ และภาพที่เราใช้ในการสอนโปรแกรมก็ต้องมี สภาพแวดล้อมรอบข้างภายในรูป เช่น สี ความสว่าง เหมือนกับ สถานที่ที่เราจะนำไปใช้งานจริงด้วย ซึ่งเราอาจใช้เทคนิคการทำ Data Augmentation หรือ การสร้างภาพใหม่ โดยการดัดแปลงภาพเดิมที่เรามี เข้ามาช่วยเพิ่มคุณภาพและปริมาณของข้อมูล ให้เพียงพอต่อการสอนให้โปรแกรมเรียนรู้ก่อนนำไปใช้งานจริง

ซึ่งสำหรับทางด้านเครื่องมือ โมเดลในปัจจุบันที่คนนิยมใช้กันก็จะได้แก่ R-CNN, Fast-RCNN, Faster-RCNN, YOLO, SSD เป็นต้น

--

--