เมื่อ Data scientist ขออาสาเป็นซินเเสดู ดวงจีนให้บ้านแฟนด้วย PokeBazi

Chinnatip Taemkaeo
Super AI Engineer
Published in
4 min readJan 24, 2021

ถ้าคุณมีแฟนหรือเป็นคนไทยเชื้อสายจีน หลายครั้งคุณอาจจะฉงนใจ กับปฏิทินข้างฝาบ้าน ที่อ่านยังไงเราก็อ่านไม่ออก (เพราะเกือบทั้งหมดเป็นอักษรจีน) เเละรู้เเค่ว่า ในหนึ่งปีเหล่าอากง อาม่า จะมายืมมองมันเช้าๆก่อนจะบอกลูกหลานให้เตรียมจัดพิธีไหว้เจ้า ตรุษจีน เชงเม้ง ฯลฯ โดยที่ลำดับในการจัดงานประจำปี ก็ไม่ได้มีเกี่ยวข้องความสอดคล้องกับ “ระบบปฏิทินสมัยใหม่” ที่เราคุ้นชินกันเลย สิ่งนี้นอกจากจะสร้างปัญหาในการวางแผนประจำเดือนให้คุณเเละเเฟนเเล้ว หลายครั้งที่เราต้องดีลกับระบบที่เราไม่เข้าใจ มันก็อาจจะสร้างปัญหาจู้จี้จุกจิกตามมาอีกด้วย

นอกจากระบบปฏิทินที่แตกต่างเเล้ว อีกข้อสังเกตุที่ผมมีต่อครอบครัวคนจีนในไทยก็คือ “ ฤกษ์งามยามดี ” เป็นสิ่งที่ครอบครัวจีน ให้ความสำคัญในการประกอบพีธี หรือเริ่มงานมงคลต่างๆ อีกด้วย ซึ่งถ้าหากมองว่า การพยายาม “เข้าใจปฏิทินจีน” เป็นเรื่องค่อนข้างซับซ้อนเเล้ว การ “อ่านฤกษ์ยาม” ให้ออกอย่างชัดเเจ้ง ก็จะยิ่งเป็นงานที่วุ่นวายแสนปวดหัว และชวนให้สิ้นหวังสำหรับคนไทยรุ่นใหม่เลยทีเดียว

บางครั้ง ผู้เขียนก็คิดว่า เราควรจะลุกขึ้นมาต่อต้าน ขนบปฏิบัติของบ้านจีน จะดีหรือไม่? … เเต่เสียใจด้วย ท่านอาจารย์โอบีวัน ณ จุดนี้ การยอมโอนอ่อน ผ่อนตามไปกับวัฒนธรรมสี่พันปีของจีน ก็อาจจะเป็นเรื่องง่ายดายกว่า เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดี ของครอบครัวแฟนเเละตัวผมเองครับ

ก่อนที่เราจะไปกันต่อ เมื่อมองในด้าน productivity ของคนสมัยใหม่เเล้ว ตัวปฏิทินจีนเองมันก็ไม่ทันสมัยจริงๆแหละ นอกจากที่มันจะอ่านยาก ข้อมูลล้น เกินความจำเป็นเเล้ว มันยังถูกเขียนด้วยอักษรจีนเกือบทั้งหมด ซึ่งทำให้เป็นไปไม่ได้เลยที่คนไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่หลายๆคน รวมทั้งผมด้วย จะสามารถอ่านความหมายของปฏิทินจีนเหล่านี้ออก เเละสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ นอกจากจะเป็นเพียงเเค่อุปกรณ์ประดับข้างฝาบ้านชิ้นหนึ่ง

เเต่ขณะที่เรา คนรุ่นใหม่เลือกที่จะละทิ้งมันไป ก็มีคนอีกกลุ่มที่ศึกษาปฏิทินจีนทะลุปรุโปร่ง จนหาช่องทางทำเงิน จากการวิเคราะห์ ดวง-ฤกษ์ยามมงคลได้อยู่ คนกลุ่มนี้คือคนที่ทำอาชีพ “ซินเเส” ครับ

ซินเเส คือคนที่ศึกษาตำราชื่อ ปาจื้อ (หรือที่เราเรียกว่าดวงจีนโบราณ) เเล้วนำชุดความรู้ที่ตกทอดมาเป็นสูตร ใช้มันคำนวนผูกดวงกับ คนเเละสถานการณ์ต่างๆ เพื่อทำนายผลลัพธ์ว่าสถานการณ์ “น่าจะดี” หรือ “น่าจะไม่ดี”

เราอาจจะคุ้นเคยอยู่เเล้วว่า ซินเเสคือคนที่คอยระบุฤกษ์ว่า คนเกิดวันนี้ควร “เเต่งงาน” “ขึ้นบ้านใหม่” หรือมีความเปลี่ยนแปลงในชีวิตเวลาไหน เเต่หนึ่งในผลงานที่โด่งที่สุดของซินเเส ก็คือการที่ขงเบ้งสามารถอ่านฤกษ์ตามตำรา “ลมฟ้าอากาศ” เเล้วสามารถทำนายเวลาที่จะเกิดลมย้อนฤดู ทำให้แผนยิงธนูเพลิงของง่อก๊กประสบผลสำเร็จ เป็นการปิดฉากกองเรือหนึ่งล้านลำ ในศึกผาแดงของยุคสามก๊กเช่นกัน

ขงเข้ง กับวีรกรรม “อ่านลมย้อนฤดู” เผาเรือล้านลำในศึกผาแดง ซึ่งเป็นผลจากการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลในช่วงต่างๆของมณฑลในประเทศจีน

มองในเเง่นี้ ขงเบ้ง หรือ ซินเเส ก็อาจจะนับว่าเป็น Data Scientist ที่ทำหน้าที่ถอดความหมายของ ฤดูกาลดินฟ้าอากาศ ที่ซ่อนอยู่ภายในปฏิทินจีนก็ว่าได้นะ

ดังนั้นในฐานะผู้เริ่มศึกษาวัฒนธรรมจีน ผู้เขียนที่เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล (data science) มาบ้าง จึงอยากนำหลักการ 4000ปีของปฏิทินจีน มาทดลองเพื่อหาเเนวความคิดใหม่ๆ ในการใช้ประโยชน์ชุดความรู้นี้ นี่จึงเป็นที่มาของบทความฉบับนี้ครับ

รู้จักกับหลักปาจื้อ (Bazi) เบื้องหลังชุดระบบคิดของปฏิทินจีน

The Four Pillars of Destiny, as known as “Ba-Zi”, which means “eight characters” or “eight words” in Chinese, is a Chinese astrological concept that a person’s destiny or fate can be divined by the two sexagenary cycle characters assigned to their birth year, month, day, and hour. This type of astrology is also used in Japan and Korea. from wikipedia.com

สำหรับคนที่สนใจเรื่องดวงจีนเเล้ว จะมีนิยามข้อนึงที่เรารู้กันก็คือ “ดวงของเราทุกคน จะถูกเริ่มนับจากวันที่เราเกิดเป็นสำคัญ” สมมติว่าผมเกิดวันที่ 8 เดือนกรกฎาคม ปีพศ.2530 ในเชิงของดวงจีน (ปาจื้อ) ซินเเสจะตีว่าผมเกิดในปีนักษัตรกระต่าย ธาตุไฟ นอกจากดูเรื่องปีเเล้ว ซินเเสจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูล ของเดือนเกิด วันเกิด เเละเวลาเกิดได้อีกด้วย

เมื่อได้ชุดตัวเลขของวันเกิดแบ่งเป็น ปี-เดือน-วัน-เวลาเกิดเเล้ว ซินเเสเปิดตำราคำนวนหา ข้อมูลอีกสองปัจจัยได้แก่

  • นักษัตร (หรือสัตว์ 12 ตัว เช่น ชวด ฉลู ขาล เถาะ ฯลฯ) ที่เกี่ยวข้องกับดวงประจำเวลาของเรา มีศัพท์สูงที่ใช้เรียกกันว่า “ก้านดิน (earthly branch)”
  • ธาตุ (มีทั้งหมด 5 ธาตุ ได้แก่ ดิน,น้ำ,ไม้,ไฟ,ทอง) ส่วนศัพท์ใช้เรียกในวงการ คือคำว่า “กิ่งฟ้า” (heavenly stem)

2 ปัจจัย เเละ 4 ช่วงเวลาเกิดของเรา ทำให้สรุป “วิถีชีวิต” ของเราออกมาได้เป็น 8 ตัวอักษร ตามภาพด้านล่างครับ

จากภาพนิยามได้เป็น ปี-หมาดิน /เดือน-กระต่ายไม้ / วัน-งูไฟ / เวลา-แพะไฟ

หากลองคำนวนเเบบคร่าวๆ ความน่าจะเป็นของ วิถีชีวิตคน ตามตำราปาจื้อจะเป็นไปได้เท่ากับ (12x5)⁴ = 12,960,000รูปแบบ ซึ่งก็เรียกว่ามีมากเพียงพอ ที่จะจำเเนกประเภทของคน ให้แตกต่างกัน เป็นหลายล้านดวงได้เลยทีเดียว

สำหรับการตีความหมายปาจื้อ ว่าดวงเกิดแบบนี้ จะมีชะตากรรมอย่างไร บทความนี้คงไม่สะดวกจะลงรายละเอียดครับ เนื่องจากผู้เขียน ยังไม่ได้ศึกษาลงลึกในศาสตร์ของซินเเส เเละเป้าหมายที่เเท้จริงของบทความ คือการพยายามถอดสมการเบื้องหลังของปาจื้อมากกว่า

เมื่อเข้าใจภาพรวมการถอดดวงจีน เป็นอักษรจีน 8 ตัวคร่าวๆเเล้ว ในขั้นถัดมาเราจะมาชวนกันมองในเเง่ประวัติศาสตร์กันบ้าง

ในยุคโบราณที่คนส่วนมาก ยังทำอาชีพเป็นเกษตรกร ความรู้เเละความเข้าใจ ในฤดูกาลต่างๆที่ส่งอิทธิพลต่อการเพาะปลูกพืชนั้น เป็นปัจจัยที่จำเป็นมาก ในการก่อให้เกิดบ้านเมืองขึ้นมา (เพราะชุมชนหรือเมือง คือการรวมตัวของคนจำนวนมาก ยิ่งคนมารวมตัวกันมากๆ ก็ยิ่งต้องมีการสะสมเสบียงให้มากเพียงพอต่อการหล่อเลี้ยงสังคมตามไปด้วย)

ในหลายศาสนา จึงมีการยกให้ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่มีความสำคัญกับการเพาะปลูกเป็นดั่งเทพเจ้าเช่น เทพแห่งสายฟ้า เทพแห่งแสงแดด หรือ เทพแห่งสายลมเเละพายุ ทั้งหมดเป็นตัวยืนยันว่า ประชากรในวิธีการเกษตรนั้นพึ่งพาปัจจัยที่ชื่อว่า “การให้พรของธรรมชาติ” เพื่อดำรงชีวิตอย่างเเท้จริง

เช่นเดียวกัน กลุ่มคนที่มีความรู้ ความเข้าใจในการคำนวณ-คาดการปรากฎการณ์ทางธรรมชาติได้ละเอียดอย่าง พราหมณ์ (ของอินเดีย) เเละซินเเส (ของจีน) จึงเป็นวรรณะหลักของสังคมที่กุมความลับของพระเจ้าไว้อีกด้วย

เเล้วความลับอะไรล่ะ? ที่ซินเเสกุมเอาไว้เบื้องหลังการทำปฏิทินจีนขึ้นมา ข้อมูลอะไรที่ซินเเส เเละพราหมณ์ต่างเก็บรวบรวม เเละใช้เพื่อคาดการณ์วิเคราะห์ พัฒนาเป็นปฏิทินจีน และศาสตร์ดูดวงปาจื้อขึ้นมา ผมจะขอทิ้งช่วงให้คุณผู้อ่านลองเดาดูซักแปปนะครับ …

คำตอบ เบื้องหลังกลไกการทำงานปฏิทินจีน เเท้จริงเเล้วมีที่มาจากการรวบรวม-ศึกษา วงโคจรของดวงจันทร์ ผ่านการเก็บข้อมูลรอบของน้ำขึ้น-น้ำลง หรือจะเรียกว่า ดวงปาจื้อนั้น ที่แท้ก็มาจากการศึกษาปฏิทินเเนวจันทรคติ นั่นเอง

เมื่อซินเเสพยายามถอดที่มาของฤดูกาลทางธรรมชาติ ผ่านการวิเคราะห์ปรากฎการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงของดวงจันทร์ ประกอบกับการเก็บข้อมูลสถิติต่างๆ จนเกิดเป็นระบบคณิตศาสตร์ ที่สามารถทำซ้ำได้กับหลายๆปี หรือเรียกกันในภายหลังว่า “ปฏิทิน” การกำเนิดขึ้นมาของปฏิทิน ช่วยเหลือสังคมเกษตรได้ในหลายๆอย่าง นอกจากจะเป็นเเค่ของประดับตกแต่งข้างฝาบ้าน เกษตรกรที่มีประสบการณ์ จะสามารถใช้มันคาดการณ์ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการวางแผนเพาะปลูกได้

ขณะเดียวกัน เพื่อให้วิถีทางสังคมสอดคล้องไปกับวิถีทางเกษตร จังหวะในการหาฤกษ์งามยามดี ที่จะจัดงานเเต่งงาน งานเลี้ยงฉลองปีใหม่(ตรุษจีน) เเละงานมงคลต่างๆ จึงถูกสมาสโดยรับคำเเนะนำจากซินเเสให้มีความสอดคล้อง เป็นเนื้อเดียวกันไปด้วยนั่นเอง

ปฏิทินจันทรคติ หรือ Luna Calendar ทำงานอย่างไร ?

ปฏิทิน Lunar calendar ของปี 2021 (พศ. 2564)

ต้องอธิบายให้เข้าใจก่อนว่า ระบบปฏิทินปัจุบันที่เราใช้กัน จะค่อนข้างเเตกต่างจากปฏิทินจันทรคติอยู่พอสมควร เช่นหากเรานับวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1มกราคมของทุกปี (ซึ่งถือว่าเป็นวันที่โลกโคจรครบดวงอาทิตย์ได้ครบหนึ่งรอบ) เเต่สำหรับปฏิทินดวงจันทร์ การนับวันขึ้นปีใหม่จะเริ่มนับจาก วันขึ้น1ค่ำ ของเดือนที่1 ตามรอบการโคจรของดวงจันทร์ที่ครบ 12รอบ ซึ่งจากภาพปฏิทินปี 2564 ด้านบน จะพอดีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันตรุษจีนนั่นเองครับ

สำหรับผู้ที่สนใจแกะสมการชุดนี้ไปด้วยกัน เเละเป็นคนที่สนใจด้าน Data Science อยู่เเล้ว สามารถเข้าไปทดลองเล่นโค้ดที่ผู้เขียนได้จัดเตรียมไว้บนโปรแกรม Google Colab ผ่านลิงค์นี้ ได้เลยครับ

โปรแกรมคำนวนปฏิทินจันทรคติบน Google colab

เมื่อศึกษามาถึงจุดหนึ่ง ผู้เขียนพบว่าศาสตร์อย่างการดูดวง ที่มองจากภายนอกนั้นดูเหมือนไสยศาสตร์เป็นอย่างมาก เเต่เมื่อเราได้แกะค้น ไปถึงรากของมันเเล้ว หลายๆไอเดีย ก็เป็นความพยายามของนักคณิตศาสตร์ยุคโบราณ ที่พยายามจะส่งมอบสมการตัวเลขที่ช่วยเหลือสังคม ในจุดที่เค้าจะทำได้อยู่นะครับ

ขณะเดียวกัน ผู้เขียนก็นึกภาพไปถึงปฏิทินจีนที่แปะอยู่ข้างฝาบ้านอยู่เสมอ ว่าเราจะมีหนทางใด ที่ช่วยให้คนรุ่นใหม่สามารถดูข้อมูลปาจื้อได้ง่ายๆบ้าง นี่จึงเป็นที่มา ของการนำตัวละครโปเกม่อน มาสื่อสารร่วมกับการดูดวง เกิดเป็นโปรเจคที่ขื่อว่า โปเกปาจื้อ (Pokebazi) ขึ้นมา

PokeBazi = Pokemon + Bazi

The Pokédex (Japanese: ポケモン図鑑 illustrated Pokémon encyclopedia) is a digital encyclopedia created by Professor Oak as an invaluable tool to Trainers in the Pokémon world. It gives information about all Pokémon in the world that are contained in its database

จากข้อมูลปัจุบัน เกมส์โปเกม่อนภาคล่าสุด (8th generation) ได้มีการรวมมอนสเตอร์ ให้เหล่าเทรนเนอร์ทำการสะสมไว้ได้ถึง 898ตัว

มุมมองของผู้เขียนคือ มันจะเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าเรายกมามอนสเตอร์มาเเค่ 60ตัว เป็นตัวเเทนของ “นักษัตรเเละธาตุ” ต่างๆในตารางของปาจื้อ เเละด้านล่างนี้คือรายชื่อของโปเกม่อนทั้ง 60ตัว ที่ผู้เขียนยกขึ้นมาครับ

ผู้ที่สนใจสามารถกดคลิ๊กที่ลิงค์นี้ เพื่อเค้าไปดูหน้าตาของมอนสเตอณืเเต่ละตัวย่างละเอียดได้ครับ

ตัวอย่างคือ ถ้าปีนี้คือปีวัว-ทอง(เหล็ก) ผู้เขียนจึงเลือกใช้ มอนสเตอร์ชื่อ Bastodon รหัส Pkm.411 ซึ่งพอดีว่ามอนสเตอร์ตัวนี้มีความ “ดุดัน” สมกับสถานการณ์บ้านเมืองในปีนี้ไม่น้อยเลย

เมื่อเราสามารถจัดเตรียมให้ “นักษัตร-ธาตุ” เป็นสมบัติของมอนสเตอร์ได้เเล้ว นั่นทำให้ เราสามารถสรุปได้ว่า ทุกคนจะมี มอนสเตอร์ประจำดวงเกิดได้เเค่ 4ตัวครับคือมอนสเตอร์ประจำดวงปี / ดวงเดือน / ดวงวัน / เเละดวงเวลา

ย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นของบทความ หากอิงจากดวงเกิดของผู้เขียนคือ ช่วงเวลา 2:00น. ของวันที่ 8 กรกฎาคม ปีพศ.2530 ภาพด้านบนนี่คือรายชื่อมอนสเตอร์ประจำดวงเกิดของผู้เขียนเองครับ

Funfact สนุกๆ ที่เราได้จากโปรแกรมนี้คือ หากคุณต้องการให้ลูกชาย เกิดในฤกษ์ มหามังกร (ปีมังกร เดือนมังกร วันมังกร เเละเวลามังกร) เขาควรต้องลืมตาออกมาดูโลกในช่วง เวลา 7-8 นาฬิกา ของวันที่ 22 เดือนเมษายน ปีพศ. 2567 ซึ่งฤกษ์นี้จะมีได้เพียงเเค่ 1ครั้ง ในรอบ 12ปีเท่านั้น

PokeBazi API service

เพื่อให้สะดวกแก่การนำไปใช้ในวงกว้างมากขึ้น ผู้เขียนได้แปลงโค้ดของโปรแกรม Pokebazi ออกมาเป็น Python API เเล้วจึงนำ API ไป deploy บนเครือข่าย cloud ที่ชื่อว่า Serverless Lambda อีกทีหนึ่งครับ

สำหรับผู้ที่สนใจ เรื่องนี้ในเชิงเทคนิค ผู้เขียนได้มีการแยกบทความ tutorial ออกมาเป็น Youtube เก็บไว้ที่ลิงค์นี้ครับ สามารถเข้าไปโหลดโค้ดมาเทสเล่นกันได้เลย

API Interface ของโปรแกรม pokebazi บน Serverless lambda

LINE Application

ที่สุดเเล้ว ผู้เขียนตัดสินใจพัฒนาโปรแกรมPokebazi ออกมาเป็น LINE chatbot เพื่อให้ผู้อ่าน เเละบุคคลทั่วไปสามารถทดลองเข้าไปเล่นกันดูได้ครับ

ความสามารถของโปรแกรม ณ ตอนนี้ มันสามารถที่จะแสดงปาจื้อของเวลาปัจุบัน สามารถทำนายปาจื้อของเวลาที่เราต้องการค้นหาเป็นพิเศษ เเละยังเเสดงลิสต์รายชื่อของมอนสเตอร์ทั้งหมด ที่ผู้เขียนเลือกใช้ในโปรเจคนี้ทั้ง 60ตัวได้อีกด้วยครับ

user interface ของ Application pokebazi บน LINE
ใครสนใจแปลงวันเกิดเป็นโปเกม่อนก็สามารถไปแอดเฟรนด์ pokebazi กันได้ครับ

“ ในท้ายนี้ ถ้าเราต้องการหาฤกษ์ มหาวัว ล่ะ? (ปีวัว /เดือนวัว /วันวัว /เวลาวัว) วันนั้นควรเป็นช่วงเวลาไหน เเละเเทนที่ด้วยมอนสเตอร์อะไรดีนอกจากเจ้า Bastodon ที่เป็นวัวทอง(เหล็ก)ประจำปี 2021เเล้ว ? … คำใบ้คือฤกษ์นี้พึ่งผ่านไปได้ไม่กี่วันมานี้เองครับ ”

ขอให้คุณผู้อ่าน สนุกสนานกับการหาคำตอบข้อนี้ครับ

พรรณาโดย#ซินเเสชิน

Superai-engineer 22p24c0002

--

--