AI in Agriculture

Nattakorn Sanpabopit
Super AI Engineer
Published in
3 min readJan 27, 2021

AI ในด้านการเกษตรมีการประยุกต์ใช้ไปในทางไหนบ้าง

เราเองเติบโตมาในชนบทที่มีการทำเกษตรในรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย แต่ในรุ่น พ่อแม่ ก็ต่างทำอาชีพด้านอื่นกันหมด ไม่ว่า บริษัท ข้าราชการ ค้าขาย ในระหว่างที่เราโตมาก็ได้เห็นการทำเกษตรอยู่รอบๆตัวเรา ซึ่งผ่านมาเกือบจะ 30 ปี เรายังไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงมากนัก ยังคงเป็นการทำด้วยวิธีเดิมๆ เพิ่มเติมคือค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าแรง

ปัญหา

จากที่ได้สัมผัสปัญหาของเกษตรกรในท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะเป็นพืชสวน

  1. ปลูกอะไรดี ปลูกตามสวนข้างๆดีกว่า
  2. วิธีปลูก ปลูกช่วงไหน การให้ปุ๋ย ให้น้ำเมื่อไหร่ สภาพแวดล้อมคาดเดาไม่ได้
  3. ผลผลิตออกมา ราคาไม่ดี(demand/supply) ขายที่ไหนดี (โดนพ่อค้ากดราคา)

เกษตรกรปรับตัวแก้ปัญหา

ทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมามันคือเรื่องจริงที่เกิดขึ้น แล้วทิศทางของการทำเกษตรจะไปแบบไหนเพื่อให้เราจัดการปัญหาได้ โดยเรายังไม่พูดถึงแพลตฟอร์ม AI ที่จะมาช่วย เอาแบบที่เกษตรกรจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ

โดยเทรนด์ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนการเพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่สูงสุด ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นมหาศาล และรวดเร็วปริมาณการผลิตอาหารหรือพืชผลก็ต้องเพิ่มตามดังนั้นหากทำการเกษตรที่ใช้พื้นที่มาก แต่ผลผลิตน้อยดูท่าทางจะไม่สอดคล้อง อีกทั้งปัญหาภูมิอากาศโลกที่คาดเดาไม่ได้และ มีแต่จะก่อภัยภิบัติทางธรรมชาติมากขึ้น เพราะสภาวะโลกร้อน ทำให้การทำการเกษตร แบบโรงเรือน (Green House) และ ฟาร์มแนวตั้ง (Vertical Farming) ก็เกิดขึ้นตามมาตามลำดับ

https://agfundernews.com/the-economics-of-local-vertical-and-greenhouse-farming-are-getting-competitive.html

แต่ในอีกทางนึงพืชสวนบางชนิดก็ไม่ได้สามารถปรับเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบ โรงเรือนได้ ก็จะมีการพัฒนาความรู้ของเกษตรกรให้สามารถวิเคราะห์ โรคพืชจากการสังเกตุลักษณะทางกายภาพ เช่น ใบ ลำต้น โคน ดิน เพื่อที่จะเสริมธาตุอาหารให้พืชต่อสู้โรคได้ ดังนั้นก็ต้องมีความรู้เข้าใจปุ่ยต่อพืชนั้นอย่างดีเช่นกัน

Digital Farming and the 4th Agricultural Revolution

จากภาพเป็น time line แบบภาพรวมทั้งโลก ไทยเรากำลังอยู่ในช่วง 3 และ 4 ซึ่ง การทำเกษตรแบบโรงเรือนเราได้ยินกัน มา 10–20 ปี มาแล้วจะฮิตๆก็ช่วง กระแสเมล่อนญี่ปุ่นเมื่อ 5 ปีก่อน (2016) แต่ในกระแสโลกเขาเริม Vertical Farm กันแลัวเราได้อ่านจาก National Geographic เมื่อปี 2017

แล้ว AI เข้ามาช่วยเกษตรกรอย่างไร

เราได้ไปเจอบทความจัดอันดับ 5 Top Artificial Intelligence Startups ซึ่งได้แนะนำบริษัทสตาร์ทอัพที่ใช้ AI ในด้านการเกษตร โดยเราจะสรุปให้เห็นว่าแต่ละบริษัทจะเน้น AI ด้านไหนกันบ้าง

ฝั่งอเมริกา จะเน้นไปทาง Robotics AI ,Computer Vision โดยจะใช้งานได้กับ เกษตรระบบปิดแบบโรงเรือน

Root.AI

เป็นบริษัทที่แน้นไปทาง computer vision และ robotics ที่จะช่วยในการเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นไปแบบอัตโนมัติ มีการวัดความสุกของผล และให้หุ่นยนต์เข้าไปเก็ยเกี่ยว

AgEye

เป็นบริษัทที่ใช้ computer vision ในการวิเคราะห์ข้อมูลภาพแบบ realtime ในการจับการเจริญเติบโตชองพืช ในโรงเรือน โดยจะเหมาะกบสายวิทยาศาสตร์ ที่นำข้อมูลไปวิเคราะห์หาวิธีที่ทำให้พืชโตอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ในฝั่ง ยุโรป จะเน้นที่การวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม เช่นสภาพอากาศ ดิน และข้อมูลอื่นๆ โดยไม่เน้น sensor ที่เป็น hardware มาเทรนโมเดล เพื่อให้การทำนายที่แม่นยำในด้าน การเกิดภัยแล้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก หรือเก็บเกี่ยวผลผลิต

Heliopas AI

จะทำนายภาวะแล้งเพื่อให้เกษตรกรได้ซื้อประกันเกษตร มอนิเตอร์ความชื้น และลักษณะทางพื้นที่เพื่อการวางแผนปลูกที่มีประสิทธิภาพ โดยจะแน้นการทำเกษตรแบบแปลงใหญ่

OneSoil

เป็น platform ที่มาครบจบในตัวเดียว วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม

  • แยกก้อนเมฆ เงา และ หิมะ ทำให้วิเคราะห์พื้นที่ได้ชัดขึ้น
  • สามารถวิเคราะห์เขตแดนที่ดินได้
  • สามารถแยกแยะพื้นที่เพาะปลูกแต่ละชนิดได้ และคำนวณออกมาเป็นพื้นที่แฮ็กตาร์ อันนี้มีประโยชน์มากในการดูว่าพืชใดปลูกเบอะและตลาดต้องการมากน้อยแค่ไหนเพื่อการวางแผนปลูกให้ได้ราคาดีตอนขายผลผลิต
  • สามารถทำนายแนะนำช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การปลูกพืชผล
  • หากต้องการความแม่นยำมากขึ้น Onesoil ยังขายอุปกรณ์ Weather Station Sensor อีกด้วย

มาที่เอเชียกันบ้าง จะเน้นไปในทาง Hardware Iot เพื่อเก็บข้อมูลมาเทรนมากกว่า

Fasal

เป็น IoT based AI-powered intelligence platform สัญชาติอินเดีย ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลจาก Hardware Sensor ของทาง Fasal ที่ติดตั้งในฟาร์ม และส่งข้อมูลมาทำการวิเคราห์ โดยจะมีข้อมูลที่ผู้ใช้งานทำการบันทึกผ่าน Platform มาเทรน และจะให้ AI กแนะนำการปริมาณการให้น้ำ การใส่ปุ่ย ในเวลาที่เหมาะสม

สรุป

หากไทยเราจะขยับไปใช้ เทคหรือพัฒนาเทคโนโลยี AI ด้านการเกษตร

  1. ฟาร์มเปิด (พืชสวน พืชไร่)
    จะเป็นแนว การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม สภาพอากาศ ซึ่งน่าจะเหมาะกับการทำการเกษตรแบบบ้านเรามากกว่า
  2. ฟาร์มปิด (อุตสาหกรรม)
    จะเป็นแนว Monitoring ที่ใช้ Computer vision หรือ Robotics AI ที่เก็บเกี่ยวผลผลิต
  3. อื่นๆ
    จะมีพวกเครื่องมือที่ใช้ในการคัดแยก ขนาด สี ความสุก เป็นต้น จะมีประโยชน์ครอบคลุม ตั้งแต่ ภาคผลิต ซื้อ ขาย เลยทีเดียว

ทั้งนี้หากเกษตรกรมีระบบควบคุมการให้น้ำให้ปุ๋ยที่ดี ผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่แล้วก็จะสามารถลดการพึ่งพาแรงงานภาคเกษตรที่ขาดแคลนและแสนแพงได้อีกด้วย

--

--