คิดไป Silicon Valley ตอนที่ 1:

โหมโรงความสนุกกำลังจะเริ่มต้น

Kid Parchariyanon
Superchai
4 min readOct 24, 2016

--

ช่วง 19–23 กันยายน 2559 ที่ผ่านผมได้มีโอกาสเดินทางไปกับคณะผู้บริหารจากธนาคารทั่วโลก เยี่ยมชม พูดคุย ซักถามแลกเปลี่ยนกับทั้งคนไทยและคนต่างประเทศถึงเรื่องราวของดินแดนที่เกิดจากคำสองคำคือ Silicon และ Valley ซึ่งก็ได้มากจากที่บริเวณนี้เป็นต้นเกิดและแหล่งขุดแร่ซิลิคอนซึ่งเป็นส่วนประกอบของ Silicon Chip ที่ใช้ในอุตสาหกรรมไฮเทค และ Valley ก็หมายถึง Santa Clara Valley ซึ่งอยู่ใน Santa Clara County และเมือง San Jose ด้วย ผมมาถึงช่วงบ่ายของวันที่อาทิตย์ที่ 18 ก็เลยถือโอกาสวิ่งรอบๆเมืองแก้ Jet Lag สำรวจของที่ขายที่ Walgreens แวะผ่าน Tesla Showroom และ Founder Instutute แล้วก็กลับไปนอน :)

วันที่ 19 กันยายน : Silicon Valley วันนี้ไม่เหมือนวันวาน

ตื่นเช้ามาพบกับ Mark Zawacki — Founder 650labs ซึ่งเป็น Corporate Accelerator มาเล่าให้ฟังถึงภาพรวมและทิศทางของ Silicon Valley ที่จะเปลี่ยนจาก High Tech Capital of the world มาเป็น Industry Disruption of the world กล่าวคือ ไม่ได้เน้นแค่ Hi Tech แล้วนะแต่จะทำทุกอย่างที่สามารถจะเปลี่ยนแปลงโลกและแข่งขันกับธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ แค่ได้เห็น Vision แบบนี้ก็รู้เลยว่าเราต้องติดปีกบินเพราะแค่เดินหรือวิ่งแบบที่เป็นอยู่ก็คงจะตามเค้าอยู่ตลอดไป

Mark ยังเสริมอีกว่า สาเหตุที่ทำให้ Silicon Valley ต่างเพราะมี Ecosystem ที่แข็งแรง มี Cluster ทางธุรกิจมากมายยกตัวอย่างเช่น Financial Service Cluster ก็มี 25+ บริษัทขนาดใหญ่ (Apple, Google, Microsoft, you name it…) 700+ Fintech Startups และ 30+ Multi-National Companies (VISA, Well Fargo, etc.) เมื่อบริษัทเหล่านี้มาเจอกันเหมือนกับการแลกเปลี่ยนไอเดียและข้อมูลมหาศาล การเรียนรู้ร่วมกันอย่างรวดเร็ว เค้าใช้คำว่า เหมือน Ideas Having Sex — ความคิดมีเพศสัมพันธ์กันจนเกิดเป็นไอเดียใหม่ๆมากมาย เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปข้างหน้า

Robert Pearlstein, Vice President, Stanford Research Institute (SRI)

จากนั้นไปเจอ Robert Pearlstein — VP Stanford Research Institute หรือ SRI ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยที่ Spin-off จากมหาลัย Standford ถ้าพูดแค่นี้ก็คงไม่ค่อยมีใครรู้จัก แต่ถ้าพูดว่า บริษัทนี้เป็นคนทำ SIRI แล้วขายไปให้ Apple ละก็ต้องร้องอ๋อทุกคน จริงๆแล้วบริษัทนี้ยังอยู่เบื้องหลังสิทธิบัตรอีกหลายๆตัวที่สามารถ Commercialize ได้จริงเช่น Mouse (ใช่ครับ mouse ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี่แหละ) หรือแม้กระทั่ง ระบบสแกนม่านตาที่ใช้ใน Samsung Tablet ตัวปัจจุบัน

SRI เป็น Non-Profit Organization ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งขึ้นในปี 1946 ในมหาวิทยาลัย Stanford ปัจจุบันมีศูนย์วิจัย 10 แห่งทั่วโลก แยกตัวจาก Stanford ในปี 1970 ปัจจุบันมีพนักงานและนักวิจัยรวม 2,100 คนและเกินครึ่งจบสูงกว่าปริญญาตรี ในปี 2014 มีรายได้ ~550 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 19,250 ล้านบาท หัวใจของ SRI คือ เป็นสะพานเชื่อมงานวิจัยไปสู่การค้า คือพูดง่ายๆคือช่วยให้งานวิจัยไม่อยู่แต่ในห้องทดลอง ได้มีการนำออกมาใช้ในโลกความเป็นจริงและสามารถต่อยอดในเชิงธุรกิจได้ เชื่อมโยงงานวิจัยทั้งในมหาวิทยาลัยและห้องปฏิบัติการทั่วประเทศกับธุรกิจขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดการนำไปใช้จริง

Valley of Death — Easy to Describe, Very challenging to do (Credit pic: SRI)

ส่วนใหญ่ที่งานวิจัยจะขึ้นหิ้งเพราะไม่สามารถผ่าน Valley of Death ได้ คือไม่สามารถเปลี่ยน Basic Research เป็น Applied Research เพื่อสร้างขึ้นมาเป็น Product

ส่วนที่น่าสนใจมากคือ Model ที่ SRI ใช้ในการเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรซึ่งประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนคือ Discover, Engage และ Execute โดยองค์กรหรือธุรกิจที่สนใจสามารถติดต่อเข้าไป เพื่อพูดคุยเบื้องต้นถึงความต้องการ หรือ โจทย์ปัญหาที่ท้าทายองค์กรอยู่ในขณะนั้น ปัญหาอาจมีหลายอัน แต่สุดท้ายจะเลือกเพียงอันเดียวที่จะไปทำ Workshop ต่อในขั้นตอนที่ 2 ที่เรียกว่า Engage

ในขั้นตอนนี้จะมาทำ Ideation Workshop กัน เพื่อให้รู้ Baseline รู้ว่าธุรกิจมีเทคโนโลยีอะไร และ SRI มีอะไร มาปล่อยของกันเต็มที่ สร้าง Product Roadmap ร่วมกัน ในขั้นนี้จะเห็นเลยว่าธุรกิจจะสามารถเอาเทคโนโลยีตัวไหนของ SRI ไปใช้ในเชิงธุรกิจได้บ้าง ซึ่งในขั้นนี้จะกินเวลาประมาณ 1–3 เดือนและมีค่าใช้จ่าย 85,000 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 2,975,000 บาท ตีว่า 3 ล้านบาทละกัน เพื่อเป็นเหมือนสัญญาใจว่าจะไปด้วยกันต่อ ซึ่งถ้าได้ถึงขั้นเป็น Roadmap ออกมานี่ถือว่า จ่ายไปแค่นี้คุ้มมากๆ

กว่า 80% ของธุรกิจที่ผ่านขั้น Engage จะเข้าไปสู่ขั้นที่ 3 คือ Execute ออกมาเป็น Proof of Concept (POC) ได้สำเร็จ ซึ่งถ้าไปได้ดีก็จะถูกพัฒนาไปเป็น Prototype และถ่ายทอดเทคโนโลยีไปให้ธุรกิจต่อไป ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีของ SRI ก็จะถูกเปลี่ยนจากของกลางๆที่ใช้กับใครก็ได้ กลายเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อยอดให้เข้ากับ Product ของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งในขั้นนี้จะใช้เวลา 9–18 เดือนโดยประมาณ ถ้าใครสนใจอยากคุยกับ SRI ก็บอกมานะครับเดี๋ยวแนะนำให้เลย

ฟังวิธีคิดเค้าแล้วเหมือน สวทช. บ้านเรามาก ไฟรักชาติลุกโชน เพราะมองเห็นเลยว่า นักวิจัยบ้านเราเก่งมากแต่ Business Development น่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ SRI สำเร็จได้จนถึงวันนี้ (เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมพยายามปั้น RISE ให้กลายเป็น Corporate and Innovation Accelerator เป็นศูนย์เร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรและความร่วมมือกันของ สตาร์ทอัพ นักวิจัย สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยและบริษัทขนาดใหญ่) หน้าที่ของ Robert และทีมงานคือดูแลเรื่อง Commercialization โดยตรง ซึ่งปีๆนึงก็มีโครงการเกิดขึ้นหลายร้อยโครงการ บางโครงการก็ให้สิทธิ์การใช้เทคโนโลยี (Licensing) บางโครงการก็ Spin-off ออกไปตั้งบริษัทใหม่ด้วยกันเลย และบางษริษัทในนั้นก็กลายเป็นบริษัทมหาชน!

ตัวอย่างบริษัทที่กลายเป็นมหาชน เช่น Nuance ทำเรื่อง Speech Recognition

สรุปว่าฟังจบสิ่งที่ได้คือไฟที่จะกลับไปสร้างอะไรแบบนี้ให้กับประเทศของเราบ้าง เพราะได้มีโอกาสไปร่วมงานกับหน่วยงานวิจัยหลายภาคส่วน ทั้งมหาวิทยาลัย สวทช. สกว. เลยเห็นว่ามันมีช่องว่างในเรื่องของ Commercialization อยู่ ความจริงที่เราต้องยอบรับคือเราไม่สามารถเปลี่ยนนักวิจัยที่เก่งที่สุดให้กลายเป็นนักธุรกิจที่ประสบคสามสำเร็จได้ทุกคน แต่สิ่งที่เราควรทำคือทำให้เค้าเข้าใจโลกธุรกิจและหามืออาชีพมาช่วยทำ Commercialization

Fireside Chat กับ Citi Venture กินไปฟังไปคุยไป กับ Ramneek Gupta

Ramneek เล่าให้ฟังว่า Citi Venture มีทั้ง in-house incubator และ ลงทุนกับ startups โดยลงทุนแต่ละครั้งอยู่ในช่วง 2–10ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันมี 30 บริษัทที่ลงทุนไปแล้ว และตัวเองจะไม่เป็น lead investor คือจะเป็นคนลงทุนตามเวลามี Venture Capital เจ้าอื่นๆลงทุนนำ ซึ่งแปลว่าคนลงทุนนำนั้นส่วนมากก็จะลงในจำนวนเงินที่มากกว่า

ในส่วนของโครงสร้างองค์กรตัวเค้าเองรายงานตรงต่อ CFO หรือ Chief Financial Officer ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ค่อนข้างแปลก เพราะปกติ CFO จะสนใจผลกำไรขาดทุนมาเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งขัดแย้งกับธุรกิจร่วมลงทุน หรือ Venture Capital ที่มีความเสี่ยงสูง ก็ต้องดูกันยาวๆต่อว่าโครงสร้างแบบนี้จะเวิร์คมั้ย

หลังทานข้าวเสร็จ ช่วงบ่ายนี้เป็นเวลาที่ผมรอคอย ที่แรกเป็น Deutsche Bank Labs สำหรับผมไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไหร่ พื้นที่ Lab ก็คล้ายๆ Co-working space แบบ Hiso หน่อย

จุดที่น่าสนใจคือ DB labs มีหลายแห่ง แต่ละแห่งก็จะเน้น theme ที่ต่างกัน เช่นที่นี่ก็จะดูภาพรวม ที่ลอนดอนก็เน้น Cryptocurrency เป็นต้น แต่ทั้งหมดมีจุดมุ่งหมาย 3 เรื่องคือ การถ่ายทอดเทคโนโลยี, Digitalization และ Cultural transformation

Model การสร้าง Innovation ที่ Deutsche Bank นี่ใกล้เคียงกับ Design Thinking มาก เหมือนกับเอามาประยุกต์นิดหน่อย (ตามรูป)

เสร็จปุ๊ป Prof. Barry Katz ก็มาเล่าถึงประวัติของ Silicon Valley และ Design Thinking ที่ผมเพิ่งทำ workshop เสร็จไปเมื่ออาทิตย์ก่อนโน้น ตอนแรกก็คาดหวังว่าแกจะมาเล่า Design Thinking แบบที่ได้ฟังจาก Kaweewut Tong แต่สรุปว่าแทบไม่แตะ Design thinking เลย 555 แค่บอกว่า มันอยู่เบื้องหลัง นวัตกรรมหลายๆอย่าง เช่นปากกาฉีดอินซูลิน ไรงี้

อ่ะไม่เป็นไร ในตารางบอกว่าเดี๋ยวแกจะพาไป IDEO ซึ่งเป็นบริษัทที่เอา Design Thinking มาแก้ปัญหา จนปัจจุบันเติบโต มีออฟฟิศที่ Shanghai, Tokyo และ Singapore รวมพนักงานกว่า 650 ชีวิต ก็เลยกะว่าเดี๋ยวคงได้ฟัง แต่จนแล้วจนรอดก็ยังผิวๆมาก แกบอกให้ไปซื้อหนังสือแก ชื่อ Change by Design ที่เขียนร่วมกับ Tim Brown มาอ่านซะ 555

Prof. Barry Katz @ IDEO

ก่อนกลับออกมาโชคดีได้เจอ Tom Kelly น้องชายของ David Kelly ผู้ก่อตั้ง IDEO และผู้เขียนหนังสือ Creative Confidence — ปลดปล่อยความครีทีฟในตัวคุณ เค้าบอกชอบ TDCD มากน่าจะมีแบบนี้เยอะๆในบ้านเรา

Me with Tom Kelly IDEO

ท้ายสุดเพื่อให้ครบสูตร ต้องไปแวะ d.school อยู่ในตึก Mechanical Engineering ที่ Stanford เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และแอบไปส่องว่าเค้าทำอะไรกันบ้าง ดื่มด่ำอยู่นานจนเกือบตกรถ

สำหรับผมถือเป็นวันแรกที่อิ่มมากๆ ตามอ่านต่อได้ที่ Supachai Parchariyanon (ศุภชัย ปาจริยานนท์)

#KidSiliconValley

--

--

Kid Parchariyanon
Superchai

CEO and Co-Founder, RISE | Managing Partner, SeaX Ventures — Our mission is to drive 1% of GDP for Southeast and reduce 1% of Carbon Emissions for the world 🌎