คิดไป Silicon Valley ตอนที่ 2:

The Ecosystem เพราะสิ่งนี้ทำให้แตกต่าง

Kid Parchariyanon
Superchai
3 min readNov 19, 2016

--

วันที่สองสนุกไม่น้อยกว่าวันแรกเช้าตรู่ออกจากโรงแรมตั้งแต่ 8โมง ไปเจอ Gerald Brady — Managing Director of Silicon Valley Bank

ใช่ครับ มันมีแบงค์ชื่อนี้จริงๆ Silicon Valley Bank

ต้นปี 2016 ธนาคารมีสินทรัพย์ 43B USD และปล่อยกู้ประมาณ 19B USD คงไม่ต้องถามว่าแบงค์นี้ทำอะไร ชื่อก็บอกอยู่ว่า Silicon Valley Bank ก็ต้องโฟกัสการปล่อยกู้ให้สตาร์ทอัพใน Silicon Valley แต่เค้าทำได้ยังไง? ในขณะที่แบงค์ปกติก็ต้องกลัวหนี้เสีย พยายามหลีกเลี่ยงธุรกิจสตาร์ทอัพเกิดใหม่ ไม่มีประวัติย้อนหลังเหมือนบริษัทที่เปิดมานานๆ

เคล็ดลับของเค้าคือ ต้องแยกระหว่าง Real Risk vs Perceived Risk เพราะถ้ามองสตาร์ทอัพทุกบริษัทเสี่ยงเท่ากันหมดก็คงไม่ถูก แต่ถ้าสามารถเลือกลงทุนกับสตาร์ทอัพที่มีความสัมพันธ์กันมายาวนาน หรือรู้จากคนอื่นๆในระบบนิเวศน์เช่น Venture Capital (VC) ว่าสตาร์ทอัพนี้น่าสนใจและ VC เองก็ลงทุนกับสตาร์ทอัพเจ้านี้ ทำให้ Silicon Valley Bank ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

พูดอย่างเดียวไม่เห็นภาพว่าเค้าเจ๋ง แต่ถ้าบอกว่า Loss Ratio ของเค้าอยู่ที่ 0.5% เท่านั้น ในขณะที่หนี้เสีย หรือที่เรียกกันว่า NPL (Non-Performing Loan) บ้านเราอยู่ 2% แปลว่าปล่อยก็ให้สตาร์ทอัพที่ Silicon Valley ความเสี่ยงต่ำกว่าปล่อยให้ SME บ้านเราเยอะเลย! ลูกค้าเค้าไม่ได้มีเฉพาะสตาร์ทอัพแต่ 80% ของ VC ก็มีบัญชีอยู่กับเค้าด้วย แม้กระทั่ง 500 Startups ที่มีคุณกระทิง พูลผล และคุณหมู Ookbee เป็นพาร์ทเนอร์ก็ใช้แบงค์นี้ด้วย

ได้มาคุยกับเค้าทำให้เห็นภาพเลยว่า Ecosystem มันสำคัญมากๆ และไม่แปลกใจที่ที่ Silicon Valley เป็นจุดศูนย์กลางของโลกด้านเทค เพราะเค้ามี Ecosystem ที่แข็งแรงแบบนี้นั่นเอง

PlugandPlay @ Sunnyvale

ตอนบ่ายหลังทานข้าวกลางวันไปเยี่ยม Plug&Play ซึ่งเค้าบอกว่าเป็น Accelerator ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Startup ดังๆอย่าง Dropbox, Lending Club และ PayPal ต่างเคยอยู่ที่นี่กันหมด ไม่ธรรมดาจริงๆ

Lobby and tons of startups on its wall

ที่นี่เวลาคัดเลือกสตาร์ทอัพเข้ามาจะแยกเป็น Vertical เช่น Retail, FinTech, etc. สำหรับ FinTech เพิ่งเริ่มในปี 2014 รอบนึงมีสตาร์ทอัพมาสมัครประมาณ 1,000บริษัท!!! คัดไว้เหลือแค่ 24 ทีม หรือแค่ประมาณ 3% เท่านั้น ปีนึงเปิด 2 รอบคือ Q1 และ Q3 รวม 48 ทีมต่อปี เข้ามาแล้วฟรีทุกอย่าง อ้าว!!! แล้วจะมีรายได้จากอะไร หุ้นก็ไม่ถือ เค้าบอกว่าอันนี้แล้วแต่สตาร์ทอัพถ้าอยากให้เค้าถือเค้าก็จะลงเงินทุนให้ด้วย เท่าที่ดูแล้วรายได้หลักน่าจะมาจากการสปอนเซอร์จากบริษัทใหญ่ๆมากกว่า

ซึ่งวิธีการก็น่าสนใจ คือ บริษัทใหญ่ๆที่เป็นสมาชิกจะได้สิทธิ์ในการเข้ามา Review และพูดคุยเพื่อพัฒนาธุรกิจร่วมกันกับสตาร์ทอัพ 4–6 ครั้งต่อปี โดยมีที่นั่งประจำให้เลยคือจะมาเมื่อไหร่ก็ได้ อย่างกรณีของ MUFG ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของธนาคารกรุงศรี ก็มีโต๊ะประจำพร้อมโลโก้ และมีอีกหลายแบงค์ทั่วโลกที่มาร่วมกับเค้า ที่สำคัญคือสิทธิ์ดังกล่าวถือเป็น Commitment ตลอดระยะเวลา 3 ปีถ้าไม่มี Commitment ก็จงสละสิทธิ์ให้กับคนอื่นไป

ยืนเล่าประวัติความเป็นมาของ PlugandPlay กันตรงบันไดนี้เลย
หน้าตาของ Space ที่จัดให้กับสตาร์ทอัพ อย่างอันนี้เป็นของกลุ่ม Cloud และ Brand & Retail
Space ของกลุ่ม Fintech และ Travel จะเห็นว่าด้านหลังมี Cubicle อยู่อันนั้นสำหรับ Corporate Partner ที่จ่ายเงิน

ตามธรรมเนียม หลังจากชมพื้นที่เสร็จก็เชิญสตาร์ทอัพที่น่าสนใจมา Pitching ให้เราฟัง

ช่วงเย็นลุยต่อกับ R3 Consortium มาขยายความให้ฟังเรื่อง Blockchain โดย Kathleen Breitman — Senior Strategy Associate เริ่มต้นด้วยที่มาที่ไปว่า R3 ก่อตั้งโดย David Rutter ซึ่งเป็นอดีต CEO ของ ICAP — The world’s largest interdealer broker และปัจจุบันมีสมาชิกสถาบันการเงินถึง 67 แห่งเข้าร่วมด้วย ค่าสมาชิกเบื้องต้นก็สิวๆเพียง USD 250,000$ เท่านั้น สมาชิกสามารถเลือกที่จะเข้าไปร่วมใน Project ที่ตัวเองสนใจได้ และแน่นอนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันก็เพียง 2 ปีเศษเท่านั้น

R3 ไม่ค่อยจะให้รายละเอียดมาก เหมือนมาเล่าให้ฟังเพื่อจะบอกว่าจ่ายตังค์มาก่อนแล้วชั้นจะบอกว่าชั้นมีอะไรน่าสนใจอีกเยอะ 555

สุดท้ายเป็น Networking กับ Venture Capital ที่นี่ ซึ่งมีทั้ง Seed-stage และ Late-stage ผมได้เจอกับ Henry Wong เป็น MD ของ Garage Technology Venture ที่ก่อตั้งโดย Guy Kawasaki ซึ่งเป็น Advisor ให้กับ Startups ดังๆเพราะเค้าเคยทำงานกับ Steve Jobs ถึง 2 รอบในช่วง 1980s และ 1990s เรียกว่าเป็นหนึ่งในรุ่นบุกเบิก Apple Inc. เลย

Herry Wong คุณแซม ตันสกุล ผู้บริหารจากธนาคารกรุงศรี และผม (จากขวาไปซ้าย)

ปัจจุบันลุง Henry ก็บริหารงานแทนเกือบทั้งหมด เพราะ Guy จะมีคิวพูดสร้างแรงบันดาลใจเยอะมาก (อันนี้ลุง Henry ก็บอกมา)

VC ของลุงมีขนาดประมาณ $100Million ถ้าจะลงทุนกับลุงก็ต้องมีอย่างน้อย $2Million ลุงถึงจะสนใจคุยด้วย ซึ่งปัจจุบันเป็นกองทุนที่ 3 แล้วที่ลุงกำลังบริหารอยู่ ถามไปว่าแล้วที่ผ่านมาๆผลตอบแทนที่ลุงได้เป็นยังไง ลุงบอกอย่างภาคภูมิใจ 26X เท่านั้นเอง หุหุ โดยตัวที่ดังที่สุดของลุงก็คือ Pandora Internet Radio นั่นเอง

VC อีกสองรายที่เจอคือ Moment Venture เจ้านี้ Founder เคยเป็นผู้บริหาร Cisco ก็เลยชอบลงทุนกับอะไรก็ตามที่เป็น Infrastructure ก็เลยเรียก VC ตัวเองว่าเป็น Investors in the infrastucture of everything และ VC อีกเจ้านึงชื่อ Stereo Venture เป็น Mid/Late Stage Investor ชอบ Slide นึงที่เค้าพูดว่า ในแต่ละ Stage ของสตาร์ทอัพนั้น ความเสี่ยงไม่เหมือนกัน ถ้าเพิ่งเริ่มต้นจะมีความเสี่ยงเรื่อง Product คืออาจยังไม่มี Product ที่ตอบโจทย์พอ แต่พอมา Series A จะเริ่มมีปัญหาเรื่องการบริหารคน ต้องมี Leadership สูงมาก แต่พอมา Series B จะกลับมาเป็นปัญหาเรื่องว่าจะขยายตลาดให้รวดเร็วมากๆได้อย่างไร และถ้าเป็น Late Stage แล้วก็จะมีความเสี่ยงเรื่องการควมคุมต้นทุนในการได้มาซึ่งลูกค้าใหม่และทำอย่างไรจึงจะเอาชนะคู่แข่งให้เป็นเบอร์หนึ่งของวงการได้ สุดท้ายคือก่อน IPO จะมีความเสี่ยงเรื่องการเงิน ทำอย่างไรให้โต 100% กำไรขั้นต้นได้ 60% และลดต้นทุนลงอีก ส่วนหลังจากนั้น VC ไม่สนใจเพราะ Exit ไปแล้วจ้า (อันหลังสุดนี่เติมเองนะครับ)

เป็นอีกวันที่สมองอิ่มมาก ^^

#KidSiliconValley

--

--

Kid Parchariyanon
Superchai

CEO and Co-Founder, RISE | Managing Partner, SeaX Ventures — Our mission is to drive 1% of GDP for Southeast and reduce 1% of Carbon Emissions for the world 🌎