สรุปจากคลาส Giving Effective Feedback Workshop for GenMentor ของ https://thailand.generation.org/ โดยอาจารย์ ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์

Keerati Ratanapatayakorn
T. T. Software Solution
2 min readMay 5, 2023

--

วิธีการให้ feedback ที่ดี ที่นิยมใช้กัน จะมีอย่างน้อย 2 วิธี ที่จะมานำเสนอให้ครับ

วิธีที่ 1

TAPS model : เป็นการแยกองค์ประกอบของการให้ feedback ตามแต่ละสถานะครับ โดย TAPS มีที่มาดังนี้ (T)ell, (A)sk, (P)roblem, (S)olution ซึ่งทั้ง 4 อย่างนี้ จะมีการนำไปใช้ในแต่ละความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้

  • Problem-Ask จะเป็นการรับฟังปัญหาเพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งคนที่ทำส่วนนี้มักจะเป็น
    — Counselor (ที่ปรึกษา สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบต้นตอของสาเหตุปัญหานั้น)
    — Therapist (นักบำบัด)
  • Problem-Tell จะเป็นการแนะนำวิธีการจัดการกับปัญหาหรือสั่งปฏิบัติการ ซึ่งคนที่ทำส่วนนี้มักจะเป็น
    — Consultant (ที่ปรึกษา สำหรับผู้ที่ทราบต้นตอของสาเหตุปัญหานั้นแล้ว)
    — Manager (ผู้จัดการ)
  • Ask-Solution จะเป็นการถามแล้วชวนให้คิดต่อว่า ควรจะไปทางไหนดี ขึ้นกับแนวคิดของผู้ที่เข้ามาขอคำแนะนำ ซึ่งคนที่ทำส่วนนี้มักจะเป็น
    — Coaching
  • Tell-Solution จะเป็นการสอนและแนะนำแนวทางที่เราเห็นออกไปให้เลย ซึ่งคนที่ทำส่วนนี้มักจะเป็น
    — Teacher/Mentor
    — Trainer

วิธีที่ 2

Ask-Tell-Ask model : จะเป็นการ communicate ทั้งสองทางระหว่างผู้ให้ feedback กับ ผู้รับ feedback โดยมีลำดับดังนี้

  • Ask(1) : ให้ผู้รับ feedback ทำ self-assessment แล้วมาเล่าให้ผู้ให้ feedback ฟังทั้งหมดก่อน
  • Tell : ผู้ให้ feedback จะเริ่มให้คำแนะนำรวมถึงแนวทางที่ควรจะเป็น
  • Ask(2) : ถามผู้รับ feedback ด้วยว่า มีความคิดเห็นอย่างไรกับคำแนะนำของผู้ให้ feedback บ้าง

จะสังเกตได้ว่าทั้งสอง model จะมีมุมมองที่แตกต่างกัน ดังนั้นการที่เราจะสามารถนำแต่ละ model ไปใช้ได้นั้น จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย ซึ่งถ้าให้ดี ผู้ให้ feedback ควรทำความเข้าใจผู้ขอ feedback ว่าเค้าอยู่ใน state ใด เช่น

  • A1 : อยู่ในภาวะที่ทั้งประสบการณ์และทักษะยังไม่พอ (level ยังไม่ถึง)
  • A2 : อยู่ในภาวะที่ทักษะถึงแล้ว แต่ ประสบการณ์ยังไม่พอ ในตอนนี้เค้าจะเกิดความเบื่อหน่าย ดังนั้นเค้าต้องการ challenge เพิ่มเติม
  • A3 : อยู่ในภาวะที่ประสบการณ์ถึงแล้ว แต่ ทักษะยังไม่พอ ในตอนนี้เค้าจะเกิดความกังวล ดังนั้นเค้าต้องการ up skill เพิ่ม

ซึ่งการแก้ไข A1 อาจจะไปเกิดขึ้นต่อที่ A2 หรือ A3 ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเค้าเผชิญกับสิ่งใดก่อน

หลังจากนั้น เมื่อเค้าพัฒนาตัวเอง จาก A2 หรือ A3 ก็จะไปเป็น state ของ A4 คือมีความพร้อมในการลุยแล้วเพราะมีความสมดุลกันระหว่าง skill และ challenge ที่เจอมา แล้วเค้าอาจจะกลับมาอยู่ใน state A1 (ของอีก level หนึ่งที่ไม่ใช่ level เดิม เพราะพัฒนาตัวเองมาอีกขั้นนึงแล้ว) อีกทีก็ได้

สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการให้คำชม ซึ่งการชมจะมี 3 ระดับ ดังนี้

  1. ชมที่ผลงานหรือผลลัพท์ที่สำเร็จ
  2. ชมที่คุณค่าหรือความพยายาม
  3. ชมที่อนาคตเพื่อให้เกิดการนำศักยภาพนั้นไปใช้

การชมที่ดีสำหรับผู้ให้ feedback คือข้อ 2. และ 3. ครับผม

ส่วนการชมแบบข้อ 1. นั้นใช่ว่าไม่ดี แต่เป็นการชมแบบทั่วไปครับ

--

--