คู่มือบริหารเงิน(ฉบับสอนน้อง)

Throwgether
TakoDigital
Published in
3 min readMay 13, 2024

มีน้องชายอยู่ 2 คน อีกไม่กี่ปีกำลังจะเรียนจบ เก่งกันทั้งคู่ แต่มีสิ่งที่ไม่ได้สอนอย่างละเอียดเลย คือเรื่องเงิน เดิมทีต้นทุนน้อย ในวันที่เรียนจบไปอยากใช้ชีวิตยังไงก็ตามสะดวก ให้บทความนี้เป็นแนวทางพื้นฐาน จะเริ่นต้นใหม่ จะล้มละลาย ก็กลับมาอ่านได้เสมอ

Will try write everything in Thai. vocab maybe not be okay.

ขอยืมหลักการของปิรามิดทางการเงินมาเล่าละกัน เหมือนการสร้างปิรามิด เราจะเน้นที่ฐาน สู่ชั้นต่อๆไป สามารถสร้างไปพร้อมกันหลายๆชั้นได้ แต่ชั้นล่างควรจะแข็งแรงก่อนชั้นบน สร้างชั้นบนเยอะเกินไปก่อนมีฐานก็อันตราย
ฐาน1–2ตึงๆหน่อย พอไปถึงฐาน3++ เมื่อไหร นั้นแหละความบันเทิงกับความสุขสบาย

www.finnomena.com/nm/financial-pyramid/ มีหลายสำนัก แต่ตอนหารูป ref Finnomena เรียบเรียงได้ถูกใจสุด

1.1 จัดการตัวเอง (Cash Flow Management)

เริ่มต้นต้องมีงาน มีรายรับ
ต่อมาดูเลยว่ามีต้นทุน อะไรที่เป็นของเรา ที่สามารถใช้ได้บ้าง เช่น โทรศัพท์ รถ ที่พัก เงินเก็บ …
ต่อมามันจะสอดคล้องกัน เรามีรายจ่าย ที่จำเป็นอะไรบ้าง ถ้าต้นทุนเยอะ รายจ่ายก็น้อยลง ไม่จำเป็นต้องซื้อหรือเช่าอะไรเพิ่ม อะไรที่ขาด ถ้าสามารถหยิบยืมใช้ของครอบครัวได้ก็ดี

ทำให้ รายรับ> รายจ่าย (In > Out) อย่างต่อเนื่อง

  • คิดตรงๆแบบนี้เลย ไม่ต้องใช้หลัก แบ่งรายได้ 100% เป็นส่วนต่างๆ 50% ค่าใช้จ่ายจำเป็น 25% ความบันเทิง 25% เก็บออม, มันไม่ได้เหมาะกับทุกคน ต้นทุน รายได้ มันไม่เท่ากัน ใช้แต่จำเป็น เอาเหลือเงินเยอะเท่าไหรยิ่งดี
  • เอาเงินซื้อความสุขบ้าง ไม่ผิด แต่ไม่มีระเบียบเรื่องเงินก็อันตรายมาก (จะรู้ซึ้งจริงๆก็ต้องโดนเอง ขอให้ไม่หนักแล้วฟื้นกลับมาได้ด้วยตัวเองนะไอ้หนุ่ม)
  • ไม่ควรสร้างหนี้สินใดๆที่ไม่จำเป็น จนกว่าจะมีความสามารถในการจ่ายเพียงพอ
  • เพิ่มรายรับ เก่งให้มากขึ้น ขวนขวายหาโอกาสใหม่ๆ ถ้ายังไม่พอใจกับปัจจุบัน
  • ถ้าทำข้อนี้ไม่ได้ ต้องมีแผนจัดการหนี้สิน

1.2 เงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Fund)

เงินที่เหลือส่วนแรก จะสะสมในข้อนี้ เผื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น ไม่มีรายได้ จะสามารถจัดการกับปัญหานั้นๆ ได้เป็นระยะเวลานึง
เริ่มที่ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน … 6 เดือน 12 เดือน ทีละขั้นตามสะดวก
แนะนำเก็บเงินส่วนนี้ไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที (เดียวจะแนะนำในข้อต่อไป)

  • น้อยไปก็อันตราย มากไปก็เสียโอกาส

2. จัดการความเสี่ยง (Risk Management)

ในช่วงแรกสิ่งที่อันตรายที่สุดคืออุบัติเหตุ เพราะถ้าเราตัวคนเดียว เราจะไม่มีความสามารถในการรับมือเหตุการณ์เหล่านี้เลย Game Over กันง่ายๆ ไม่เหมือนในเกมที่เราตายแล้วเกิดใหม่ ยิ่งเราไม่มีคนหนุน(ไม่ต้องนึก ไม่มีอยู่แล้ว) เราก็ต้องใส่ใจกับส่วนนี้ให้มาก อาจจะเป็นข้อเสียเปรียบถ้าเทียบกับคนอื่น เพราะเราต้องแบ่งเงินมาโฟกัสส่วนนี้

ดังนั้นฐานถัดมาคือการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับเราด้วยประกันต่างๆ มันคุ้มค่า ในยามที่มีปัญหา ที่พบบ่อยก็
ประกันอุบัติเหตุ/สุขภาพ — ควรมี
ประกันรถยนต์ — ถ้าใช้รถ ควรมี

ประกันอื่นๆ ไว้จะอธิบายในหัวถัดไป

  • ค่อยๆปรับความเสี่ยงที่รับได้ ไปตามกำลังของเรา ประกันฟรี ประกันถูกๆ จนถึงประกันที่รับมือได้ทุกเหตุการณ์ (ถ้าเราป้องกันความเสี่ยงมากไป เอาเงินมาลงกับประกันมากไป กลายเป็นรำบาก ประกันมันจะกลายเป็นหนี้)
  • ในแรกเริ่มที่ยังไม่มี ก็ใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง แต่บทคนจะซวยมันก็ซวย

จบในส่วนของความมั่นคง พอมีข้อ 1,2 ก็ลองแกล้งๆ นึกดูว่าถ้าเกิดเหตุการอะไรขึ้นกับเรา เราจะรอดไหม ถ้าไม่รอดก็ทยอยเสริมความแข็งแรงจุดนี้เรื้อยๆ อนาคตถ้ามีหนี้สิน มีภาระ มีแมว มีแฟน มีครอบครัว ข้อนี้มันจะยากขึ้นตามไปด้วย
แรกๆ อายุยังน้อยอาจจะลองผิดลองถูก พลาดมาเจ็บน้อยกว่า

3. การออมและการลงทุน (Saving & Investment)

ต่อจากมั่นคงแล้ว เราจะมาดูในส่วนที่ทำให้มั่งคั่งบ้าง เราสามารถซื้อสิ่งที่อยากได้ ซื้อสิ่งที่ยังขาด สร้างฐานะขึ้นเรื้อยๆจากการเก็บออม โดยเป้าหมายของการเก็บออม ควรมีการวางแผนเป็นระยะตามมูลค่า เช่น ระยะสั้นหลักเดือน ระยะกลางหลักปี ระยะยาวหลัก10ปี+ แยกประเภทง่ายๆ

  • เก็บออมไว้ซื้อของที่อยากได้ หรือใช้จ่ายเพื่อตอบสนองกิเลศ เสริมฐานะ ความสะดวกสบาย บ้าน รถ โทรศัพท์ มื้ออาหารที่ดีขึ้น เวลาจะซื้ออะไร แยกให้ออกว่าเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สิน การไม่ซื้อในวันนี้ แล้วรอซื้อในอนาคตก็อาจจะได้ของถูกกว่า ดีกว่า ทุกอย่างมีค่าเสียโอกาส ไม่ควรสร้างหนี้จากการซื้อ เว้นแต่จะมีกำลังพอที่จะจัดการหนี้ มีแผนรับมือหนี้ตอนฉุกเฉิน เป็นหนี้ที่ดีเพิ่มมูลค่าได้ มีความรู้มากพอที่จะเป็นหนี้
  • เก็บออมไว้เพื่ออนาคต เพราะเราสามารถทำให้เงินงอกเงยได้ ยิ่งมีเงินมากก็ยิ่งได้เปรียบ เพื่อเกษียณ จัดการแผนเกษียณเมื่ออายุมากขึ้นให้ดี จนกว่าจะมั่นใจว่าจะดูแลตัวเองตอนแก่ได้ ไว้ใจตัวเองดีกว่าไว้ใจลูกหลานให้มาเลี้ยงดู
    https://www.set.or.th/project/caltools/www/html/retirement.html
    ลองคำนวนเงินที่ต้องใช้ตอนเกษียณดู

พอถึงขั้นนี้ถ้าเรามีเงินมากขึ้นเรื้อยๆ จากรายได้ที่เข้ามา ก็ทยอยปรับปรุงปิรามิดตัวเองไปเรื้อยๆ สามารถใช้เงินได้มากขึ้น เมื่อดูแลตัวเองได้แล้ว จะสามารถดูแลคนอื่นได้ ก็มองเรื่องการดูแลคนอื่น(พ่อแม่ ครอบครัว) ตามมาเป็นลำดับต่อไป ตามกำลังที่ไหว

มาจุดนี้ก็คงได้คำตอบของชีวิตบ้างแล้วว่าจะพอใจ หรือจะขวนขวายแล้วไปต่อ บางคนอาจจะสามารถเพิ่มรายได้ให้มากพอจนร่ำรวย พลิกฐานะไปได้เลย แต่เคยอ่านเจอโดยค่าเฉลี่ย ครอบครัวนึงจะสามารถพลิกฐานะไปอีกชนชั้น มักจะใช้เวลา 2 ช่วงอายุคน หมายความว่าถ้าเป็นคนในค่าเฉลี่ยก็รำบากหน่อย
แต่มันมีวิธี วิธีที่จะทำให้เงินนั้นงอกเงยได้ไวกว่าปกติ และมากพอ ให้ถึงเป้าหมายได้ไวขึ้น(เหมือนแครี่ที่ออกของฟาร์ม ก็ย่อมฟาร์มไวกว่าฮีโร้ทั่วๆไป) มันก็คือการ ลงทุน

ลงทุน คือ การเอาเงินหรือสินทรัพย์ ไปทำอะไรบางอย่าง เพื่อให้เกิดผลตอบแทนในอนาคต คาดหวังผลตอบแทนที่มากขึ้น (แยก ลงทุน กับ พนัน ให้ออก)
สิ่งที่จำเป็นที่จะใช้ในการลงทุนคือความรู้ ซึ่งทุกวันนี้หาได้ง่าย ศึกษาเอาได้จากหลายๆที่ ถ้ารู้มากก็จะได้เปรียบ แต่จะอธิบายพอเป็นพื้นฐาน ให้หัวข้อไปศึกษาต่อเอา

ความเสี่ยง(Risk) โอกาสที่เงินจะได้หรือหายไป เช่น ฝากธนาคาร ความเสี่ยงต่ำ เงินไม่หายไปไหน แต่เงินก็เพิ่มน้อยมาก

สภาพคล่อง(Liquidity) ความรวดเร็วที่จะเปลี่ยนจากสิ่งที่ลงทุนกลับมาเป็นเงิน เช่น ที่ดิน สภาพคล่องต่ำมาก

ประเภทการลงทุน(Investment type) แบ่งออกไปตามการดำเนินการ ลักษณะภาพรวม ความเสี่ยง สภาพคล่อง เราควรจัดสรรการลงทุนประเภทต่างๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง คาดหวังผลตอบแทนที่รับได้(Port) ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้
https://www.set.or.th/project/caltools/risk.html
(การจัดพอร์ตลงทุนก็เหมือนเล่นเกม ต้องคิดว่าจะออกไอเท็มอะไร ถึงจะเหมาะกับสถานการณ์ เหมาะกับตัวเอง ออกของผิดไม่ตายแค่กาก แต่ถ้าไม่ออกของอะไรเลยก็กาก)

  • ความรู้(knowledge) ถึงคำจะดูเชย แต่ลงทุนในความรู้มันมีจริงๆ ยิ่งตัวเราเก่งมากขึ้น ก็หารายได้มากขึ้น มีทางเลือกมีวิธีมากขึ้น และที่สำคัญค่าใช้จ่ายในการลงทุนความรู้ อาจจะไม่ใช่เงินแต่เป็นเวลา ที่เรามีไม่ต่างกันมาก สำคัญที่สุด “ควรมีความรู้ เข้าใจข้อดีข้อเสีย ภาพรวม อดีต-อนาคต ในเรื่องนั้นๆก่อนจะไปลงทุนในรูปแบบอื่นๆ”
  • เงินฝากออมทรัพย์(Deposit): การนำเงินไปฝากไว้กับสถาบันการเงินอื่นๆ รับดอกเบี้ย ง่าย ความเสี่ยงต่ำ(หาบัญชีที่ได้ % เยอะๆที่สุด) สภาพคล่องสูง(ใช้เงินทันที)
    เหมาะสำหรับสัดส่วนเงินสำรองฉุกเฉิน
  • พันธบัตร (Bond): ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือบริษัท เพื่อระดมทุน โดยผู้ออกพันธบัตรจะจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือพันธบัตรเป็นงวดๆ และคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนด เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น แต่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและรับรายได้สม่ำเสมอ สภาพคล่องปานกลาง
    เหมาะสำหรับกระจายความเสี่ยง
  • หุ้น (Stock): ตราสารทุนที่แสดงความเป็นเจ้าของในบริษัท ผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกำไร มูลค่าหุ้นผันผวนตามการซื้อขาย เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ยากที่จะชนะตลาด ควรหาความรู้อยากลึกซึ้ง
    เหมาะสำหรับกระจายความเสี่ยง และสะสมระยะยาว
  • Other Asset: สินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ เช่น
    ทอง (สินทรัพย์ปลอดภัย จากช่วงที่ตลาดมีวิกฤต ผันผวนสูง เป็นทางเลือกในการกระจายความเสี่ยง ป้องกันเงินเฟ้อ), Cypto , ที่ดิน, ศิลปะ, ของสะสม, …
  • กองทุนรวม (Fund): การลงทุนที่รวบรวมเงินจากนักลงทุน เพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลาย เช่น พันธบัตร (Bond) หุ้น (Stock) หรืออื่นๆ
    เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท แต่ไม่มีเวลาหรือความเชี่ยวชาญในการเลือกเอง มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลให้
    โดยที่เราควรจะเลือกกองทุนที่มุ่งเน้นลงทุนในประเภทการลงทุนที่เราต้องการ
ยกตัวอย่างประเภทของกองทุนจาก https://www.finnomena.com/fund/pick

ทำให้เราสามารถลงทุนได้ในหลายๆตลาดทั่วโลกอย่างอิสระมากขึ้น มูลค่าและความเสี่ยงอยู่กับสินทรัพย์และลักษณะการดำเนินงานของกองนั้นๆ สภาพคล่องปานกลาง(2สัปดาห์+- ถึงจะเปลี่ยนเป็นเงินได้)

  • ประกัน (Insurance): การซื้อประกันชีวิตที่มีลักษณะการลงทุนควบคู่ไปกับความคุ้มครองชีวิต โดยส่วนหนึ่งของเบี้ยประกันจะถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้เอาประกันภัย หรือได้รับผลตอบแทนเมื่อถึงระยะเวลาที่ประกันกำหมด
    ข้อดี: ได้รับความคุ้มครอง ดีกว่าออมเงินไว้เฉยๆ
    ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (สำคัญที่สุด อธิบายต่อหัวข้อหน้า)
    ข้อเสีย: ผลตอบแทนน้อยไม่แน่นอน สภาพคล่องต่ำมาก ค่าธรรมเนียมสูง

เริ่มต้นควรจะลงทุนในอะไรบ้าง สัดส่วนการลงทุนแต่ละประเภทควรเป็นเท่าไหร แล้วอนาคตต่อยอดไปลงทุนอะไรบ้าง จังหวะไหนควรจะถอนเงินสดเพื่อทำกำไร ควรลงทุนแต่ละประเภทยาวแค่ไหน ขาดทุนทำยังไง ไปศึกษาเพิ่มเติมเอา
เคล็ดลับมีแค่ ความรู้ + วินัย + ดวงนิดหน่อย

การลงทุนมีความจำเป็น เพราะถ้าฝากเงิน เก็บเงินสดไว้เฉยๆ เวลาผ่านไปมูลค่าก็ลดลง
ถ้าเราเก็บสะสมอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง (เรียกว่า DCA หรือ Dollar Cost Average) ด้วยพลังแห่งดอกเบี้ยทบต้น หรือ Compound Interest ก็จะทำให้ถึงเป้าหมายได้ไวยิ่งขึ้น

4. วางแผนจัดการภาษี

เมื่อมีรายได้ สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้คือภาษี โดยคิดเป็นรายได้ต่อปี ดูได้ตามตาราง

ซึ่งเราสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี เพื่อลดการจ่ายภาษีให้น้อยลง หรือไม่ต้องเสียภาษีเลยก็ทำได้
สามารถใช้โปรแกรมช่วยคำนวนได้ เช่น
https://www.set.or.th/project/caltools/www/html/tax/index.html?theme=default

  • ศึกษาเพิ่มเติมทุกปีว่ามีหมวดหมู่ไหนบ้าง และลดหย่อนได้เท่าไหร วางแผนล่วงหน้า 1 ปี ตัวอย่างปี 2567
ขอยืมรูปจาก SME Move ทำสีสันได้สบายตา อ่านง่ายดี

อย่าลืมยื่นภาษี “ผู้ที่มีรายได้จากการประกอบอาชีพ” ต้องยื่นภาษีเสมอ แม้ว่ายื่นแล้วจะไม่ต้องเสียภาษีเพราะฐานรายได้ไม่ถึง ก็ควรยื่นเพื่อเป็นหลักฐานปกป้องตัวเอง

5. การวางแผนมรดก (Wealth transfer)

สุดท้ายแล้วก็คือวางแผนก่อนตาย เมื่อตายไปอยากให้จัดการมรดก หรือฝากฝั่งอะไรบ้าง(เช่น ฝากลบไฟล์ในไดฟ์ D ฝากลบประวัติการค้นหาด้วย) สามารถทำได้เลยตั้งแต่ตอนที่ยังมีชีวิต

  • สำรวจทรัพย์สิน หนี้สิน ว่ามีอะไรบ้าง คิดไว้ว่าจะจัดการยังไง อย่าให้ไปเป็นภาระคนอื่น
  • ทำพินัยกรรม หรือง่ายๆก็สั่งเสียไว้ให้มันมีหลักฐาน เพื่อการันตีว่าสินทรัพย์จะถูกดำเนินการอย่างที่เราต้องการ นานๆทีก็ทบทวนแผนมรดก อัพเดทพินัยกรรมบ้าง
  • วางแผนภาษีมรดก เนื่องจากประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมรดก
  • จัดงานศพให้ตัวเอง วางแผน เตรียมเงิน ระบุรายละเอียดที่ต้องการ รวมถึงรวบรวมของจำเป็น เอกสารต่างๆ ประกัน เบอร์ติดต่อไว้
    การอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ มีประโยชน์ต่อโลกและสะดวกมากด้วย ตัวอย่างระเบียบ
    https://chulalongkornhospital.go.th/anatomy/?page_id=51

เขียนจากประสบการณ์ ที่ผิดพลาดมาบ้าง เกือบหลับแต่ก็กลับมาได้ด้วยตัวเอง
จนกลายมาเป็นแนวคิดแบบนี้

ถ้ามีตรงไหนผิดพลาด ฝากพิมบอกในคอมเม้นท์
จะแก้ไข หรืออยากแชร์ อยากเพิ่มเติมตรงไหน มีคำถาม just comment

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ผ่านมาอ่าน

--

--

Throwgether
TakoDigital

เมื่อเด็กเกาะเบาะต้องลงมือ Dev เอง