เมื่อที่ทำงานเป็นพื้นที่ปลอดภัย(Psychological Safety)

Throwgether
TakoDigital
Published in
2 min readJun 16, 2024

ที่บทความนี้เป็นเพียงเนื้อหาของหลักการที่ช่วยพัฒนาองค์กร และเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล

ผ่านมาไม่ได้นานได้ฟังบรรยายจากงาน People Performance Conference 2024 เกี่ยวกับหัวข้อ Psychological Safety และรู้สึกว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ผู้เขียนมักไม่มั่นใจ วิตกที่จะแสดงออก ไม่ใช่เพราะความเขิลอาย แต่เป็นเพราะกลัวผิดพลาด อาจจะเป็นปมจากการที่สมัยวัยรุ่นพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง จับประเด็นไม่ได้ ทำให้การพูดในที่สาธารณะออกมาได้ไม่ดี
เมื่อเวลาผ่านไปจากประสบการณ์ การฝึกซ้อม และสังคมที่ได้เจอได้ช่วยให้ทักษะการสื่อสารพัฒนามากขึ้น

เพจ Supermommam สรุปไว้อย่างสวยงาม มีหลายหัวข้อน่าสนใจ https://www.facebook.com/SupermommamXD/posts/pfbid02GnktFFCN1grAma9sPbrD5QLEPSTRXAUE87UtcNgUWQpYjHyogNGkf6hWpLfC3Fyol

Psychological Safety หรือ ความปลอดภัยทางจิตใจ คือ สภาพแวดล้อมที่บุคคลรู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงความคิดเห็น แสดงออก หรือยอมรับความเสี่ยง โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสิน สร้างได้ด้วยความเข้าใจระหว่างกัน นำไปสู่การทำสิ่งใหม่ ๆ ของคนในองค์กร ทำให้มีผลงานที่มีประสิทธิภาพกลับมาสู่องค์กร

Psychological Safety ต้องมี:

  • Empathy เข้าใจและเห็นอกเห็นใจในมุมมองและความรู้สึกของคนอื่น ทำให้ไม่กลัวความผิดพลาด
  • Trust ความไว้วางใจ ทำให้กล้าแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง และร่วมมือกันแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Inclusion การไม่แบ่งแยก ยอมรับและมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม รับฟังอย่างเท่าเทียม

(ขอเสริมอีก 2 ข้อจากสิ่งที่เคยพบ)

  • ยอมรับความผิดพลาด ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ และให้อภัย
  • ให้การชื่นชมและให้กำลังใจ

Psychological Safety ทำให้เกิด:

  • Teamwork: พนักงานจะสามารถแบ่งปันความคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ นำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น
  • Innovation: พนักงานมีแนวโน้มที่จะสร้างสรรค์และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
  • Effectiveness: พนักงานมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในงานมากขึ้น ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ และมีผลงานที่ดีขึ้น
  • Reduce conflict: สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางจิตใจช่วยลดความเครียดและความขัดแย้งในที่ทำงาน

แล้ว action ขององค์กร ต้องทำยังไงบ้าง

วิธีการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในองค์กรเปลี่ยนความเชื่อแบบเดิม ๆ
ต้องเปลี่ยนวิธีการ react แบบเดิม ๆ ต่อปัญหา และข้อผิดพลาด

บทบาทของคนที่จะสร้างพื้นที่ปลอดภัยในองค์กร

  • Leader (ตระหนัก / ผลักดัน / เห็นคุณค่า)
  • HR (ปกปักรักษา / สร้างกติกา / เยียวยา)
  • Management (เข้าใจ / ลงมือทำสม่ำเสมอ / เคารพกติกา)
  • Professional Employees (ฝึกฝน / ร่วมมือ / เห็นคุณค่า)

ในพื้นที่ปลอดภัย ไม่ใช่พูดหรือท่าอะไรก็ได้ตามใจ แต่คือการกล้าทำ และแสดงออกเต็มที่ โดยใส่ใจความปลอดภัยทางใจ ของทุกคนเป็นสำคัญ

Psychological Safety เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จของทีมและองค์กร หากต้องการสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความสุขในการทำงาน การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยทางจิตใจเป็นสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญ

ถ้าข้างบนยากไป แวะมาตรงนี้ เข้าสู่เนื้อหาเสริม

จากที่อ่านๆมาทั้งหมดคิดว่าเรื่องนึงที่เป็น key success ที่เข้าใจง่ายมากๆคือ reality , relationship

https://youtu.be/UH7IlbUlzw8?si=fcsbOk172_ERImcz&t=1480

reality

ยอมรับข้อเท็จจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น สื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ตัวอย่าง
เคยมีเพื่อนในทีมบอกว่าผู้เขียนทำงานไม่เรียบร้อย ซึ่งมันเป็นความจริง ในจังหวะแรกก็รู้สึกไม่ดี แต่ผู้เขียนเองก็ยอมรับ เพราะถ้าลองนึกดูดีๆ คนพูดย่อมรำบากใจที่จะกล่าวออกมาตรงๆ และยังรู้สึกขอบคุณมาจนถึงปัจจุบันที่ feedback กันแบบตรงไปตรงมา

ลองนึกในทางกลับกัน สถานการณ์สมมติ
B มี feedback ว่า A มาทำงานสาย ถ้าไม่มีความ reality ฝ่ายที่ถูก feedback ไม่ยอมรับความจริง ก็จะหาข้ออ้างให้กับตัวเอง อาจจะมีโต้ตอบด้วยคำพูด หรือสะสมความไม่พอใจเอาไว้ การปรับปรุงจะเกิดหรือไม่ ไม่อาจทราบได้ B เมื่อเห็นว่า A โต้ตอบแบบ negative ย่อมรู้สึกไม่ดี ไม่กล้าที่จะ feedback อีกในอนาคต เกิดเป็นการซุบซิบนินทา ปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมายในการทำงานร่วมกัน

relationship

การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เกิดจากปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น Empathy เข้าใจมุมมองคนอื่น , Trust ไว้วางใจ , Respect เคารพ, Fairness ยุติธรรม, Inclusion ยอมรับความแตกต่าง เป็นต้น

relationship เป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ และมักจะทำได้ดีภายในแต่ละทีมอยู่แล้ว

โห แทนที่จะวิ่งหนี นายกำลังมาใกล้ฉันใช่มั้ย? / ถ้าฉันไม่เข้าใกล้นาย ฉันก็คงไม่ชนะ

แต่ปัญหาเหล่านี้อาจจะไม่ได้เกิดแต่ภายทีม การสื่อสารระหว่างทีม หรือกับคนที่เราไม่ได้รู้จักสนิทใกล้ชิด ด้วยสถานการณ์ที่เราต้องใช้ความ reality จึงมีสิทธิที่จะกระทบทระทั่งกันสูง ถ้าเราไม่สามารถแยกแยะและมีสติที่มากพอ เราย่อมเสีย relationship

ผู้เขียนเองก็เคยเป็นในอดีต เวลาเจอปัญหาที่คนอื่นสร้างมักจะมีอคติแง่ลบ แม้จะทำให้เราลำบากบ้าง แต่ด้วยการเรียนรู้ทำให้นึกได้ว่าใครๆก็พลาดได้ เราก็เคยพลาดสร้างปัญหา วันนึงอาจจะเป็นเราที่พลาดอีก ฉะนั้นเวลามีปัญหาเข้ามาก็ช่วยเหลือให้เต็มที่ ไว้รอบหน้าผู้เขียนสร้างปัญหาก็ช่วยผมด้วยค้าบบบ

เรามารงณรงค์ ให้อภัย แล้วเริ่มกันใหม่ ด้วยการเสริมหลักการ Psychological Safety ให้องกรณ์และสร้าง relationship ที่สามารถ reality ได้ระหว่างกันเถอะครับ

สุดท้าย อะไรที่ผมทำผิดพลาด สร้างความลำบากใจให้ใครไปนะครับ ก็สมควรแล้ว … หยอกกกกกกก

--

--

Throwgether
TakoDigital

เมื่อเด็กเกาะเบาะต้องลงมือ Dev เอง