วิธีสูงแบบสูงสั่งได้ ตอน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูง

Praphat Srisuma
Tallsters
Published in
2 min readFeb 25, 2019

ตอนนี้พวกคุณคงรู้จากบทความตอนที่ 1 กันแล้วว่าการที่คุณสูงมันดีต่อชีวิตคุณยังไง

ทำให้ชีวิตคุณได้รับโอกาสมากกว่าคนอื่นยังไง

เรามารู้วิธีการที่ทำให้เราสูงไปด้วยกันนะคะ

เราจะเริ่มกันที่สาเหตุหลักที่ทำให้ลูกของคุณหยุดสูงค่ะ

สาเหตุหลักที่ทำให้ร่างกายหยุดสูง

“Human Growth Hormone หลั่งออกมาน้อย”

กระบวนการการเจริญเติบโตตั้งแต่แรกเกิดจนอายุเยอะ Human Growth Hormone (HGH) จะหลั่งจากต่อมใต้สมองคือ ต่อมพิทูอิทารี ดังนั้นหากต่อมพิทูอิทารี่ของเราทำงานน้อยลง ก็จะส่งผลทำให้ต่อมใต้สมองของเราไม่สามารถผลิตโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ที่ช่วยเพิ่มความสูงในวัยเจริญเติบโต อีกทั้งการพักผ่อน ที่ไม่เพียงพอและถูกเวลา ส่งผลกับการหลั่ง โกรทฮอร์โมน (growth hormone )ของร่างกาย ซึ่งทำให้ร่างกายมีการเจริญเติบโต ทั้งระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและระบบโครงสร้าง นั่นคือ กระดูกนั่นเอง

“ไม่ได้ดูแล และพัฒนาโครงสร้างร่างกายตั้งแต่ต้น”

ปัจจุบันพบว่าหลายคนตั้งแต่วัยเด็กมีปัญหาเกี่ยวข้องกับแนวกระดูกสันหลัง อาทิเช่น กระดูกสันหลังคด (Scoliosis) โดยการแพทย์ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตูที่แน่นอนได้ แต่เราก็ตรวจพบว่ากระดูกสันหลังคดมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และการโภชนาการที่ต้องถูกสัดส่วนและถูกเวลา การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นเรื่องสำคัญมากโดยเฉพาะน้องๆที่อยู่ในกลุ่มวัยรุ่น และกลัวอ้วนทำให้ใช้วิธีอดอาหาร หรือมีความเชื่อผิดๆเรื่องการรับประทานอาหารพวก เนื้อ นม ไข่จะทำให้อ้วน ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ Body Dehydrate สะสมเพราะความเชื่อผิดๆ ที่ปลูกฝังกันมาว่าดื่มน้ำมากจะทำให้เป็นภาระเข้าห้องน้ำบ่อย ส่งผลทำให้ระบบเลือดและการสร้างแคลเซียมกระดูกไม่สมบูรณ์ได้

“ไม่รู้เทคนิกการออกกำลังกายที่เหมาะสม”

ไม่รู้เทคนิกการออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความสูง ทำให้แกนกระดูกในส่วนต่างๆหมดโอกาสยืดตัว เราจำเป็นต้องรู้และเข้าใจกระบวนการพัฒนาของร่างกาย จะต้องมีการใช้หรือฝึกฝนในระบบนั้นๆ คนส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจเรื่องการออกกำลังกายเพื่อกล้ามเนื้อ และหวังผลจะได้เรื่องพัฒนาการความสูง การออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อเราอาศัยการออกกำลังกายแบบ อาศัยน้ำหนักเพิ่มด้วยอุปกรณ์ หรือที่เรียกว่า Weight trainnig ซึ่งจะทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อเกิดการยืดตัวเกิดการฉีกขาดเสียก่อน จากนั้นเราจะเห็นว่าคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อจะทานอาหารประเภทโปรตีนในปริมาณที่มาก เนื่องมาจากการทานอาหารที่มีโปรตีนสูงหลังจากการออกกำลังกาย จะทำให้โปรตีนไปซ่อมแซมบริเวณที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อไป ทำให้กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น จากการค้นคว้าและสังเกตจะเห็นได้ว่าสังคมส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับเด็กด้านพัฒนาการทางร่างกายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 5 ปี แต่พอเริ่มเข้าโรงเรียน เราก็จะมุ่งเน้นด้านสมองและการเรียน ความสนใจส่งเสริมด้านพัฒนาการทางร่างกายจะน้อยลง โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นคือ ช่วงอายุ 11–19 ปี ก็เป็นช่วงที่มีแต่การแข่งขันทางด้านการศึกษามากที่สุด จะสังเกตได้ว่าพอน้องๆเริ่มเข้า ประถมปีที่หนึ่ง ก็จะถูกสังคมตั้งกฏเกณฑ์ว่าต้องเรียนให้ได้คะแนนที่ดีเพื่อเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ทำให้เห็นว่าบางทีการจัดวางแผนการจัดตารางเวลาชีวิตที่สอดคล้อง เพราะช่วงที่เรากำลังต้องสูง กำลังต้องอาศัยการพัฒนาการทางร่างกาย ก็ควรทำทั้งสองอย่างให้ควบคู่กันไปได้ ซึ่งจะส่งผลดีกับทั้งสมองและร่างกาย

วิธีการเพิ่มความสูงด้วยตัวเองมีหัวใจหลักดังนี้

1. เริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายความสูง

การตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนว่า อยากให้ใครสูง สูงแค่ไหน สูงกว่าใคร สูงเพื่ออะไร เช่น คุณพ่ออยากให้ลูกชายสูงกว่าคุณพ่อ สูงกว่าสัก5–10ซ.ม. เพราะดูดี ดูฉลาด ดูสง่างาม เพื่อสร้างบุคลิกภาพของการเป็นผู้นำที่ดี ให้กับครอบครัว ( ตามในสายตา หรือ ความคิดของเรานะคะ ไม่มีผิด หรือ ถูก ) เป็นต้น อาจจะเป็นเหตุเป็นผล หรือ ไม่มีเหตุผลก็ได้ค่ะ

2. มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับส่วนสูงและบุคคลิกภาพที่โดดเด่น

หมายถึงต้องรู้สึกว่าเรายังเด็กอยู่เสมอ มีจิตใจที่ร่าเริง อารมณ์ดี ชอบคนที่สูงๆ อยากมีทัศนวิสัยจากมุมบน ชอบและอยากให้คนสังเกตเห็นง่าย ชอบได้รับความชื่นชมจากคนรอบข้าง

3. จัดตารางเวลาชีวิตที่เหมาะสม

คนเราถ้าอยากได้อะไรก็ต้องไปไขว่คว้ามา ความจริงแล้วมันเริ่มตั้งแต่คลอดแล้ว เพราะถ้าเราไม่พร้อมที่จะเกิด คุณแม่คงคลอดเราออกมาไม่ได้แน่ จะเห็นได้ว่าบางคนก็คลอดก่อนกำหนด เพราะตื่นเต้นอยากลืมตาดูโลกแล้ว ดังนั้นเราเป็นผู้เลือกเสมอ แม้กระทั่งส่วนสูงที่เราต้องการเราก็สามารถกำหนดเองได้ตามความพอใจของเรา อีกทั้งจากการศึกษาในมหาวิทยาลัยชิคาโก้ เราพบว่า สุขภาพโครงสร้างร่างกายที่แข็งแรงจะส่งผลด้านการทำงานของสมองได้ดีขึ้น

4. เรียนรู้เทคนิกการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความสูง

การเล่นกีฬาบาสเก็ตบอล วอลเล่ต์บอล เหตุที่ทำไมนักกีฬาส่วนใหญ่ถึงมีรูปร่างสูงใหญ่ เพราะการ กระโดด เป็นการใช้พลังของกล้ามเนื้อและกระดูกข้อต่อ เมื่อกระดูกข้อต่อเกิดแรงสั่นสะเทือน(vibration)นั่นคือการใช้งานข้อต่อ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น การใช้งานส่วนใดของร่างกายจะทำให้ส่วนนั้นมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าคนทั่วๆไปที่ไม่มีการฝึกฝน

4.1. การโหนบาร์

มีผลต่อข้อกระดูกข้อต่อหัวไหล่ และ แขน อีกทั้งการเหวี่ยงตัวทำให้เกิดการยืดของลำตัวให้ยาวขึ้นได้ดี

4.2. การว่ายน้ำทะเล

เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับการเพิ่มความสูงได้ดี เพราะแรงต้านของคลื่นลมในทะเลส่งผลต่อกล้ามเนื้อและข้อกระดูกให้แข็งแรง

4.3. การวิ่งขึ้น-ลงเนินหรือภูเขา

เป็นการออกกำลังกายอีกวิธีที่สามารถทำให้ข้อต่อสะโพก ขา แข้ง ยาวได้ดี

4.4. การออกกำลังกายยืดข้อต่อ กล้ามเนื้อ กระดูกสันหลัง

เช่น การใช้เครื่องพิลาทิส (บางท่า) การฝึกโยคะ(บางท่า) การทำ stretching exercise

4.5. การปีนป่ายต้นไม้ ผนังภูเขาเทียม

การปีนป่ายต้นไม้เป็นกีฬาที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการเพิ่มความสูงได้ดี

4.6. การออกกำลังกายด้วย รีบาวดิ้ง เอ็กเซอร์ไซส์

เป็นการออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นโกรทฮอร์โมนได้ดี สามารถปรับใช้แบบ Low Impact หรือ Hi Impact ได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งกระตุ้นระบบต่อมน้ำเหลืองเพื่อในการขับถ่ายของเสียให้ออกจากร่างกายได้อย่างดี ส่งผลให้การเจริญเติบโตเกิดขึ้นต่อเนื่อง ควรการออกกำลังกายอย่างน้อย 30–40 นาที ใน1วัน ด้วยการกระโดด เพื่อช่วยในการกระตุ้นข้อกระดูกภายในร่างกายให้เกิดแรงสั่นสะเทือน(vibration) เมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือนที่ข้อต่อของกระดูก แรงสั่นสะเทือนจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของกระดูก

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.wellbeingjournal.com/rebounding-good-for-the-lymph-system/

5. การพักผ่อน

ใช่ว่าอยากจะพักผ่อนนอนหลับเวลาใดก็ได้ ที่จะได้ผลกับร่างกาย เราควรพักผ่อนให้เพียงพอ 8–12 ชม เพราะเราต้องการสารโกรทฮอร์โมน ในการซ่อมแซมร่างกาย และ ในปริมาณที่มากพอเพื่อเพิ่มความสูง สารโกรทฮอร์โมนจะถูกหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมอง หรือเรียกว่า ต่อมพิทูอิท่รี่ ช่วงเวลาของสารนี้คือระหว่างเวลา 21.00–03.00 น.แต่การหลั่งสารนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 1ชั่วโมงหลังจากที่เรานอนหลับสนิทจริงๆ (ห้องต้องปิดไฟ มืดสนิทเท่านั้น)การพักผ่อนในช่วงระยะเวลานี้จึงเหมาะแก่การพัฒนาการเจริญเติบโตของระบบต่างๆในร่างกายรวมไปถึงระบบกระดูกอีกด้วย

โภชนาการอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ5หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มี วิตามิน ซี และแคลเซียมสูงและรวมถึง วิตามิน ดี ที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมด้วย เช่น อาหารจำพวกปลา ปลาแซลม่อน ปลาซาดีน ปลาทูน่า ปลาซาบะ และปลาทะเลน้ำลึกทุกชนิดอาหารจำพวกผัก ผักบุ้ง บล๊อคโคลี่ คะน้า หรือผักในตระกูลสีเขียวเข้ม ผลไม้ ฝรั่ง ชมพู่ มะละกอ เป็นต้น การดื่มนมวันละ4แก้ว ซึ่งนมเป็นแหล่งสะสมของวิตามิน ดี และแคลเซียมมีส่วนช่วยในเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน -อาหารประเภท โปรตีน เนื้อสัตว์ ไข่แดง

เขียนโดย

หมอหญิง Tallster

สนใจปรึกษาเรื่องความสูง
สถาบันพัฒนาความสูงทอลสเตอรส์
โทรเลย 02–381–4336 , 084–264–1556

Facebook Page: Tall.co.th
Line@:@tallsters

หรือกดลิงค์นี้

--

--