Photo by StartupStockPhotos on pixabay

วิธีจัดการกับความคลั่งไคล้ใน Productivity

Thanapong Bunchamoy
tanthanapong
Published in
1 min readNov 10, 2018

--

หลังจากที่เราได้รู้กันแล้วว่า ความพยายามที่จะทำให้เกิด Productivity มากจนเกินไปจะส่งผลกับเรายังไงบ้าง ดังบทความก่อนหน้านี้

วันนี้เราจะมาดูวิธีการจัดการกับมันกันบ้างดีกว่า

  1. เรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงการพูดด้านลบกับตัวเอง ในสถาการณ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น กลุ่มเพื่อนชวนคุณไปงานปาร์ตี้ในคืนนี้ และคุณต้องตัดสินใจว่าจะไปหรือไม่ แต่แล้วในขณะนั้นเสียงในหัวคุณก็บอกว่า “เรามีงานที่ต้องทำให้เสร็จ อย่าออกไปนะ” หรือในอีกหนึ่งเหตุการณ์ ที่เรามักพูดใส่ตัวเองบ่อยๆว่า “เพราะเรายังใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ได้ไม่มากพอ ถึงทำให้เราไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งสักที” อยากให้ทุกคนที่เคยมีประสบการณ์กับการพูดด้านลบกับตัวเองแบบนี้ จงหยุด และให้คิดเสียว่า ทุกครั้งท่ีเราพูดแบบนี้กับตัวเอง มันเหมือนกับเรากำลังพูดเรื่องนี้กับเพื่อนของเรา แน่นอนว่าเราไม่อยากพูดจาทำร้ายจิตใจเพื่อนของเราใช่ใหมครับ
  2. รู้จักที่จะพูดปฎิเสธ จงหยุดการยัดเยียด Task งานเข้ามาใน To-do-list ของเราครับ ถ้างานนั้นมันไม่ได้ส่งผลดีในวิชาชีพ หรือส่งผลดีต่อการเติบโตของวุฒิิภาวะของเรา หรือเรารู้อยู่เต็มอกแล้วว่าไม่มีเวลาทำงานนี้แน่ๆ
  3. หยุดพูดถึงแผนการใหญ่ๆ แต่ให้ลงมือทำ ถึงแม้การพูดออกมาในบางครั้งจะทำให้เราสามารถจัดระบบความคิดของเราได้บ้าง แต่ถึงอย่างนั้นการพูดถึงแผนการใหญ่ๆ ไม่ว่าจะพูดกันในวงสนทนาระหว่างทาอาหารหรือพิมพ์ออกไปใน Twitter ก็ตาม ไม่เป็นผลดีเท่าไรนัก เพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณบ่นกับตัวเอง และท้ายที่สุดก็จะพูดด้านลบใส่ตัวเอง การมี Productivity ที่ดีไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ เพราะฉะนั้นไม่ต้องบอกใครก็ได้ครับ แต่ให้ลงมือทำให้พวกเขาเห็นแทน
  4. ยอมรับเวลาสำหรับพักผ่อนหรือเวลาสำหรับชาร์จพลังงาน ถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกว่าการหยุดพักหรือทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่เรื่องที่คุณวางแผนไว้ใน To-do-list เป็นเรื่องเสียเวลา ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องเสียเวลาจริงนั่นแหละ แต่อยากให้คุณทดลองสังเกตตัวเองดูครับ ทุกครั้งที่ไอเดียดีๆปรากฎออกมา มันมักเป็นช่วงเวลาที่คุณผ่อนคลาย รู้สึกสบายๆใช่ใหมครับ ถ้างั้นลองให้เวลากับมัน อาจจะไม่ต้องถึงกับลาพักร้อนแล้วตัดขาดโลกภายนอก เพียงแค่วางเครื่องมือสื่อสารหยุดจ้องมองการตอบกลับอีเมล์ แล้วปล่อยให้ตัวเองได้มองวิว หรือปล่อยใจให้คิดอะไรไปเรื่อยเปื่อย เพื่อเป็นการพักระหว่างที่ทำงานอย่างเคร่งเครียด เพียงแค่ 10–15 นาทีก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ
  5. เปิดใจรับคำว่า “แค่ตรงเวลา” ในบางครั้งการทำงานเพื่อที่จะสร้าง Productivity มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในความคิดของเรา ก็มักนำมาซึ่งการทำงานหลายงานในคราวเดียวกัน (Multi tasking) ซึ่งการทำเช่นนี้มักทำให้เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเก็บข้อมูลในมุมกว้างมากๆ และลงรายละเอียดแบบลึกมากๆ โดยไม่จำเป็น เราควรเริ่มต้นที่จะทำทีละงาน แบบค่อยเป็นค่อยไป แบบละเอียดรอบครอบ เราลองมาดูตัวอย่างนะครับ ถ้าคุณทำงานเป็นพนักงานขาย software แน่นอนว่าสิ่งที่คุณต้องทำตอนนี้คือพยายามจดจ่อกับวิธีการในการขาย เพื่อที่ลูกค้าจะได้ยอมจ่ายเงินถูกใหมครับ แต่หากคุณทำหลายงานในเวลาเดียวกัน มันจะกลายเป็นว่าคุณต้องไปนั่งเรียนรู้ระบบ และวิธีการที่ code ส่วนต่างๆส่งผลต่อการทำงานของ software นั่นซึ่งถามว่ามันจำเป็นหรือไม่ ก็จำเป็นครับ แต่มันอาจจจะยังไม่ใช่ตอนนี้ หากแม้ว่าคุณต้องการรู้เรื่องเหล่านั้นเพื่อสร้างความมั่นใจก็ขอให้คัดกรองหัวข้อเรื่องที่ต้องรู้และสำคัญจริงๆออกมา ไม่ต้องทำมันทั้งหมด เพราะมันจะไม่ทันเวลาครับ

Source : https://psychcentral.com/blog/6-signs-youre-a-productivity-addict/

--

--

Thanapong Bunchamoy
tanthanapong

โปรแกรมเมอร์, เกมส์เมอร์, Youtuber, Skin Care Lover, มีหลานน่ารัก, เลี้ยงกระต่าย, ฟิตเนส, ชอบถ่ายภาพ