จาก Ideas สู่การพัฒนา TD Platform ของจริง — ที่มาที่ไป ภารกิจ และนวัตกรรมของ TD Platform มีอะไรบ้าง ไปดูกันครับ

TD Tech
TD Tech
Published in
4 min readNov 21, 2023

บทความนี้พี่รุจ อัครพณิชสกุล Chief Technology Officer, TD Tech จะพาทุกคนไปดูว่า ภารกิจ (Mission) ในการทำ TD Platform คืออะไร? โจทย์ตั้งต้นและไอเดียในการพัฒนา TD Platform ที่มาที่ไปเป็นยังไง? Innovation ของระบบที่สร้างขึ้นช่วยยกระดับธุรกิจโชห่วยมีอะไรใหม่ๆเจ๋งๆบ้าง!

Mission of TD Platform

พี่รุจ: Mission ของเราคือเราต้องการทำ ‘Retail Platform’ ครับ ซึ่งเป็นคำว่า Platform แต่ละคนอาจจะคิดไม่เหมือนกัน พี่อยากให้คิดแบบนี้ดีกว่าว่า ในตลาดที่เราเห็น Retail Platform ใหญ่ๆในโลกมันมีอะไรบ้าง ก็อย่างเช่น Amazon, Alibaba แต่อย่างที่เค้าทำคือเค้าทำ Online-to-offline เนอะ

แต่ Vision ของคุณเสถียรคือเค้าอยากสร้าง Platform ที่แตกต่าง เราจะเริ่มจาก Offline-to-online กลับกันนั่นเอง และของที่เราจะสร้างมันคือ Platform ของคนไทยที่สร้างโดยคนไทย เพื่อคนไทย Model มันก็จะต่างกันไปเพราะของเราทำเพื่อชุมชน บริหารโดยชุมชน และก็ Owned by ชุมชน ทีนี้ตัว Platform จริงๆก็คือเราต้องการ 3 Party

  1. เราต้องการทำให้ Partner (ร้านโชห่วย) มีชีวิตที่ดีขึ้น ดีขึ้นจากอะไร? เราจะช่วยยอดขายของพวกเค้าให้มากขึ้น จาก SKU ที่เพิ่มขึ้น (ร้านโชห่วยปกติ SKU 500–600 เท่านั้น แต่ถ้าเป็น TD ก็จะมีเพิ่มขึ้นถึง 2,000 SKU) นอกจากนั้นเราก็เอา Technology ไปจับเพิ่มอีก เช่น มี Feature ‘Pre-order’ สินค้าต่างๆเป็นแบบ Virtual ได้อีก ส่วนเรื่องเงินลงทุน TD ก็จะเป็นคนลงทุนร้านค้าให้ด้วย หรือมันก็มีเรื่องของเจ้าของร้านไม่ต้องปิดร้านไปซื้อของ เราเอาของไปส่งให้ตลอด

หรือในมุมโชห่วยแบบเก่าๆคือ เราช่วยสร้าง Technology สร้างระบบไปให้เค้าใช้เลย เรามี POS ที่ทันสมัยที่ช่วยเค้าขายสินค้าได้ดีขึ้น ง่ายขึ้น เรามี Handheld เพื่อใช้รับสินค้า รวมไปถึงระบบของเรามีการประมวล Data เพื่อทำ Recommend สินค้า จำนวนต่างๆ Technology ของเราทำให้โชห่วยเก่งขึ้น

2. เราต้องการทำให้ End customer หรือลูกค้าที่มาซื้อของร้านเรามีชีวิตที่ดีขึ้น เราต้องการให้รอบๆร้าน TD เป็น Community ในชุมชนที่มีคุณภาพ แน่นอนอย่างแรกคือ Product ดีขึ้น เพราะเรามีการเชคว่า Product หมดอายุไหม ถ้าหมดเราก็ทำลายเลย เราไม่ขาย ต่อไปก็คือเราไม่ได้มีร้านเฉพาะเมืองใหญ่ๆเท่านั้น ร้านเรากระจายอยู่ในทุกๆย่อมของชุมชน ดังนั้นเราก็ช่วยส่งเสริมชุมชนเล็กๆให้เค้าได้มีสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น เค้าไม่ต้องเข้าเมืองมาซื้อของ

3. Supplier พอเราเอาของไปขายแล้ว เราก็ไปเจอว่าภาคอีสานคนกินข้าวเหนียวเนอะ แล้วเค้าก็กินข้าวเหนียวท้องถิ่น เราก็จะมีสินค้าที่เป็น Localize สำหรับแต่ละภูมิภาค แล้วสินค้าที่อยู่ในร้านเราก็ต้องมีมาตราฐาน แต่ละร้านก็ต้องผ่าน อย. Supplier ก็ต้องมีคุณภาพ สำหรับเรื่องราคา อันนี้ก็เป็นจุดเด่นของเราเหมือนกันเพราะถ้าเราขยาย Network ของเราไปมากขึ้นเท่าไร เราก็สามารถมีราคาที่ถูกดีสมที่เราตั้งชื่อได้

History of TD Platform

พี่รุจ: ประวัติที่มาที่ไปของเราจริงๆก็คือมาจากโจทย์ตั้งแต่ผมสัมภาษณ์งานเลย 55+ ก็คือ

  1. Platform ต้อง support 100,000 ร้านค้า
  2. ต้องเป็น Retail platform
  3. High availability
  4. Modularity ทำเป็นชิ้นๆแต่ละ Module
  5. มันต้องมี Security ที่ดีสำหรับ Retail
  6. Operational Cost

พอรับโจทย์กันมาเสร็จเราก็มา Brainstorm เพื่อระดม Ideas เอามาวางกรอบ มาวาง Governance มาวางเป็น Architecture พอเราลองว่างๆเราก็เห็นแล้วว่ามันต้องเป็น

  • Micro-service Architecture
  • CQRS (Command query responsibility segregation) อาจจะไม่ขนาดว่าทุกๆ Micro-service ต้องเป็น CQRS ก็ได้ ซึ่ง Pattern นี้มักจะใช้ใน Platform ขนาดใหญ่
  • Event-source Architecture
  • Service Mesh
  • Data Mesh

ตอนที่เราไป ​Implement เราก็ไปเลือกตั้งแต่ Cloud ก่อน เราก็อยากได้ Cloud-native ซึ่งตอนเราเริ่มเราอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านพอดีเลย เห็นว่ามันกำลังมา แล้วมันน่าจะเป็นอนาคตที่ดีของ Platform เรา ซึ่งอย่างที่บอกพอเราคิดๆเรื่อง Non-functional ไว้อย่างพวก Hight Availability, Security, Sevice discovery ได้ยังไงดี ทำให้เราเลือก GKE (Google Kubernetes Engine) นั่นก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราเลือก Google Cloud ครับ

Innovation of TD Platform in 2023

เราเดินทางกันมา 4 ปีแล้ว เราคิดว่าเราจะทำให้ Platform ของเรามันฉลาด เราพยายามทำให้มัน Automated โดยเราพยามยามจะไปให้ถึง Phase ที่เรียกว่า ‘Co-pilot’ ก็คือเราทำ Model หรือ Machine Learning หรือ Technique ต่างๆของ Data Scienctist ซึ่ง Model ตรงนี้มันควรจะต้องชนะ Human พอมันเริ่มชนะ 10–20% แล้วเราก็จะให้ Implement ให้ใช้คู่กันกับคนใน Business unit อันนี้แระเรียกว่า Co-pilot แล้วถ้าหลังจากที่เราทำ Co-pilot ได้ดีในระดับหนึ่ง เราอาจจะสามารถก้าวไปอีก Phase ถัดไปที่เรียกว่า Auto-pilot ที่ไม่ต้องใช้คนก็ได้

สำหรับ Product ที่เรานำเสนอปีนี้ยกตัวอย่างเช่น Potential Store Forecasting เราทำเป็น Tools ที่ให้ User ใส่ lat long เลยว่าถ้าเปิดร้านตรงนี้ เราคาดการณ์ว่าเราจะมียอดขายจากร้านตรงนี้ได้เท่าไร ซึ่งแน่นอนว่า Tools ตัวนี้ไม่ได้มาตัดสินใจอย่างเดียว เราดูหลายๆเหตุผลอย่างเช่น เจ้าของร้านโชห่วย (Partner) เรามีความตั้งใจมากน้อยขนาดไหนด้วย เพราะเราเชื่อว่าความตั้งใจมันชนะทุกสิ่ง

พอเปิดร้าน TD ส่วนที่สำคัญต่อมาก็คือเราทำ Demand Forecasting ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งตัวที่สำคัญสำหรับ Retail เพราะถ้าของมันขาด หมายถึงว่าลูกค้ามาร้านเราแล้วไม่สามารถซื้อได้ เค้าอาจจะไม่กลับมาอีกก็ได้

แล้วก็เรามีทำ Machine Learning ตัวหนึ่งไป Deploy ที่กล้องภายในร้านค้าว่า เห้ย ช่วงเวลานี้ มันอาจจะมีโอกาศที่จะเกิด Fraud นะ เราก็ทำ Report ไปบอกเจ้าของร้านเพื่อให้เค้าจัดการพนักงานภายในร้าน

จะเห็นว่าจริงๆเราก็พัฒนามาเรื่อยๆตลอด 4 ปี และเราก็ยังมีความมุ่งมั่นเหมือนเดิมที่เราต้องการเป็น World-class Retail Platform ที่ Owned by คนไทย Developed by คนไทย และเพื่อคนไทย

--

--