Agile สำหรับทีม Non-Tech

Anong L
tdg-sm
Published in
1 min readOct 16, 2019

ถึงแม้ว่า Agile ได้เริ่มมีการจัดตั้ง และถูกใช้งานใน ปี ค.ศ.2001 สำหรับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่แนวคิดAgile ก็มีการนำไปถูกปรับใช้ในด้านอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีได้เช่นกัน ซึ่งผลที่ได้ก็คือ งานที่ทำออกมามีผลลัพธ์ดีขึ้น, ลูกค้ามีความพึงพอใจกับงานมากขึ้น และทีมทำงานร่วมมือกันดีขึ้น

การนำไปใช้ เริ่มได้จากการปรับแนวคิด และปรับกระบวนการทำงาน ดังนี้

ปรับแนวคิด
เราสามารถปรับแนวคิดจากการใช้งานกับซอฟต์แวร์ มาใช้กับ non-tech ในแง่มุมต่างๆเช่น

  • เน้นลงมือทำ ไม่ได้เน้นการทำงานเอกสารโดยละเอียด แต่จะเน้นการเริ่มลงมือทำมากกว่าเพื่อให้ได้รู้ผลลัพธ์เร็วขึ้น
  • ปรับแนวคิดในการทำงานให้ทุกคนสามารถรับผิดชอบงานของตัวเองได้เอง การที่จะให้ทีมมีความรับผิดชอบในการทำงานต่างๆได้ด้วยตัวเองมากขึ้นนั้นจำเป็นที่จะต้องค่อยๆปรับทัศนคติ
  • เน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม สิ่งนี้คือจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆให้มีการพูดคุยกันเยอะขึ้นระหว่างทีม
  • เปิดรับการเปลี่ยนแปลง การทำงานแบบมีความยืดหยุ่นเปิดรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะมีเข้ามา

ปรับกระบวนการทำงาน
กระบวนการทำงานก็เป็นสิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ได้เช่นกัน ตามประเด็นดังนี้

  • การแจกแจงงานที่ต้องทำ เพราะงานบางอย่างมีความซับซ้อน หรือเป็นงานที่ต้องใช้ขั้นตอนเยอะ การแจงแจงงานที่จะต้องทำออกมาก็จะช่วยให้เราพอจะคาดการณ์งานที่จะต้องทำในอนาคต และเวลาที่ใช้ได้ง่ายขึ้น (backlog)
  • จัดลำดับความสำคัญในเวลาที่เหมาะสม เริ่มทำงานที่สำคัญก่อน และควรมีการตรวจสอบและปรับลำดับตามความสำคัญในแต่ละช่วงเวลาอย่างเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ อาจจะเป็นทุกเดือน หรือทุกๆ 2 อาทิตย์ เพือให้มั่นใจว่าแนวทางการทำงานยังตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานในขณะนั้นอยู่
  • ตั้งเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจนร่วมกัน สิ่งนี้เป็นสิ่งช่วยให้ทุกคนในทีมทำงานเป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน
  • มีความโปร่งใสในการทำงาน การทำงานทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้ มีการแสดงสถานะการทำงานที่ทุกคนสามารถเข้ามาดูได้
  • แบ่งระยะเวลาในการส่งงานเป็นระยะสั้นๆ( sprint ) มีการแบ่งงานและเวลาในการส่งงานเป็นระยะเวลาสั้นๆ อยู่ในช่วงทุกๆ 2–4 อาทิตย์
  • คุยกันทุกวัน ในการทำงานแต่ละวัน จัดเวลาทุกๆเช้า วันละ10–15 นาที (Stand up meeting)เพื่อมีการพูดคุยกันในระยะเวลาสั้นๆถึงงานที่ได้ทำไปแล้ว งานที่กำลังจะทำและปัญหาที่เจอ เพื่อรู้ถึงความเป็นไปของงานไปพร้อมๆกัน สิ่งนี้ก็จะช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนได้ดีเช่นกันเพราะทุกคนในทีมรับรู้ร่วมกันว่าใครทำอะไร
  • ตรวจสอบผลลัพธ์ (sprint review)แสดงผลงานที่ทำให้ทุกคนในทีมและผู้เกี่ยวข้องทุกคนได้เห็น เพื่อให้ได้รู้ถึงผลตอบรับของงาน
  • ปรับปรุงอยู่เสมอ มีการจัดประชุมทีมเพื่อให้ทีมได้มีโอกาสมาคุยกันหลังจบการทำงานในรอบ( sprint )ว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนต้องมีการปรับปรุง เพื่อจะได้หาแนวทางแก้ไขร่วมกัน และสามารถนำไปปรับใช้ในครั้งถัดไป (Retrospective)

Reference :
https://www.techrepublic.com/article/how-to-apply-agile-practices-with-your-non-tech-team-or-business/

https://www.consultancy.eu/news/1644/four-ways-to-adopt-agile-working-in-non-technology-environments

https://opensource.com/article/18/8/agile-helps-non-technical-teams

--

--