Organizing Startup and Innovation Events [Yeah Meetup 3/2018]

Panthipa Suksirisorn
TeamYEAH
Published in
5 min readOct 27, 2018

Meetup จาก YEAH ในรอบนี้ จะช่วยแก้ไขสถานการณ์ที่เราคิดไม่ออกว่า “จะจัดงานอะไรดีในชมรมเรากันดีน้า” โดยมีพี่พอล มาบอกเราว่าเราควรเริ่มจัดงานอะไร เริ่มจากจุดไหน งานอะไรเหมาะกับใครกันบ้าง โดยทางพี่พอลก็ได้แบ่งปันและแยกหมวดหมู่มาให้ตาม Level ของผู้เข้าร่วมงาน

หัวข้อในการจัดงาน (Event Organizing Topics)

ในการจัดงานต่างๆ : “เราต้องคิดก่อนว่าทำเพื่อใคร”

Level 1 — ผู้สนใจ : Set 1 — Introduction Topics

  • Startup Introduction : Startup คืออะไร / Experience Sharing
  • Innovation Introduction : Innovation คืออะไร / ตัวอย่างInnovation / ประสบการณ์จากองค์กร
  • Lean Canvas : การวางแผน Startup / Innovation Project / Lean Canvas Workshop
  • Trend & Technology : Magetrends / Technology ต่างๆ

ผู้สอน : Startup ที่ดังแล้ว, Startup “รุ่นพี่”, วิทยากรจากบริษัทชั้นนำ, อาจารย์ — วิทยากรอาชีพ

Level 2 — คนเริ่มทำ : Set 2 — Design Topics

  • Lean Concept : Lean Startup Cycle / การทำ Minimum Viable Product (MVP)
  • Market Insight : การเลือกลูกค้า / Persona / Customer Journey Map
  • Design Thinking : ออกแบบ Innovation ใหม่ / User Experience (UX) / Design Thinking Workshop

ผู้สอน : วิทยากรสาย Design, สาย สร้าง Startup , วิทยากรจาก Incubator / Accelerator, อาจารย์ — วิทยากรอาชีพ

Level 3 — เฉพาะทาง : Set 3 — In-depth Topics

  • Marketer : Growth Hacking / AARRR Startup Metrics / Business Models — Freeconomics
  • Developer : Blockchain / AI-Machine Learning / เครื่องมือ Coding ต่างๆ
  • Designer : User Interface (UI) Design / การใช้เครื่องมือ(Tools) ต่างๆ

ผู้สอน : ผู้เชี่ยวชาญตามสาย, ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทชั้นนำ, วิทยากรอาชีพ

Level 4 — CEO : Set 4 — CEO skills Topics

  • Investment : พื้นฐานการระดมทุนใน Startup / สถาบันและแหล่งทุนต่างๆ / Term Sheet — การเจรจากับ Investor
  • Pitching : พื้นฐานการ Pitching / Pitching Workshop
  • Growing ; ทักษะการบริหารองค์กร / เครื่องมือต่างๆในการ Run startup

ผู้สอน : Startup ที่ดังแล้ว, วิทยากรจากบริษัทสถาบันลงทุน, อาจารย์ — วิทยากรอาชีพ

การสร้างนวัตกรรม

“Innovation = ใหม่ + คุณค่า”

นวัตกรรมนั้นไม่ใช่แค่การสร้างอะไรใหม่ขึ้นมา ไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่ “นวัตกรรมคือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่สามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้ใช้ได้” นวัตกรรมยุค Digital นั้นสามารถอยู่ในรูปแบบของธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ การบริการ การตลาด และกระบวนการทำงาน

STARTUP คือ……

  • องค์การชั่วคราว (Temporary Organization)
  • สามารถทำซ้ำและเจาะตลาดได้อย่างเติบโด (Repeatable + Scalable)
  • ส่วนมากใช้ Lean Methodology : Build — Measure — Learn

และในการสร้าง Startup เราสามารถนำ Design Thinking มาใช้ในการเริ่มต้นไอเดียของเราให้แปลงร่างออกมาเป็น Prototype ที่สามารถจับต้องได้ หรือ เอาไปทดสอบเพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่เราตั้งไว้ได้

“Startup หรือ Innovation ต้องทำโดยตอบโจทย์ของคน ด้วย Human-Centric Design”

โดย Design Thinking นั้น Norman Door ได้เขียนเอาไว้ในหนังสือ “The Design of everything” ไว้ ในเรื่อง Human-centric Design ให้ออกแบบโดยยึดผู้คนเป็นหลัก โดยการ สังเกต(Observation) > ระดมไอเดีย (Idea Generation) > สร้างต้นแบบ(Prototyping) > ทดสอบ(Testing)

Related image
l

“ BUILD ”

Design Thinking Process

สำหรับการสร้าง Startup แล้ว Design thinking Process จะมี ตั้งแต่ Empathize จนถึง Prototype ที่เป็นช่วง “Build” และ Test จะอยู่ในขั้นของ “Measure” หลัวจากนั้นแล้ว เราก็จะได้เรียนรู้ว่าเราควรปรับปรุง-แก้ไข-พัฒนาอะไรบ้างที่เรียกว่า “Learn” ที่เราต้องเรียนรู้ในการตอบโจทย์ลูกค้า

Empathize : ทำความเข้าใจ

วิธีการ

  • สังเกต [Observation] : Shadowing
  • เข้าหา [Engage] : Interview & Survey
  • คลุกคลี [Immersion]

เราต้อง “จำกัดคำ” ว่า ลูกค้า คือใคร และใครสามารถเป็นลูกค้าได้บ้าง เช่น

  • ผู้ใช้งานทุกคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เหมือนกับของคุณ
  • ผู้ใช้งานทุกคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งคุณ
  • คนทุกคนที่มีความเจ็บปวดจากปัญหา
  • คนทุกคนที่คุณสามารถค้นหาและเข้าถึงได้
  • คนทุกคนที่ให้ความสนใจคุณ
  • คนทุกคนที่มีความสามารถและความต้องการที่จะซื้อ

ลูกค้า (ผู้ซื้อ) = คนที่ให้เงินคุณ
ผู้บริโภค (ผู้ใช้) =คนที่ได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ของคุณ

ตัวอย่าง : การเรียนในโรงเรียน “ผู้ใช้งาน(นักเรียน) + ผู้ซื้อ/ผู้จ่ายเงิน(ผู้ปกครอง)”

“นวัตกรรมที่ดีต้องมีคุณค่าให้ User (ผู้ใช้งาน)”

Define : ตีโจทย์ — หาว่า User มี Insight อย่างไร มี Need ขั้นไหน

  • ปัญหา/อุปสรรค/ความเจ็บปวดคืออะไร (Pain-points)
  • ประโยชน์และคุณค่า(Gains & Benefits)

หาว่า User มี Insight อย่างไร มี Need ขั้นไหนเพื่อหาว่า Customer Jobs ของที่เราต้องทำมีอะไรบ้าง

Ideation : ระดมความคิดวิธีแก้ปัญหา

เป็นการระดมความคิดเพื่อสะสมประมาณไอเดียจำนวนมาก โดยไม่ต้องกลัวว่ามันจะถูกจะผิด หรือเป็นไปไม่ได้ก็ตาม

  • เน้นจำนวนไอเดีย (ไม่ใช่คุณภาพ)
  • อย่าพึ่งไปตัดสินไอเดีย — ห้ามติ!!!
  • พูดทีละเรื่อง
  • สั้นและกระชับ
  • ต่อยอดไอเดียคนอื่น
  • ปลุกความคิดนอกกรอบ
  • ให้เห็นภาพ.

Prototyping : สร้างต้นแบบ

เป็นการสร้างไอเดียแบบง่ายๆ ไม่ควรยุ่งยากซับซ้อนหรือแพง ทำมาเพื่อสร้างเสียงติชม พิสูจน์สมมติฐาน และ พัฒนาไอเดียเพิ่ม

  • MVP = Minimum Viable Product : ต้นแบบที่มีแต่การใช้งานสำคัญๆ แต่สามารถนำไป Test เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงและเรียนรู้จากลูกค้าได้ จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้นงาน หรือ การบริการให้ชั่วขณะหนึ่ง แต่ในครั้งนี้พี่พอลได้ยกตัวอย่างมากดังนี้
  • Explainer Video
  • Landing Page
  • Paper Prototype
  • Single Featured
  • Manual First

Test : ทดสอบ

  • เป็นการพิสูจน์สมมติฐาน และเก็บ Feedback มาพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น ทำได้ในหลายรูปแบบทั้ง Mall Intercept, Usability Lab
A/B Testing
  • A/B Testing : การทำ Prototype 2 แบบ แล้วลองสังเกตผู้ใช้งานว่าเขามีพฤติกรรมแบบไหน สิ่งที่เราสร้างมาอันใหนน่าใช้กว่ากัน หลายคนอาจคิดว่านี่เป็นเรื่องที่เสียเวลาแต่หารู้ไม่ว่า Agoda : มีการทำ A/B Testing กันถึง 5 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว

.

“MEASURE”

ในการวัดผลก็มีหลากหลายรูปแบบให้เราสามารถดูตัวชี้วัดต่างๆเพื่อทำความเข้าใจลูกค้าได้

การใช้งาน / จำนวนผู้ใช้งาน

  • User Conversation Rate : download->registered->active->paid
  • Monthly Active Users (MAU)
  • Daily Active Users (DAU)
  • Total Downloads / Total Visits
  • Bounce Rate
  • Lead to Close Ratio
  • Retention Rate
  • Gross Merchandising Value (GMV)
  • Average Basket Size

รายได้

  • User Targeting Cost : Channel economics / Cohort analysis / Projected Campaign ROI
  • User Acquisition Cost
  • User Lifetime Value

Engagement

  • Number of clicks to accomplish a task
  • Time-spent on a page
  • Page scrolling behavior
  • App/Web usability journey

“LEARN” : Startup Success Factor : TIME

แน่นอนว่ากว่าร้อยละ 90 ของ Startup นั้นพลาดความสำเร็จ อาจจะมีหลายเหตุผลที่ทำให้ไม่ได้ไปต่อกันทั้งทีม ทุน ความท้าทายต่างๆที่ต้องเผชิญ แต่ในที่นี้พี่พอลได้บอกถึง ปัจจัยที่ทำให้ Startup ประสบความสำเร็จ โดยย่อมาอยู่ใน 4 ตัวอักษร ที่แปลว่า เวลา หรือ TIME

T : Team & Traction (ทำงานและแนวทาง)

Team : Hacker + Hustler + Hipster

Hacker, Hustler, Hipster
  • Hacker : Developer ของทีม ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน
  • Hustler : CEO ผู้แสวงหาโอกาสในการแก้ไขปัญหาในทุกสภาวการณ์ที่ต้องเผชิญในธุรกิจและคอยเสนอไอเดียหาผู้ร่วมอุดมการณ์มาลงทุน
  • Hipster : Designer นักออกแบบผู้สร้างสรรค์ความสวยงามน่ามอง ดึงดูดผู้คนให้เข้ามาลองใช้งาน

Traction : สิ่งที่เราเคยทำมาแล้ว เป็น “Unfair Adventage” อย่างหนึ่ง หลายครั้งที่นักลงทุนจะดูว่าที่ผ่านมาเราได้ทำอะไร หรือสมาชิกในทีม เพื่อนร่วมทางของเรามี Background ด้านไหนมา และประเมินว่าพวกเราทุกคนในทีมสามารถพามันไปถึงจุดหมายปลายทางได้หรือไม่ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ไม่มีอะไรการันตีได้เลย

I : Innovation (นวัตกรรม)

· โอกาสในอนาคต : เราไม่ต้องกลัวเวลาเราเจอโปรเจคที่คนทำซ้ำกับเราหรอก เพราะนั่นหมายความว่าเราไม่ได้บ้าและตลาดนั้นมีจริง มี Idea Validation แล้ว เรามาหากันดีกว่าว่าเราจะสร้างอะไรที่แตกต่างหรือต่อยอดอะไรได้อีกบ้าง

M : Market (ตลาด)

· Jobs to be done : สิ่งที่แท้จริงแล้วลูกค้าต้องการ แต่เขาไม่รู้ตัวหรือไม่ได้บอกเราอย่างตรงไปตรงมา อย่างเช่น หากต้องการรูบนแผ่นไม้ ลูกค้าจะบอกว่า เขาอยากได้สว่าน (เพื่อจะได้เอามาเจาะรู) เพราะฉะนั้นเราจึงต้องหา Insight ว่า แท้จริงแล้วเขาต้องการอะไรกันแน่

E : Environment (สภาพแวดล้อม)

· ธุรกิจ : Business Model ของเรานั้นต้องสามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า เป็นธุรกิจที่มีความยั่งยืน และมีส่วนประกอบต่างๆในการดำเนินการเพื่อให้ธุรกิจเติบโต ทั้ง Operation / HR / Branding

· Timing : การประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจนั้นไม่ได้อาศัยโชคลาง แต่อาศัยช่วงจังหวะและเวลาที่เหมาะสม ที่จะเป็นโอกาสที่ดีในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเอาชนะสถานการณ์การแข่งขันในตลาดได้

จัดอะไรได้บ้าง

1. ศูนย์รวมใจ : “Community”

สำหรับช่วงเริ่มต้นที่ยังไม่มีอะไร อย่างน้อยให้คนได้มีที่พักใจ ที่รวมตัวให้เป็นกลุ่มได้ และมี Mentor หลัก — มีรุ่นพี่คอยให้คำปรึกษา แบ่งปันประสบการณ์

  • Co-Working space
  • Entrepreneurship Center
  • Innovation Center
  • Entrepreneur in residence

2. งานจุดประกาย

  • Startup — Innovation Talks
  • Seminar
  • HACKATON
  • Startup Career Day

3. โปรแกรมระยะยาว

  • Accelerator / Incubator Program
  • Investment Program

“Ecosystem”

ภาพจาก TECHSAUCE

“ระบบนิเวศ” สำหรับวงการธุรกิจStartup ใน Ecosystem จะประกอบไปด้วย Speaker + Sponsor + Location ซึ่งจะมีสถานที่ ที่เราสามารถพบปะผู้คน และระดมทุนขอความสนับสนุนได้

--

--

Panthipa Suksirisorn
TeamYEAH

Life Lecture in Psychology & Mental Health Ecosystem