Review :: Startup Boostcamp ค่ายเพื่อเยาวชนที่สนใจธุรกิจ

Thepachai P. [Nep]
TeamYEAH
Published in
4 min readJan 8, 2019

เขียนโดย : Tuey

Startup Boostcamp ค่ายเพื่อเยาวชนที่สนใจธุรกิจ

สวัสดีค่า วันนี้ ตุ้ย โบ แคท ก็มีกิจกรรมเด็ดๆมาเล่าให้เพื่อนๆฟังอีกแล้ว นั่นก็คือ กิจกรรม ค่าย Startup Boostcamp นั่นเอง ซึ่งค่ายนี้เป็นค่ายที่เปิดโอกาสเพื่อนักศึกษาที่สนใจธุรกิจ Startup โดยเฉพาะ! (ปล.ใครที่พลาดกิจกรรมนี้ไปอย่าพึ่งเสียใจนะ ยังมีค่ายอื่นๆรออยู่ในอนาคต ติดตามข่าวสารได้ทางhttps://www.facebook.com/yeahentrepreneurhub นะคะ )

ก่อนที่จะเข้าเรื่องกัน หลายๆคนที่กำลังอ่านอยู่อาจจะสงสัยแบบเราว่า “อะไรคือ Startup แล้ว Startup มันต่างกับธุรกิจธรรมดายังไง หรือ ต่างกับ SMEs ยังไง” ใช่หรือเปล่าเอ่ย คำตอบอยู่ตรงนี้แล้วค่า เราขออธิบายคำจำกัดความที่แบบทางการๆก่อนละกัน

Startup คืออะไร

ธุรกิจ Startup คือ ธุรกิจที่ถูกออกแบบมาให้เติบโตอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่แรก ตั้งแต่ทีมงาน โครงสร้างธุรกิจ ไปจนถึงวิธีการใช้เงิน และการทำตลาด โดยไม่ได้เกี่ยวข้องว่าจะต้องเป็นธุรกิจที่เป็น “ธุรกิจเทคโนโลยี” หรือได้รับการลงทุน หรือ “Venture Capital” หรือมีการ “Exit” ผ่านการควบกิจการหรือการเข้าตลาดหุ้นแต่อย่างใด (ที่มา http://lertad.com/) ซึ่งก็คือเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นมาใหม่แล้วบูมพรวดพราดเลย เช่น Facebook , Apple , Dropbox นั่นเอง

ธุรกิจ Startup ต่างกับ SMEs ยังไง

เอ๊ะ!ฟังๆดูแล้วธุรกิจ Startup ต่างกับ SMEs ยังไงล่ะ? แหม่..ชื่อเรียกมันก็ต่างกันแล้วนี่เนาะ สองธุรกิจนี้จะต่างกันตรงที่ว่า ธุรกิจ Startup เป็นธุรกิจที่ต้องมี Innovation หรือนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาบวกกับสินค้านั้นๆต้องเป็นที่ต้องการของคนทั่วโลก(เช่น สตีฟ จ๊อบ พ่นแอปเปิ้ลออกมา ทำให้โลกนี้ขาด Smartphone ไม่ได้เลยไงล่ะ ฮ่าๆ) ส่วน SMEs เป็นธุรกิจที่ส่วนใหญ่จะโฟกัสในเรื่องผลประกอบการที่ขายได้และเน้นในเรื่องผลกำไรที่ตามมามากกว่า เช่น การขายเฟอร์นิเจอร์จากร้าน A มีการเปิดรับออเดอร์โดยให้ลูกค้าสามารถต่อเติมเฟอร์นิเจอร์ในแบบที่ตัวเองชอบได้ ทำให้ร้าน A มีลูกค้าเข้ามาออเดอร์มากมาย เป็นต้น

เกริ่นไปพอสมควรแล้ว เข้าเรื่องกันดีกว่า สำหรับค่าย Startup boostcamp เป็นค่ายธุรกิจที่จัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ไม่มีค้างคืนจ้า โดยวันที่ 1 และ 2 จะจัดที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ส่วนวันที่ 3 จัดที่ตลาดหลักทรัพย์ วัตถุประสงค์ของค่ายนี้จะโฟกัสในเรื่อง ให้นักศึกษาที่สนใจด้านการทำธุรกิจ Startup ได้มีโอกาสได้ทำธุรกิจจำลองของตัวเอง เพื่อจะได้เข้าใจได้ถึงปัญหาและวิธีการบริหารจัดการ รวมถึงการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้ ฟังดูแล้วอาจจะทางการเครียดๆ แต่จริงๆแล้วค่ายนี้เป็นค่ายที่มาทั้ง “สาระ ความรู้และความสนุกสนาน” แต่จะมีสาระ ความรู้และความสนุกสนานยังไง เราไปดูกันเลยค่า

(ก่อนที่เราจะเล่าเราขอแบ่งเป็นส่วนของวันที่ 1 วันที่ 2 และวันที่ 3 เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจนะคะ)

วันที่ 1

ช่วงเช้า

วันแรกของการเปิดงาน แน่นอนอยู่แล้วที่บางคนจะมาอินดี้คนเดียว ดังนั้นเพื่อให้แต่ละคนรู้จักกัน พี่เนป AU และ พี่เจมส์ KU จึงชวนน้องๆเล่นเกมส์ประจำชมรม Yeah นั่นก็คือ เกมล่ารายชื่อ (เกมล่ารายชื่อ คือ เราต้องไปทำความรู้จักกับเพื่อนๆที่มาร่วมกิจกรรมและถามถึงสิ่งที่เราชอบของกันและกัน)

ซึ่งผู้ชนะเกมครั้งนี้ก็ คือ น้องแอม ปี 3 ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ 27 คะแนน รองลงมาคือ น้องเบนซ์ ปี 4 ดีกรีวิศวะบางมด ได้ 25 คะแนน และในตอนท้ายสุดเราก็ได้รับรู้ถึงเหตุผลอีกข้อของการเล่นเกมล่ารายชื่อนั่นก็คือ เราจะได้รู้ถึงอุปนิสัยของเพื่อนว่าข้อไหนตรงกับเรานั่นเอง

หลังจากที่เริ่มกิจกรรมสนุกๆ ไปแล้วเราก็มาเข้าเรื่องมีสาระกันบ้างเนาะ ดังนั้น พี่โจแซ่ด ผู้ให้กำเนิด Glurr application และเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจ จึงออกมาอธิบายภาพรวมและลักษณะของ ธุรกิจ Startup

พี่โจแซ่ดได้เปรียบเทียบการทำธุรกิจ Startup นั้นเหมือนกับการเล่นพนันในบ่อนคาสิโนในลาสเวกัส ซึ่งเวลาที่เราเข้าไปนั้นเราจะต้องเผชิญหน้ากับอะไรบ้าง ที่แน่ๆคงไม่ใช่แค่เล่นขายของโดยใช้เหรียญชิปสุดกุ๊กกิ๊กปาจิงโกะอะไรทำนองนั้นอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เราต้องเจอในบ่อนลาสเวกัสมีอยู่ 2 อย่างคือ

1. ความสนุกกับการเล่นพนัน(โดยเฉพาะคนมีดวง)

2. ความเสี่ยง(ที่อาจจะล้มละลายเพียงแค่บวกเลขผิด)

ดังนั้น การทำธุรกิจ Startup จึงเปรียบได้เหมือนกับการเล่นพนันนั่นเอง เพราะเราจะต้องรู้ว่าเรากำลังจะทำอะไร ธุรกิจด้านนี้เป็นด้านที่เราชอบหรือเปล่า มี Market share ยังไง คู่แข่งเราเป็นยังไง และเราต้องเสี่ยงลงทุนเท่าไรถึงจะคุ้มค่าและไม่ขาดทุน

(สำหรับใครที่อยากรู้จักและรับรู้ถึงประสบการณ์ของพี่โจแซ่ดสามารถติดตามได้ใน https://www.facebook.com/yeahentrepreneurhub นะคะ)

หลังจากที่พี่โจแซ่ดได้ให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ Startup ไปแล้ว ทีนี้หลายๆคนอาจจะสงสัยแล้วล่ะสิว่า ใครที่เป็นคนคลอด Yeah ออกมา คำตอบอยู่ที่นี่แล้วค่า คิวนักพูดคนต่อไปของเราก็คือ ท่านประธานชมรม Yeah นิสิตจากรั้วจามจุรี ซึ่งก็คือ พี่ไอซ์นั่นเอง! พี่ไอซ์เล่าว่า ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างชมรม Yeah ตอนที่กำลังเรียนอยู่ชั้นปี 4 ขณะที่กำลังดูโทรทัศน์อยู่แล้วเห็นนักศึกษาต่างชาติซึ่งอายุเพียงแค่ 18 ปีหรือ19 ปีหรือถ้าเทียบก็ประมาณเด็กปี 1 บ้านเราอ่ะแหละ เขามีธุรกิจเป็นของตัวเองแล้ว! ซึ่งพี่ไอซ์ก็มองตัวเองแล้ว…ตอนนี้ยังต้องขอเงินพ่อแม่อยู่เลยอ่ะ… ดังนั้น Yeah ก็เลยคลอดออกมาในวันที่ 1 เมษายน 2015 นั่นเอง!

Period ต่อมาหลังจากที่นั่งฟังพี่ๆพูดไปเกือบครึ่งค่อนวัน ทีนี้ก็เป็นทีของน้องๆมั่งล่ะ(เบื่อพี่พูดแล้ว ฮ่าๆ) พี่เนปจึงให้เล่นเกมจับเวลา 1 นาที 11 วินาที โดยให้ตัวแทนน้องๆขึ้นมาแชร์ถึงแผนการธุรกิจของตัวเองในอนาคต ไอ้เราก็คิดว่าน้องจะสามารถสรุปธุรกิจให้ครบครันใน 1 นาทีได้ยังไง ผิดคาดมาก! โอโห! แต่ละคนนี่ระดับเมพๆหัวกระทิทั้งนั้น ขนาดไม่ได้มีการบอกก่อนล่วงหน้ายังอธิบายได้เป็นฉากๆ(พี่นี่อายเลย ฮ่าๆ) บางคนนี่มีธุรกิจของตัวเองเสร็จสรรพ บางคนก็มีการวางแผนไว้อย่างเป็นทางเป็นการแล้วทั้งๆที่อยู่แค่ปีหนึ่งหรือปีสองเท่านั้น! มีอยู่ไอเดียหนึ่งที่เราอยากจะแชร์มากเพราะมันเป็นสิ่งที่มันอยู่แค่ปลายจมูกแต่ดันมองข้าม นั่นก็คือ “App ฝากซื้อผักชี(เราตั้งชื่อให้เอง ฮ่าๆ)” แล้วเจ้าแอพนี้มันเป็นยังไงล่ะ? ซึ่ง น้องเบิร์ด เจ้าของไอเดียสุดเจ๋งนี้อธิบายว่า ทุกครั้งที่เห็นบางคนต้องการซื้อของ เช่น ผักชี 1 ต้นไรเงี้ย คนที่ต้องการก็ไม่อยากเดินทางไปตลาดเพื่อผักชีเพียงต้นเดียว ก็เล่นแอพนี้ สั่งให้คนที่เดินอยู่แถวๆร้านขายผักชีแล้วผ่านมาแถวจุดที่คนที่ต้องการผักชีซื้อผักชีมาด้วย เป็นต้น

ช่วงบ่าย

ในช่วงบ่ายของวันเป็นเรื่องปกติที่หลายๆคนเริ่มออกอาการ “หนังท้องตึงหนังตาก็หย่อน” พี่แมน จาก Lean Entrepreneur แขกรับเชิญจึงกระตุ้นน้องๆโดยการให้น้องๆเล่นไมค์ดนตรีและให้น้องผู้โชคดี(?) ลองพรีเซนต์ถึงธุรกิจของตัวเองในอนาคตและให้เขียนใส่กระดาษไว้(เท่านี้ทุกคนก็จะตาสว่างแน่นอน) ซึ่งเกมนี้ก็มีเหยื่อโดนไปหลายรายเช่นกัน(ฮา) จากนั้นให้คัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดออกมาและให้แบ่งกลุ่มออกเป็น 7–8 กลุ่มจากนั้นก็ให้เพื่อนๆที่เหลือเลือกว่าสนใจโปรเจคไหน ซึ่งวัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรมชุดนี้ คือ Idea ของเรามีคนสนใจแค่ไหนนั่นเอง หลังจากนั้นพี่แมนจึงได้อธิบายถึงแนวทางการทำ Startup ให้กับน้องๆ โดยเฉพาะในเรื่อง data ที่ต้องมีก่อนจะกลายเป็น Idea

(สามารถติดตามดู Live ย้อนหลังของพี่แมน จาก Lean Entrepreneur ได้ที่https://www.facebook.com/yeahentrepreneurhub นะคะ)

วันที่ 2

ช่วงเช้า

วันที่สองของกิจกรรมจะเน้นไปในการสร้างธุรกิจจำลองแบบเต็มๆใบเลย แต่ก่อนอื่นเราก็ต้องฟอร์มทีมก่อน ซึ่งทางทีมงาน Startup Boostcamp ได้แบ่งประเภทของธุรกิจจำลองเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่เน้นไปในด้านคอมพิวเตอร์และทางด้านการตลาด จากนั้นก็ให้น้องๆที่ในแต่ละประเภทฟอร์มทีม

ทางด้านทีมน้องๆที่สนใจทางด้านประเภทคอมพิวเตอร์นั้น ทางบริษัท Microsoft ได้ให้การสนับสนุนค่าย Startup Boostcamp โดยการส่งวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับธุรกิจมาบรรยายและสอนวิธีการใช้โปรแกรมเบื้องต้น(ซึ่งเราขออนุญาตไม่เล่าถึงภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆนานานะไม่งั้นคงยืดยาว ฮ่าๆ)

ส่วนทางด้านการตลาดเราก็ได้รับการสนับสนุนจากพี่ๆกลุ่ม Divine Sol มาอบรมพวกเราซึ่งพี่ป้อง Divine Sol ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ” สูตรสำเร็จขั้นเทพ” มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่า

1. รู้เป้าหมาย

• ต้องตื่นเต้น ท้าทาย

• สร้างจินตนาการในหัวเราแล้วลงมือทำ

• ความสำเร็จเกิดขึ้น2ครั้ง คือ 1ตอนคิด (ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน) 2การลงมือทำ

• เป้าหมายที่ดี “มองเห็น ได้ยิน รู้สึกได้ และสัมผัสได้”

2. ใส่ความเชื่อ

• มีผลต่อความสำเร็จ 80%

• มีสิทธิเลือกความเชื่อได้ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว หรือ มันง่ายหรือยาก

• “เป้าหมายที่ปราศจากแผน ก็เป็นได้แค่เพียงปรารถนา”

3. หาแผนการ

• ดูจากไอดอล ว่าสำเร็จได้อย่างไร

• ดูจากประสบการณ์ตัวเอง ให้มีแรงบันดาลใจ

• ***Knowledge + experience +activity***

4. ทำทันที

• ต้องทำแบบเต็ม100%

• ใส่ความเจ็บปวดเข้าไป

• ให้รางวัลกับการลงมือทำ

• สร้างพลังใจ “สู้โว้ย!!!” “เราทำได้”

5. ตีความหมาย

• เราจะล้มเหลวจากเป้าหมาย เมื่อเราล้มเหลว

• เรียนรู้จากความล้มเหลว

• The only way to do great work is to love what you do

ช่วงบ่าย

ก่อนที่จะเริ่มเล่าถึงกิจกรรมช่วงบ่าย เราขอเล่าถึงเมนูอาหารกลางวันที่สร้างความประทับใจให้เราและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งพี่ทั้งน้อง นั่นก็คือ ไก่ทอดบาบีคิวและข้าวเหนียว บอนชอน นั่นเอง(นี่ยังฟินค้าง ฮ่าๆ) โดยทางกิจกรรมค่าย Startup boostcamp ได้รับอภินันทนาการจาก บริษัท QueQ เป็นผู้ช่วยสนันสนุนในครั้งนี้นั่นเอง

หลังจากที่เติมพลังกันไปเรียบร้อยแล้วเราก็ได้เปิดโอกาสให้น้องๆแต่ละทีมได้มีโอกาสสังสรรค์ประชุมธุรกิจจำลองของตัวเอง และไม่เพียงแค่นั้นเพื่อให้น้องๆสามารถสร้างผลงานที่ดีทีสุดออกมา ทางฝ่ายกิจกรรมได้เชิญผู้เชี่ยวชาญทางธุรกิจ startup และเจ้าของธุรกิจส่วนตัวหรือที่ทางเราเรียกว่า “โค้ช” มาให้คำแนะนำอีกด้วย เช่น พี่ดิว(Wealth Creation) พี่แก้ว(QueQ) พี่แพท(T.P.Gems) พี่ทิวไผ่(phoonideastudio) พี่จ๊อบ (Freelance-product design) เป็นต้น

ทั้งนี้ พี่หมี หนึ่งในโค้ชคนเก่งของเราก็ได้ออกมาอบรมน้องๆในเรื่อง How to start E-commerce

ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้จริงๆเลยว่า ในปัจจุบันการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์เป็นอีกหนึ่งช่องทางการทำธุรกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่คิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจเป็นของตนเอง การทำธุรกิจแบบ E-commerce เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้ความฝันในการทำธุรกิจเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย ด้วยความเข้ามา….ยังต้นทุนถูกกว่า เพราะไม่เสียค่าการเช้าร้านหรือสถานที่ แถมในปัจจุบันเป็นโลกดิจิตอล แต่ทั้งปีทั้งนั้นก็ยังมีธุรกิจ E-commerce หลายตัวที่ไม่ประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ แต่จะเพราะอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกสินค้า และ การปรับกลยุทธต่างๆที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจตัวนั้นๆ จริงๆแล้วมันมีเคล็ดลับต่างๆอยู่ไม่กี่ข้อที่จะ”ทำให้คุณประสบความสำเร็จ” จะมีอะไรกันบางตามมาดูกันเล๊ยยย

1. Product หรือการเลือกซื้อสินค้า

ในขั้นตอนนี้เราต้องเริ่มต้นจากจากรู้ตัวเองว่าตัวเองต้องการขายสินค้าอะไร โดยมีวิธีการเลือกสินค้าจากสิ่งที่ตนสนใจ หรือมีความชำนาญในด้านนั้นๆ และสินค้าตัวนั้นควรเป็นสินค้าที่มีความแตกต่าง ในความหมายของคำว่าแตกต่างไม่จำเป็นว่าต้องเป็นรูปแบบของสินค้าที่ต่างกัน แต่มันยังรวมไปถึงของประเภทเดียวกันแต่ คุณภาพหรือภาพลักษณ์ของเรา แตกต่างก็เป็นอันใช้ได้ เพราะแต่ละสินค้า แต่ละราคา มันยอมมีกลุ่มหรือฐานลูกค้าของตัวมันเองอยู่แล้วเสมอ และอีกนึงปัจจัยนั้นก็คือ Think niche พยายามเลือกสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร พยายามให้ลูกคิดถึงเราเป็นเจ้าแรกถ้าพูดถึงสินค้าตัวนั้นๆ

2. Store หรือพื้นทีในการขายสินค้า

ก่อนอื่นเราต้องแยกก่อนว่าเราจะขายสินค้าบนสิ่งที่เรียกว่า Social media หรือ Website ?แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหลายคนอาจจะยังแยกไม่ออกถึง คุณสมบัติของสองสิ่งนี้มันแตกต่างกัน

- Social Media ก็เปรียบเสมือน “บ้านเช่า” ที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดเองไม่ได้

- Website ก็เปรียบเสทือน “บ้านเราเอง” ที่เราจะสามารถกำหนดทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือทิศทางของสินค้า การออกแบบ การกำหนดเนื้อหาหรือรายละเอียดของสินค้า

เพราะฉะนั้นมันขึ้นอยู่กับตัวเรานี้ล่ะ ว่าต้องการขายสินค้าออกในรูปแบบไหน และ ควรใช้ช่องทางไหนในการดันสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาด

ตัวอย่าง 3 เว็บไซด์ดีๆที่ใช้ในการสร้าง website ของเราเอง

1. เว็บไซด์สำเร็จรูป : Shopfy , Sqarespace, Wix

2. เว็บไซด์กึ่งสำเร็จรูป : Word Press

3. เว็บไซด์ที่จะเราได้ออกแบบเองทุกอย่าง : เทพ shop

3. Online Marketing

1. ต้องเรียนรู้ความสามารถของแต่ละเครื่องมือที่จะใช้เสียก่อน ตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของเฟคบุ๊ค อินสตาแกรม เป็นต้น

2. รู้จากวางแผนทางการตลาด (5 Steps)

3. ศึกษาในเรื่องของ USER EXPERIENCES หรือ ที่เค้าเรียกอย่างย่อๆว่า “UX” เพื่อให้เข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น

ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น เรายังสามารถแบ่งแยกย่อยใน ส่วนของ UX ได้อีกดังต่อไปนี้

และวิชาที่เราจะใช้ UX หรือ USER EXPERIENCES กับงาน design thinking นั้นก็คือ การประยุกต์ใช้กับหลักของ ความต้องการขั้นพื้นฐานของคน 5 ประการดังต่อไปนี้

เมื่อใดก็ตามที่เรารู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าแล้ว เราก็จะสามารถตอบสนองสินค้ากับความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มลูกค้าเหล่านั้นได้และมากไปกว่านั้นก็ทำ Online Marketing ก็ยังมีตัวช่วยอีกหลายๆตัวให้เลือกใช้ง่าย ตัวอย่างเช่น

1. การโฆษณาเว็บไซด์ของเราผ่าน Google

- SEO ( Search Engine Marketing Optimization )

เมื่อแปลตรงตัวจะหมายถึง “ระบบที่ช่วยให้การสืบค้นข้อมูลเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด” กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเทคนิคที่ช่วยทำให้ Web Site หรือ Blog หรือเนื้อหาของตนอยู่ในระดับต้นๆ ของผลการค้นหาด้วยเครื่องมือ Search Engine ที่ทรงประสิทธิภาพ เช่น Google, Bing, Yahoo, 7Search เป็นต้น

- SEM ( Search Engine Marketing )

คือวิธีการทางการตลาด ที่ช่วยเพิ่มจำนวนผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม Web Site ของบริษัทหรือบุคคล โดยการช่วยเหลือ หรือแนะนำของ Search Engine ตัวอย่างของ SEM ที่พบบ่อยๆได้แก่ การลงโฆษณาประเภทที่เชื่อมโยงกับ Keyword

ของการสืบค้นข้อมูล ดังนั้น SEO จึงเป็นเพียง SEM ประเภทหนึ่งเท่านั้นเอง

2. การใช้ Facebook AD

Facebook เป็นช่องทางการลงโฆษณาอีกทางหนึ่งที่ทรงพลังมากๆ เนื่องจากปัจจุบันมีคนใช้ Facebook จำนวนมาก และในทุกๆวัน อัตราการเติบโตของยอดคนใช้ Facebook ก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องนอกจากนั้น Facebook ยังสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเชิงประชากรศาสตร์ (Demographic) เช่น อายุ เพศ การศึกษา ได้อีกด้วย จุดเด่นอีกข้อของ Facebook ก็เห็นจะเป็นการที่เรามี Fan Page บน Facebook และเมื่อมีคนมาเป็น Fan ของหน้าเราแล้ว เราสามารถส่งข่าว หรืออะไรก็ตามที่เราต้องการให้ลูกค้าเห็นได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ตราบเท่าที่เค้ายังเป็น Fan ของหน้า page ใน Facebook ของเราอยู่

จุดเด่นอีกอย่างที่ผมอยากจะกล่าวถึงก็คือ Facebook มีสิ่งที่เรียกว่า Viral อยู่ อย่าเพิ่งเปิดดิกนะครับ เปิดแล้วจะยิ่งงง อ่านที่ผมอธิบายจะง่ายกว่า (เพราะผมเปิดแล้วงงมาแล้ว อิอิ) บางคนคงอาจจะเคยได้ยินคำว่า Viral Marketing กันมาบ้าง Viral Marketing นั้น แปลให้เข้าใจง่ายๆคือ การตลาดแบบแพร่กระจายโดยกระแสปากต่อปากของผู้บริโภค หรือคนในสังคม ยกตัวอย่างเช่น โฆษณา จน เครียด กินเหล้า ของ สสส วลีนี้กลายเป็นวลีฮิตติดปากของคนในสังคม จนเกิดการบอกต่อๆกัน และฝังอยู่ในความทรงจำของคนจำนวนมากๆในสังคม และเนื่องจาก Facebook นั้นมีปุ่มที่เรียกว่า “แบ่งปัน” หรือ “Share” อยู่ ทำให้สิงที่ผู้คนสนใจ หรือประทับใจ ถูกส่งต่อกันไปเป็นทอดๆอย่างกว้างขวางได้โดยง่าย

ส่วนผลงานของแต่ละทีมจะออกมาเป็นแบบไหนและใครจะเป็นผู้ชนะจะประกาศผลในวันสุดท้ายนะจ้า ตอนนี้ขอกั๊กไว้ก่อนนะ อุอิ

วันที่ 3

Finally! ในที่สุดก็มาถึงวันสุดท้ายแล้ว วันนี้เราจะพาเพื่อนๆไปดูผลงานของทีมแต่ละทีมกันว่ามีอะไรกันบ้างแต่ก่อนที่เราจะไปดูผลงานของแต่ละกลุ่มกัน เราจะพาเพื่อนๆไปดูเคล็ดลับวิธีการ Present อย่างมีระบบจาก พี่บอนด์ CEO & Foundation of Washbox24 กัน เคล็ดลับเหล่านั้นมีอะไรบ้าง นั่นก็คือ

1. Great pitch doesn’t help terrible ideas

2. Make the connection with audience

3. It’s a show not a knowledge contest

4. Don’t put things on slides if you won’t take about it

5. Practice Practice Practice

(ส่วนรายละเอียดสามารถติดตามได้ใน https://www.facebook.com/yeahentrepreneurhub นะคะ)

หลังจากที่เราได้รับความรู้ถึงเคล็ดลับของการ Present อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพไปแล้ว เราก็มารู้จักกับวิถีทางการทางการทำธุรกิจและการลงทุนกันบ้างดีกว่า ดังนั้น พี่โทนี่ จาก Meefund จึงได้ให้โอกาสน้องๆสละเวลามาช่วยอบรมเรื่องนี้ วิถีทางต่างๆคืออะไรไปดูกันเลยค่ะ

1. ในการเริ่มต้นทำstartup ความที่อยากจะทำ/ ต้องทำเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด

2. ลักษณะของเงินคนอื่นแบ่งเป็น2กลุ่ม

2.1 Angel invester -นักลงทุนบุคคล เช่น พ่อแม่เรา ญาติพี่น้อง (เจ๋งไม่เป็นไร)

2.2 นักลงทุนสถาบัน เช่น ตลาดหลักทรัพย์

Crowdfunding ใช้หลักเงินคนอื่น แล้วใส่projectที่เราอยากทำ หรือ project startupของเราลงบนโลกออนไลน์ที่มีศักยภาพและน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นการหาทุนจากคนหมู่มากในการทำโปรเจคของเรา

นวัตกรรมไม่ได้ขายตนเอง ต้องอาศัยผู้คิด/ผู้ผลิตและผู้ทำการตลาดทำควบคู่กัน ต้องค่อยๆทำตลาด

การตลาดมีกี่ประเภท — online &offline ,push &pull

ไม่มีใครจับ100%market shareได้ เช่น การประปา

ในตอนท้ายสุด พี่โทนี่ก็ฝากไว้ว่า อยากเห็นการทำธุรกิจ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย จากการระดมทุน(Crowdfunding) ใส่projectที่เราอยากทำ หรือ project startupของเราลงบนโลกออนไลน์ที่มีศักยภาพและน่าเชื่อถือ เป็นการเชื่อมโยง ของสร้างสรรค์ผลงาน กับ ผู้ที่ชื่นชอบพร้อมที่จะสนับสนุน มาเจอกันและให้ความฝันเหล่านั้นเป็นจริง

(ส่วนรายละเอียดสามารถติดตามได้ใน https://www.facebook.com/yeahentrepreneurhub นะคะ)

มาถึงช่วงสุดท้ายของการทำงานกันแล้ว ผลงานของแต่ละกลุ่มจะเป็นยังไงกันบ้างนะชักตื่นเต้นแล้วสิแต่น่าเสียดายถ้าหากให้เล่าหมดทุกกลุ่มคงไม่หมดแน่ๆ ดังนั้นเราจึงขอแนะนำให้รู้จักกับกลุ่มผู้ชนะ ที่เอาชนะใจกรรมการไว้ได้มากที่สุดก่อนเลย คือ การสร้างแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับการหาสปอนเซอร์ให้กับหน่วยงาน ซึ่งสมาชิกในทีมได้แก่

1. น้องเหวิน ชลิตา ตั้งเธียรกุล (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

2. น้องปาม พรวุฒิ โกวรรณธนกุล (มหาวิทยาลัยมหิดล)

3. น้องกล้วย ศิรินาฏ เป้ากลางไพร (มหาวิทยาลัยมหิดล)

4. น้องพา พันธุ์ทิพา สุขสิริสรณ์(มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

5. น้องจีอา รัฐภาคย์ อานันตยากาญจน์(มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ)

6. น้องกวาง ธนิดา ผู้เจริญทั่ว(มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ)

ซึ่งน้องๆก็ได้อธิบายว่าเจ้าแอพลิเคชั่นตัวนี้จะเป็นเหมือน Platform ที่เชื่อมระหว่าง สปอนเซอร์ และ หน่วยงานต่างๆ โดยแอพฯนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการที่น้องๆได้เห็นกลุ่มคนเพื่อการกุศลหรือหน่วยงานนักศึกษาไปยืนอยู่ตามฟุตบาทหรือบริเวณรถไฟฟ้าและ skywalk ถือกล่องรับบริจาคเงินสมทบทุนแล้วรู้สึกดูไม่ดีคล้ายกับการมาขอทาน ดังนั้นเพื่อลบจุดบอดของประเทศ แอพฯนี้จึงได้เกิดขึ้นมา

ส่วนวิธีการใช้งานแอพฯนี้ คือ

1. หน่วยงานหรือบริษัทที่ต้องการสนับสนุนสมทบทุนและทำ CSR เข้าไปลงชื่อ ซึ่งหน่วยงานแต่ละหน่วยสามารถที่จะสนับสนุนเป็นเงินหรือสิ่งของได้ตามต้องการ นอกจากนั้นบริษัทสามารถเลือกหน่วยงานที่ต้องการจะสนับสนุนเงินทุนได้ เช่น บริษัทของเล่นเด็ก สนับสนุน หน่วยงานบ้านเด็กกำพร้า โดยการมอบของเล่นให้ ไม่เพียงเท่านั้นบริษัทสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

2. กลุ่มคนที่ต้องการเงินสนับสนุนเข้าไปลงชื่อโดยมีข้อตกลงว่า

- จะต้องส่งโปรเจคการทำงานมาด้วยก่อนที่จะขอทุน (ทางแอพฯจะมีช่องให้กรอก member และให้ส่งผลงาน)

- หลังจากที่ทำโปรเจคเสร็จแล้วให้ถ่ายวีดีโอหรือเขียนรายละเอียดมาส่งทางทีมงาน

โดยที่แอพฯนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้กับทั้งสองฝ่ายนั่นเอง ส่วนเงินทุนสำหรับบำรุงแอพฯจะได้รับจาก ค่าคอมมิชชั่นนั่นเอง

จบไปแล้วนะคะกับค่าย Startup Boostcamp ทีนี้เราก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจไปกันเยอะแล้วซึ่งค่ายนี้จะไม่มีทางเกิดถ้าหากขาดผู้สนับสนุนโครงการเหล่านี้

Microsoft : เงินสนับสนุนในการจัดกิจกรรม และ โปรแกรม Biz Spark for Startup

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสาตร์ : เงินสนับสนุนในการจัดกิจกรรม

HUBBA Academy : สนับสนุนแจก และ ให้ส่วนลด Course ต่างๆของ HUBBA Academy

SET / NAI : สนับสนุน สถานที่ และ เงินสนับสนุนในการจัดกิจกรรม

QueQ : สนับสนุนของว่าง ไก่บอนชอน และ ตัวแทนจากQueQ ในการเป็นโค้ชให้แก่น้องๆ

Okusno : สนับสนุนของว่าง

Glurr.com : ประชาสัมพันธ์งาน Startup Boost camp ในเว็บ และ เชิญ Thai PBS มาถ่าย โปรโมทค่าย

ส่วนรายละเอียดและผู้ที่สนใจอยากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชมรม Yeah สามารถติดตามได้ใน https://www.facebook.com/yeahentrepreneurhub นะคะ แล้วเจอกันโพสต์หน้าจ้า^^

--

--

Thepachai P. [Nep]
TeamYEAH

Deep Generalist who’s empathy driven and data inform person.