ทำไม Story point จึงมีบทบาทใน Agile

Saranya kaewsa-ard
te<h @TDG
Published in
1 min readOct 5, 2019

Story point คือขนาดของงานที่ได้ตัวเลขจากความซับซ้อน ความยากของงาน และไม่สามารถแปลงมาเป็นหรือชั่วโมงได้

ใน Agile Methodology ใช้ Story point ในการ estimate งานของ Development ทีมกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังมีบางคนสะดวกที่จะแปลงจาก Story point ไปเป็นชั่วโมงอยู่ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร เพราะ Agile คือ แนวคิดที่สามารถนำส่วน Technical และ Process มาดัดแปลงใช้เป็นของแต่ละทีมหรือบริษัทตามความเหมาะสม

แต่ทำไม Story point ถึงได้มีบทบาทใน Agile ละ

  1. Business Team ต้องการรู้ว่างานจะเสร็จเมื่อไร
    เนื่องจาก requirement ของ Software ไม่นิ่งและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาใน Agile Framework ฉะนั้นการประเมินเป็น “ชั่วโมง” จึงค่อนข้างยากสำหรับ Development Team ดังนั้น Agile Framework จึงแนะนำให้ทีมใช้ Story point ในการประเมินตามความเสี่ยงหรือความยากของแต่ละ Story แทน ซึ่งมีตั้งแต่ขนาด 1,3,5,8,13,21…..
  2. สำหรับ Estimate พลังวัดในการทำงานของ Development Team
    เพราะในโลกความเป็นจริงยังต้องมีการ Planning ถึงแม้เราจะใช้ Agile การที่ Development Team จะประเมินงานว่าตัวเองสามารถรับงานได้กี่ Story นั้นต้องใช้ Velocity ที่มาจากผลรวม Story point ของตัวเองใน Sprint ก่อนๆ แล้วถึงจะสามารถให้คำตอบ PO เรื่องจำนวน Story และสร้าง Sprint Goal ได้
  3. พื่อระบุความเสี่ยงที่จะส่งงานไม่ได้
    สืบเนื่องจากการที่ Business Team ต้องการรู้วันที่จะส่งงาน แต่ requirement ยังอาจจะไปไม่เพียงพอและคลุมเครือ Development Team สามารถใช้ Story Point ในการระบุความเสี่ยงได้ ยิ่ง Story Point สูงเท่าไรก็มีโอกาสที่ Story นั้นจะไม่สามารถส่งได้ก่อนจบ Sprint ซึ่งเป็นหน้าที่ของ PO และ Development Team ในการ monitoring และ update progress กันเมื่อเกิดปัญหา

สุดท้ายนี้ การนำ Story Point มาใช้นั้นไม่ได้เป็นเครื่องมือที่จะบอกว่า Development Team จะสามารถส่งงานได้ตามที่ตกลงไว้เสมอ การจะนำ Story Point ไปใช้ควรมีการทำ Risk Management หรือ Impact Analysis ไปควบคู่กันเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

--

--