ลอง (Long) Sprint Owner Concept

Pennapha Anuhanayonn
te<h @TDG
Published in
3 min readAug 13, 2019

ได้ยิน concept นี้ครั้งแรกเมื่อประมาณปลายปี 2017 จาก PO แบงค์น้องเลิฟ ว่าอยากจะ make ownership ให้กับ development team สักหน่อย หลังจากที่ PO กล่อมถึงข้อดีให้ team ฟัง พวกเราก็รู้สึกเคลิบเคลิ้มในศิลปะการโน้มน้าวของ PO 555+ และก็ลงความเห็นกันว่าลองดูสักหน่อยก็ไม่เสียหาย

You are Sprint Owner … ขโมยภาพมาจาก Internet

Sprint Owner หรือบางทีทีมเราก็ชอบเรียกชอบว่า Sprint Owen (เขียนผิดครั้งเดียวก็ถูกล้อกันไปไปจบไม่สิ้น จนจำ keyword ขำๆ นี้ไปแล้ว)

sprint owner ก็เป็นบุคคลหนึ่งที่แฝงตัวอยู่ใน scrum team มี responsibility ที่ถูกกำหนดและวางไว้ ซึ่งตำแหน่งนี้ไม่ได้ถูกระบุไว้ใน scrum guide แต่อย่างใด เนื่องจากสถาปนากันขึ้นมาเอง อย่าได้เผลอไป google ดูหละ

วัตถุประสงค์ในการมี Sprint Owner คืออะไร

นอกจากต้องการให้น้อง ๆ รู้สึกถึงการมี ownership ในงานอย่างที่กล่าวข้างต้นแล้ว ประโยชน์แอบแฝงที่ (คิดว่า)ได้จากการเป็น Sprint Owner คือ

  1. ฝึกให้น้องเดฟทุกคนมีความเข้าใจงานของเพื่อนในทีมด้วย แม้ว่าตัวเองจะไม่ได้เป็นคน implement เองก็ตาม
  2. ฝึก soft skill ในการ present งานทั้งกับเพื่อน ๆ ในทีมหรือ stackholder
  3. ฝึกให้น้อง ๆ คุ้นชินกับการใช้ jira และประสานงานกับทีมงานในการสร้าง sub-task

Sprint Owner มีหน้าที่อย่างไร ?

หน้าที่ของ sprint owner ทีมได้มีการพูดคุยและตกลงกันว่าจะมีหน้าที่อะไรบ้าง ดังนี้

Sprint Planning : ยึดจอจาก PO (ฟังดูแล้วแอบโหดร้าย แต่พวกเรารัก PO นะ 🤘) ใช่คะยึดจอจริงๆ ใน session sprint planing เราจะให้ PO เกริ่นสักเล็กน้อยว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงหลังจากที่ได้ทำ backlog refinement กันไปแล้วหรือไม่ priority ของงานจัดเรียงแล้วใช่ไหม หลังจากหมดหน้าที่ตรงนี้ของ PO ก็เป็นหน้าที่ของ sprint owner ที่ได้รับสิทธิ์ในการต่อจอ เปิด jira board ประสานงานกับเดฟทีมเกี่ยวกับ solution และทำการสร้าง sub-task ในแต่ละ story ให้ครบถ้วน

Sprint Review : ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทีมงานในการรีวิว story ทั้งหมด ที่ทีม commit ว่าจะทำให้เสร็จใน sprint นั้นๆ แม้ไม่ได้เป็นคน implement ทำก็ควรต้องอธิบายได้ demo ได้ หลายคนอาจจะกังวลว่าแบบนี้ก็ผลักภาระให้ spring owner คนเดียวเลยสิ

แหม … ก็ไม่โหดร้ายขนาดนั้น ก่อนที่จะปิด sprint ปกติแล้ว sprint owner ก็จะสามารถพูดคุยกับ assignee/qa ในแต่ละ story ว่าเนื้องานเป็นอยากไร ต้อง demo แบบไหน (ในระหว่างรีวิว เพื่อน ๆ ท่านอื่นสามารถ support sprint owner ได้นะคะ)

อ่อ ๆ … sprint owner ก็ทำงานใน sprint ตามปกตินะคะ ไม่ได้หมายความว่าใครที่ถือ role นี้จะรับงานน้อยลงกว่าเพื่อน ๆ หรือได้อภิสิทธิ์พิเศษ หรืออู้ได้น๊า

และอื่น ๆ เช่น

  • คอยช่วยเตือน ๆ เพื่อน ๆ ในทีมให้ลุกมาเดลี่กันได้แล้ว ไม่ใช่ว่าน้อง ๆ ไม่รู้เวลานะ แต่บางทีมันก็เพลินไง
  • ดูภาพรวมของงาน ว่าติดปัญหาตรงไหน คอยเตือนเพื่อน ๆ ให้ลากการ์ดในบอร์ดด้วยนะ
ชื่อ Sprint Owner จะถูกจารีกไว้ใน Sprint Goal ด้วย

Sprint Owner เป็นใครได้บ้าง ?

เป็นใครก็ได้ Dev/QA ส่วน Product Owner หรือ Scrum Master ก็เป็นได้นะ เคยเป็นอยู่ 1 หนตะกุกตะกักอยู่เหมือนกันแต่ก็สนุกดี ก็อย่างที่บอก ท้าย ๆ sprint ก็ต้องไปไล่ถามน้อง ๆ ว่า พี่จะต้อง demo ยังไง อัพเดต database field ไหน ใครจะช่วย switch branch ให้พี่ได้บ้างนะ อะไรทำนองนี้

ตารางทาส

สำหรับ sprint owner จะเป็น champion ของ current sprint โดยพวกเราตกลงกันว่าทุกคนต้องได้รับสิทธิ์นี้ หมุนเวียนกันไปเรื่อย ๆ ตัวอย่างตามตารางทาสด้านบน

ผลจากการมี Sprint Owner

แรก ๆ ก็ขลุกขลักอยู่แล้วตามสไตล์ น้องคนไหนพูดเก่งหน่อยก็พลิ้ว ส่วนคนไหนพูดน้อยหน่อยอธิบายไม่ค่อยเก่งก็ต้องฝึก ๆ กันไป

พอผ่านไปจุดนึงพวกเราก็รู้สึกว่าไม่ได้ละ ต้องรับสมัครตำแหน่งเพิ่ม ไม่ใช่แค่มี Sprint Owner เท่านั้น ยังมี Incident Owner งอกมาอีกตำแหน่งด้วยเป็นคู่ขากัน เพื่อ support เคสต่าง ๆ ที่เข้ามาในทีมอีกตำแหน่ง ซึ่ง concept ก็คือ

  1. ฝึก Investigate ปัญหาที่เกิดขึ้น
  2. ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน support incident ที่เข้าทีม จะได้ไม่ตกอยู่ที่คน ๆ เดียว
  3. การเป็น Incident Owner ไม่ได้หมายความว่าต้องแก้ไขเคสเอง แต่จะเป็นคนประสานงานกับผู้อื่นเพื่อแก้ไขปัญหา

จากวันที่เริ่มต้นจนถึงวันนี้ มันก็ทดลองกันมานานพอสมควร บ้างครั้งที่ต้องเปลี่ยนไปดู Project อื่นบ้าง ก็พยายามจะเสนอไอเดียนี้ แม้บางทีมจะสนใจบ้างไม่สนใจบ้าง บางทีมก็ไม่สามารถที่จะทำงานรูปแบบนี้ได้ เช่น knowledge ติดกับตัวคนมากจนเกินไป ไม่สามารถ pair กันได้จริง ๆ หรือบางทีมก็มองว่าเค้า self organize กันอยู่แล้ว ซึ่งพื้นฐานก็ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของ development team เป็นสิ่งสำคัญ ว่าอยากจะทำงานร่วมกันในรูปแบบไหนมากกว่า ก็ต้องดูตามความเหมาะสมด้วย

ยังไงก็ขอบคุณน้องแบงค์มาก ๆ ที่แชร์ไอเดียอันนี้นะจ๊ะ ^^

--

--