How to สร้าง Jira Dashboard แบบง่าย ๆ

Pennapha Anuhanayonn
te<h @TDG
Published in
4 min readAug 11, 2019

ก่อนที่จะเริ่มสร้าง dashboard กัน ขออธิบายถึงวัตถุประสงค์หลักของทีมในการสร้าง dashboard ขึ้นมาก่อน คือเราต้องการดูภาพรวมการทำงานที่สามารถดูได้ในระหว่าง sprint จนถึงวันที่ปิด sprint “เพื่อให้ทุกคนในทีมมีความเข้าใจและเห็นภาพเดียวกัน
ในหน้าเดียว”

เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา มาเริ่มลงมือกันดีกว่า ขั้นตอนง่าย ๆ เพียง 2 ขั้นตอน

Create Dashboard

1. ปักหมุดที่ Jira Project ของท่านก่อนเป็นอันดับแรก คลิกที่ Jira icon > dashboard
2. คลิกที่ 3 จุดมหัศจรรย์ด้านบนขวา แล้วเลือก Create Dashboard
3. กรอกข้อมูลต่าง ๆ บนหน้าจอ (ตามตัวอย่างด้านล่าง) สิ่งสำคัญอย่าลืมกำหนด Shared with ด้วย ว่าต้องการให้ใครที่อยู่ใน group ไหน สามารถเข้าถึง board ของเราได้บ้าง และกดปุ่ม Create เป็นขั้นตอนสุดท้าย

Setup Dashboard

หลังจากขั้นตอนด้านบนเราก็จะได้ dashboard ว่าง ๆ ตามหน้าจอด้านล่างนี้ สามารถจัด Layout ได้ด้วยการคลิกที่ปุ่ม Edit layout หรือ กดที่ปุ่ม Add gadget เพื่อเริ่ม setup board ให้มีข้อมูลมาแสดง

โดย gadget ที่ระบบมีไว้ให้ก็มีอยู่พอสมควร การนำไปใช้ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะ represent อะไร แต่เดี๋ยวจะยกตัวอย่างที่ใช้บ่อย ๆ ว่าใช้อะไรบ้าง ไล่จากแบบง่าย ๆ ไปจนถึงแบบที่ advance หน่อย ๆ ละมั้ง

แบบง่าย — สามารถใช้งานได้ทันทีหลังเลือก Project

ตัวอย่างที่ 1 : Sprint Burndown Gadget
สำหรับดู Burndown Chart หรือก็คือดูความคืบหน้างานใน Active Sprint นั่นเอง

  1. เลือก gadget ที่มีชื่อว่า “Sprint Burndown Gadget”

2. เลือก Project ที่ต้องการ กดปุ่ม Save เปรี้ยง

เสร็จ!!! ง่ายไหมหละ แค่นี้ก็ได้ burndown chart ไว้ข่มขู่น้อง ๆ ในทีมแล้ว 555+

Gadget : Sprint Burndown Chart บน Dashboard

ตัวอย่างที่ 2 : Sprint Health Gadget
สำหรับเอาไว้ตรวจสอบสุขภาพของ sprint ในระหว่าง sprint นั่นเอง ว่ามีงานที่ทำเสร็จหรือมี scope change หรือไม่ ส่วนขั้นตอนเหมือนตัวอย่างด้านบนเป๊ะ

  1. เลือก gadget ที่มีชื่อว่า “Sprint Health Gadget”

2. เลือก Project ที่ต้องการ กดปุ่ม Save

ผลลัพทธ์คือ โอ้โหว … 0 days left แต่ Work complete 61% ชักจะห่วง ๆ แล้วสินะ

Gadget : Sprint Healthy บน Dashboard

แบบยากหน่อย ๆ : สามารถใช้งานได้โดยเขียน JQL หรือ Jira Query ก่อน

ตัวอย่างที่ 3 : Pie Chart

อัพเวลความยากขึ้นมาอีกนิด จากตัวอย่างด้านล่างจะเป็นการดูข้อมูล production incident ที่ทีมรับเคสทั้งหมด โดย group ตาม field label (ในที่นี้คือระบุสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากสาเหตุอะไร) และ epic เป็น outstanding ticket มาดูขั้นตอนกัน

  1. เขียน JQL เพื่อดึงข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาก่อน ตามตัวอย่างด้านล่าง

2. เลือก gadget ที่มีชื่อว่า “Pie Chart” มาใส่ในบอร์ด

3. ระบุ Filter Name ที่สร้าง JQL และเลือก Statistic Type หรือก็คือ Field ที่ต้องการให้ grouping ข้อมูลนั่นเอง กดปุ่ม Save ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนแล้ว

ผลลัพธ์ที่ได้คือ Incident เพียบ แล้วสาเหตุของปัญหาเกิดจากอะไรเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการ improve ต่อไปในอนาคต

Gadget : Pie Chart บน Dashboard

ตัวอย่างที่ 5 : Filter Result

สำหรับตัวอย่างนี้ทีมต้องการดึงข้อมูลว่า Task,Sub-Task,Bug ตัวไหน ที่ทีมดึงมาทำแล้วแต่อยู่สถานะเดิมไม่มีการเคลื่อนไหวมาเป็นเวลา 2 วันแล้วบ้าง เริ่มจ้า

  1. เขียน JQL เพื่อดึงข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาก่อน ตามตัวอย่างด้านล่าง

หมายเหตุ : ปัญหาที่พบสำหรับ JQL นี้คือ -2d มันรวม Weekend Date ด้วยสิ ใครแก้ปัญหานี้ได้ ช่วยประซิบบอกทีนะ

2. เลือก gadget ที่มีชื่อว่า “Filter Results” มาใส่ในบอร์ด

3. ระบุ Filter Name ที่สร้าง JQL และเลือก field ที่ต้องการให้แสดง ในช่อง Custom to dispay กดปุ่ม Save

ฮั่นแน่ … มีงานไม่ขยับมา 2 วันแล้ว น้อง ๆ ติดปัญหาอะไรรึเปล่านะ ต้องไปติดตามแล้วหละ

Gadget : Filter Results บน Dashboard

ตัวอย่างที่ 6 : Two Dimensional Filter Statistics

สำหรับตัวอย่างสุดท้าย เป็นการดึงข้อมูลที่แบ่งออกเป็น 2 แกน คือต้องการดูว่าเดฟทีมแต่ละคนดึงงานกันไปมากน้อยแค่ไหนใน active sprint มีใครที่ load งานอยู่หรือไม่ จะได้เกลี่ยงานกันให้เหมาะสม

อ่อ … ไม่ควรนำปริมาณงานมาเปรียบเทียบกันนะคะ เพราะความยากง่ายของงานแต่ละชิ้นย่อมไม่เท่ากัน แต่เอาไว้ดูเป็นแนวโน้มเพื่อนำไปพูดคุยกับทีมว่าต้องการความช่วยเหลืออะไรหรือไม่

  1. เขียน JQL เพื่อดึงข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาก่อน ตามตัวอย่างด้านล่าง

2. เลือก gadget ที่มีชื่อว่า “Two Dimensional Filter Statistics” มาใส่ในบอร์ด

3. ระบุ Filter Name ที่สร้าง JQL และเลือก field ที่ต้องการ
XAxis : Issues Type
YAxis : Assignee
กดปุ่ม Save เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน

Gadget : Two Dimensional Filter Statistics บน Dashboard

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านในการสร้าง Dashboard บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ สุดท้ายขอพลีชีพด้วย dashboard ทีมนี้ซะหน่อย 555+

อย่าโกรธ อย่าเคืองพี่เลย ฟิ้ว!!!

--

--