How to test Firebase Analytics “Debug Events”.

Nan Chaniporn J.
te<h @TDG
Published in
3 min readJun 28, 2020

เรามาทำความรู้จักกับ Firebase Analytics “Debug Events” กัน : )

Debugging Events

DebugView มีประโยชน์มากๆในระหว่างที่กำลังพัฒนางานอยู่ โดยที่ DebugView จะช่วยให้เรา check ความถูกต้องของข้อมูล และสามารถเอาข้อมูลจาก DebugView ไปวิเคราะห์ต่อได้ ซึ่งก็จะเป็นการ confirm ว่า events ต่างๆ และ User properties ทั้งหมดที่ถูก log ไว้มันเป็นแบบที่เราต้องการหรือเปล่า

Enabling debug mode

โดยทั่วไป events ที่ log โดย Application ถูกรวมเข้าด้วยกันในช่วงเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง และ upload พร้อมๆกัน วิธีนี้ช่วยประหยัด battery บน devices ของผู้ใช้ และลดการใช้ network data อีกด้วย

การที่เราจะ test หรือ ดู DebugView report นั้น เราต้องเปิดใช้งาน Debug mode บนเครื่องเทสของเราก่อนนะคะ เพื่อ upload events นั่นเองค่ะ

Note: เพื่อป้องกันไม่ให้การ test และ development ส่งผลกระทบต่อการ Data Analysis event ที่ถูก log ในขณะที่อยู่ใน debug mode จะถูกแยกออกจากข้อมูล Analytics และจะไม่ถูกรวมใน daily BigQuery อีกด้วย

Reporting

เมื่อเปิดใช้งาน Debug mode บนเครื่องเทส ของเราแล้ว ให้ไปที่ DebugView ที่อยู่ตรงหัวข้อ Analytics ตรงแถบซ้ายมือของ page

จากนั้นเพียงแค่เราเริ่มใช้ Application เราก็จะเห็น Event ต่างๆของ App ที่ถูก log ไว้ใน DebugView report

Seconds stream (คอลัมน์กลาง) จะแสดง events ที่ถูก log ไว้ใน 60 วินาทีล่าสุด

Minutes stream (คอลัมน์ซ้าย) จะแสดงเป็น ชุดของ events ในช่วง 30 นาทีล่าสุด

ส่วนคอลัมน์ด้านขวาแสดง Top Events และ User Properties Active Nowในช่วง 30 นาทีล่าสุด

Seconds stream

โดยค่าเริ่มต้น เราจะเห็น list ของแต่ละ event ที่ถูก log ไว้ใน 60 วินาทีล่าสุด แต่ละ event จะแสดง timestamp ที่สอดคล้องกับเวลาของการ logging บนเครื่องเทส เราสามารถ click ที่ event เพื่อดู list ของ parameters ที่เกี่ยวข้องกับ event นั้นๆได้อีกด้วย

เมื่อค่าของ User property เปลี่ยนแปลงระหว่างการใช้งาน เราก็จะเห็น list event เปลี่ยนแปลงเช่นกัน

ค่าของ User property ตอนที่ส่งมาจะต้อง Set UserID ก่อน แล้วก็ทำการ Set ค่าของ User property อื่นๆเข้ามา โดยที่จะเขียนเป็น key: value

ถ้าในการส่งค่า User property ที่ UserID ตัวเดิม แต่มีการเปลี่ยนค่าของตัว value จะแสดงเป็นรูปสีส้มด้านบน

ตัวอย่างเช่น:

set UserId: A
device_id(key): 1111122222(value)
app_id(key): appA(value)
wifi(key): homeWifi(value)

มีการส่งข้อมูลชุดนี้เข้ามา 1 ครั้ง ถ้ามีการส่งข้อมูลชุดนี้เข้ามาอีกแต่มีการเปลี่ยน value แบบนี้

set UserId : A
device_id(key): 1111122222(value)
app_id(key): appA(value)
wifi(key): newhomeWifi(value)

ค่าข้อมูล wifi(key): newhomeWifi(value) จะแสดงเป็นรูปสีส้มด้านบน

Note: เคสนี้จะเป็นเฉพาะการใช้คำสั่ง Set UserProperty เท่านั้น!!!

Minutes stream

Minutes stream นี้ จะแสดง circles ซึ่งแต่ละ circles จะแบ่งเป็น circle ละ 1 นาที ของเวลาในช่วง 30 นาทีที่ผ่านมา ตัวเลขใน circle จะระบุจํานวน events ที่ได้รับในนาทีนั้นๆ เมื่อ User click ที่ circle ใด circle หนึ่ง จะมี event detail ใน Seconds stream กับ event ที่ถูก log ไว้ในช่วงเวลานั้น

ตรงนี้ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบ events ที่ถูก log ไว้ในช่วง 30 นาทีที่ผ่านมาอย่างละเอียด

ตรงนี้ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบ events ที่ถูก log ไว้ในช่วง 30 นาทีที่ผ่านมาอย่างละเอียด

Top Events and User Properties Active Now

ตาราง Top Events จะแสดง Top events ที่ถูก log ไว้ในช่วงระยะเวลา 30 นาที

และตาราง User Properties Active Now แสดงสถานะล่าสุดของ User สําหรับเครื่องเทส.

Device selector

เนื่องจากเครื่องเทสที่มีความแตกต่างกันจํานวนมาก ที่สามารถเปิดใช้งานโหมด Debug mode พร้อมๆกัน เราสามารถใช้ Device selector เพื่อเลือก Device เฉพาะที่เราอยากจะดู DebugView ได้.

จบแล้วค่าาา ขอบคุณที่อ่านจนจบน๊า

หวังว่าบทความนี้จะช่วยเพื่อนๆได้ไม่มากก็น้อย ขาดตกบกพร่องประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ (:

Reference:

(2020). Debugging Events. Retrieved June 10, 2020, from https://firebase.google.com/docs/analytics/debugview/

--

--