Tapaphorn Nooymueng
te<h @TDG
Published in
3 min readAug 26, 2019

--

The House of Enterprise Agility (พิมพ์เขียวการสร้างบ้านหลังใหญ่ให้ปราดเปรียว)

ต่อจากบทความเรื่อง Agile Thailand 2019 ขอเล่าต่อด้วย Session ที่สอง: The House of Enterprise Agility

หากเราเริ่มศึกษา Agile มากขึ้น แล้วเริ่มสับสนในการนำ Framework ต่างๆของ Agile มาปรับใช้ Speaker แนะนำให้นำหลักของ The House of Enterprise Agility มาเป็นตัวตั้งต้น แล้วค่อยปรับ process ทั้งหมดขององค์กรให้เดินตาม Concept ของบ้านหลังนี้ โดยบ้านหลังนี้มีส่วนประกอบๆต่างๆดังนี้

Customer Satisfaction

แน่นอนจุดมุ่งหวังขององค์กรส่วนใหญ่ทำเพื่อให้ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า ปัจจัยหลักๆสำหรับลูกค้า คงหนีไม่พ้น การได้มาซึ่งสินค้า(บริการ) ทีดีกว่า(Quality) ไม่ต้องรอนานๆ(Delivery) และถูกกว่า(Cost)

Objectives and Key Results

เมื่อเรามีเป้าหมายขององค์กรแล้ว ดังนั้นเราก็ต้องมีการวัดผลการดำเนินงานว่าพนักงานสามารถปฎิบัติงานได้ดีเพียงไร จึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดตัวชี้วัดของเป้าหมายของการทำงาน โดยทั่วไปแล้ว การวัดผลงานมักประเมินผลจากการทำงานของทั้งปี แต่การวัดผลนั้นสามารถแบ่งการวัดผลได้ตามเดือน หรือตามไตรมาสก็ได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พนักงานมีความตั้งใจในการทำงานอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี

Interactions

ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน สามารถเกิดขึ้นจาก Activities ต่างๆเช่น stand up meeting, การทำ Planing, การทำ Retrospective เพื่อ การทำ Improvement, การอัพเดท Dependency ระหว่างกัน หรือการรวิวแผนกลยุทธ์

Visualizations

ในการทำงานนั้น บางครั้งอาจมีงานยิบย่อย หรืองานที่ต้องทำหลายๆอย่าง ซึ่งบางงานอาจจะมีเป็นงานสำคัญที่ต้องทำเลย หรือบางงานสำคัญเหมือนกันแต่อาจจะยังไม่จำเป็นต้องทำ ณ เดี๋ยวนี้ ดังนั้นเราควรมีเครืองมือในการช่วยจัดการ Task ของงานต่างๆ เพื่อป้องกันการตกหล่น และสามารถจัดลำดับความสำคัญได้ ทั้งยังเป็นการแสดงผลของ task งานต่างๆให้ทุกคนเห็นภาพตรงกันว่ามีงานอะไร ต้องทำเมื่อไหร่ ซึ่งเครื่องมือเหล่านั้นได้แก่ Scrum Board, Scrum Board, Sprint backlog, User story Map, Roadmap และอื่นๆ

Teal Organization

องค์กรของเรามีวิวัฒนาการมาจากแบบใด จากรูปด้านล่างเป็นตัวอย่างขององค์กรที่เป็นที่รู้จัก ซึ่งเป็นลักษณะของแถบสี สามารถอ่านรายละเอียดและความหมายของแถบสีได้จาก https://medium.com/@bluegear/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B9%8C-764a51d31c83

Intrinsic Motivated People

ในองค์กรที่ต้องการให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นได้นั้น เราต้องใช้การ Motivated(การสร้างแรงจูงใจ) ให้กับพนักงาน ซึ่งหลักการที่เป็นที่นิยมในการสร้างแรงจูงใจแบ่งเป็น 3 อย่างคือ

Autonomy : คือการให้สิทธิเปิดกว้างกับพนักงานในการสร้างสรรผลงานด้วยทิศทางของตัวเอง

Mastery : คือ Concept ของการปรับปรุงตัวเอง พัฒนา skill ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

Purpose : เป็น Concept ของการพัฒนาสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น นอกเหนือจากการพัฒนาตัวเองแล้ว

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tutor2u.net/business/reference/motivation-pink-three-elements-of-intrinsic-motivation

Flight Levels

จากด้านบนเป็นการพูดของในส่วนของการทำงาน การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และการบันลุเป้าหมายในการทำงานแล้ว ต่อไปจะเป็นเทคนิคของการทำงาน เพื่อการทำงานและการติดต่อสื่อสารเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ในหัวข้อนี้คือการติดต่อสื่อสาร ระหว่างชั้นของบุคคลในระดับการทำงานต่างๆ

ในองค์กรส่วนมาก มักจะประกอบไปด้วยพนักงานในระดับต่างๆ คือ ระดับปฎิบัติการ ระดับหัวหน้าผู้ปฎิบัติการ และระดับผู้บริหาร ซึ่งพนักงานในแต่ละระดับจะมีความใกล้ชิดและติดต่อสื่อสารกันมากในระดับเดียวกัน ดังนั้นเพื่อให้การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น เราควรกำหนดการสื่อสารข้ามระดับ เพื่อให้ทุกระดับเข้าใจถึงการทำงานร่วมกันมากขึ้น และมีการ Cross ข้อมูลของพนักงานในแต่ระดับเพื่อให้พนักงานในแต่ลระดับมีความเข้าใจกันมากขึ้น และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Agile Mindset

ในการทำงาน หรือการดำเนินชีวิตก็ตาม Mindset ของคนเราย่อมไม่เหมือนกัน เพราะต่างคนต่างที่มา ดังนั้นการเรียนรู้ หรือประสบการณ์ต่างๆที่ได้พบเจอจึงไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น หากเรากำลังขับรถอยู่ แล้วมีรถคันหนึงขับสวนมา และเปิดกระจกลง แล้วพูดว่า “ควาย” เราจะรู้สึกอย่างไร แน่นอนหลายคนคงเข้าใจว่าเค้าด่า และงงกันไปว่าขับรถอยู่ดีๆทำไมต้องมาด่ากันด้วย รึบางคนปากไวอาจสวนกลับไปในทันทีว่า มึ..นั่นแหละ “ควาย” แต่อาจจะมีบางคน ที่สังเกตุเห็นสภาพแวดล้อมว่าเป็นเขตชุมชน ชนบท ซึ่งมีการทำไร่ทำนากัน และอาจเข้าใจว่า เราควรต้องฉะลอรถแล้ว เพราะข้างหน้าอาจมี “ควาย” เดินอยู่บนถนน !!

อะไรทำให้คนเราคิดต่างกัน คำตอบก็คือ “Mindset” เช่นกันกับ Agile Mindset ถ้าทุกคนมีความเข้าใจว่า Agile ก็หมายถึง การคาดหวังว่าจะต้องมี Change เกิดขึ้นก็จะช่วยให้การทำงานในระบบ Agile ของเรากับเรื่อง Change เป็นเรื่องปกติ และทำให้เราทำงานได้อย่างเป็นปกติ

Lean Thinking

จากรูปเป็นการยกตัวอย่างการทำ Agile ในรูปแบบ Scrum framework ด้วยระยะเวลา 2 สัปดาห์ต่อ sprint แต่จะเห็นว่า Process ที่เหลือทั้งหมดในองค์กรมีตั้งมากมาย ตั้งแต่การตั้ง , การอนุมัติ Gold plan, การขอ Budget, จัดซื้อ, การผลิต, การทดสอบ และการออก product สู่ตลาด ฉะนั้นการทำ Agile ควรนำไปปรับใช้ในทุกๆ process ในองค์กร ไม่ใช่แค่ในส่วนของการ Implement (การผลิตในอุตสาหกรรมซอร์แวร์) เท่านั้น ควรปรับให้ทุก process ในองค์กร Lean ที่สุด (ใช้ระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่อยู่ในเวลาและงบประมาณที่เพียงพอและคุ้มค่าที่สุดต่อองค์กร)

--

--