เก็บตกจากงาน NECTEC-ACE 2019

Suppawat Boonrach
TechNounia
Published in
3 min readSep 9, 2019

งาน NECTEC-ACE 2019 จัดขึ้นโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center : NECTEC หรือเนคเทค) ประจำทุกปี เพื่อแสดงผลงานวิจัยของทางเนคเทค และพันธมิตร รวมไปถึงการสัมมนาทางวิชาการ โดยปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 9 กันยายน ณ โรงแรม Centara Grand at Central Ladprao

แอดมินจะเสนอเฉพาะส่วนที่แอดมินไปเข้าไปรับชมมานะครับ แบ่งหัวข้อต่างๆ ดังนี้

AI for Thai

ทางเนคเทคได้เปิดตัว AI for Thai ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเอไอโดยคนไทย เพื่อคนไทย อันประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ Language, Vision และ Conversation ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อได้ด้วย APIs และ Services ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Basic NLP, Character Recognition, Speech to Text และอื่นๆอีกมากมาย

ต่อมามีการเปิดตัว “JibJib” ซึ่งเป็น Conversational user interface ที่คล้ายๆกับ Google Assistant หรือ Apple Siri

นอกจากนี้ยังมี “SuthichaiAI” นักข่าว Avatar จากคุณสุทธิชัย หยุ่น นักข่าวชื่อดัง ที่สามารถรายงานข่าวได้ในภาษาไทยภาคกลาง-เหนือ-อิสาน ส่วนภาษาภาคใต้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาครับ

โดยทั้งสองถูกสร้างขึ้นมาจากการประยุกต์ใช้งาน Service หลายๆตัวจาก AI for Thai นั่นเอง

MEMS CMOS Collaboration

***Session นี้นักวิจัยชาวไต้หวันจะบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ หากผิดพลาดตรงไหนต้องขออภัยด้วยนะ***

Session นี้จะเป็นนักวิจัยชาวไต้หวัน จากศูนย์วิจัย NARlabs (National Applied Research Laboratories) และ TSRI (Taiwan Semiconductor Research Institute) ซึ่งจะกล่าวถึงอุปกรณ์ MEMS (Microelectromechanical systems:ระบบไฟฟ้าจักรกลระดับไมโคร) และ CMOS (Complementary metal–oxide–semiconductor:สารกึ่งตัวนำชนิดออกไซด์ของโลหะ) ที่มาประยุกต์ใช้เป็น Sensor (อุปกรณ์ตรวจวัด), Actuator (อุปกรณ์กระตุ้นการทำงาน) ต่างๆ รวมไปถึงวงจรรวม สำหรับอุปกรณ์ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการพัฒนาทางด้าน AI (Artificial Intelligence), IoT(Internet of Things) และอุปกรณ์ทางการแพทย์(Biosensor for Medical Devices:อุปกรณ์ตรวจวัดทางชีวภาพสำหรับเครื่องมือทางการแพทย์)

Quantum Engineering in Thailand

Session นี้จะเป็นนักวิจัยสี่ท่านจากทางเนคเทคที่ทำงานวิจัยทางด้าน Quantum Technology ต่างๆ โดยเฉพาะดาวเด่นอย่าง “ควอนตัมคอมพิวเตอร์ หรือ Quantum Computer” (ใครอยากรู้ว่าคืออะไรลองลงไปอ่านต่อในลิ้งค์ด้านล่างโพสท์นี้ครับ) โดยเหล่านักวิจัยทั้งสี่ท่านจะมา Discussion ในสองประเด็นดังนี้ครับ

1.การต่อยอดเทคโนโลยีควอนตัม

ดร.อภิชัย : ปัจจุบัน Supercomputer ซึ่งเป็น Classical Computer สามารถคำนวณโครงสร้างโมเลกุลของ Caffeine เท่านั้น แต่ไม่สามารถคำนวณโมเลกุลขนาดใหญ่ๆได้ ความหวังจึงไปอยู๋ที่ Quantum Computer แต่ทว่าการพัฒนา Quantum Computer นั้นยังค่อยๆเป็นค่อยๆไป ปัจจุบันจึงมีการพัฒนา Quantum Simulation Platform สำหรับมารันใน Classical Computer ได้ ทำให้นักวิจัยสามารถทำงานวิจัยได้ง่ายขึ้น

ดร.สุจินต์ : การควบคุม Decoherence (สิ่งรบกวนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ที่รบกวนการเป็นสถานะควอนตัม) เพื่อให้เข้าใจ Noise(สัญญาณรบกวนเนื่องจาก Decoherence นั่นเอง) ซึ่งเป้นเรื่องค่อนข้างทำได้ยาก ส่วน Quantum Communication ก็มีความท้าทายในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ที่ต้องอาศัยหลักการQuantum มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Quantum Teleportation และ Quantum Cryptography

ดร.คณิณ :

-เครื่องสร้างตัวเลขแบบสุ่มเชิงควอนตัม(Quantum Random Number Generator:QRNG) ในปัจจุบันนำมาประยุกต์ใช้การในสร้างต้นแบบระบบสุ่มจับรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ต่อไปจะไปประยุกต์ใช้ในการออกสลากแบบดิจิทัล และ One-time password(OTP) ของธนาคาร

-Quantum Sensor ในอนาคต ที่สามารถตรวจจับสารเคมีต่างๆในระยะเวลาอันสั้นได้อย่างเที่ยงตรงและแม่นยำ

ดร.ปิยพัฒน์ : นาฬิกาควอนตัมอย่าง Ytterbium Ion Clock ที่สำคัญต่อการกำหนดมาตรฐานกลางของเวลาโลก ที่ต้องอาศัยปัจจัยทางความแม่นยำต่างๆมากมาย

2.การประยุกต์งานวิจัยสู่ Quantum Engineering

ดร.อภิชัย : เมื่อถึง ณ จุดหนึ่ง การพัฒนาสิ่งต่างๆจะสามารถทำได้ขึ้น เมื่อเทคโนโลยีควอนตัมไปได้ไกล เช่นการพัฒนา Drug Delivery(ตัวนำส่งยา) ที่จะสามารถค้นพบสมบัติและการออกแบบใหม่ๆได้

ดร.สุจินต์ : วิศวกรสามารถปรึกษากับนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัย เพื่อการัฒนาอุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.คณิณ : เดิมการวิจัยจะอยู่ในภาคการศึกษาเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันจะเข้าไปสู่บริษัทเอกชนชั้นนำที่ร่วมวิจัยจากภาคการศึกษาและนำงานวิจัยดังกล่าวมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด และมีอักกลุ่มหนึ่งคือนัวิจัยในภาคกการศึกษาออกไปตั้งบริษัท Startup เพื่อสร้าง Prototype ร่วมกับริษัทขนาดใหญ่ เพื่อสร้างสิ่งที่อยู่ในงานวิจัยให้ใช้งานได้จริง

ดร.ปิยพัฒน์ : การลดขนาดของอุปกรณ์ให้เล็กลง ก็ถือว่าเป็นเป้าหมายสำคัญของ Quantum Engineering เช่นการลดขนาดของนาฬิกาควอนตัมจนเล็กลงนั่นเอง

แถม : ช่วง Q&A

1.Quantum Teleportation สามารถเคลื่อนย้ายมวลสารได้หรือไม่?

ตอบ : ไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก Quantum Teleportation สามารถย้าย Quantum State ได้เท่านั้น

2.Quantum Computer จะใช้งานได้จริงเมื่อไร?

ตอบ : ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่ามีความพร้อมเพียงใดว่าจะนำเข้าสู่ตลาด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตพอใจในประสิทธิภาพของตัวอุปกรณ์แล้วหรือยัง

Selected Research and Publication : ONSPEC Series ชิปขยายสัญญาณรามาน

ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่าสัญญาณ Raman เกิดจากการยิงเลเซอร์ความเข้มข้นสูงไปยังวัสดุที่เราต้องการตรวจวัด ทำให้โมเลกุลของวัสดุดังกล่าวเกิดการกระเจิงแสงออกมา 2 ประเภท ได้แก่ ลำแสง Rayleigh ซึ่งมีความยาวคลื่นเดียวกันกับเลเซอร์ที่เรายิงเข้ามา และลำแสง Raman ที่เป็นส่วนที่กระเจิงออกมา ซึ่งวัสดุแต่ละตัวจะสะท้อนลำแสงนี้ออกมาไม่เท่ากัน ทำให้ทราบได้ว่าวัสดุแต่ละชนิดนั่นมี Spectrum ของลำแสง Raman ไม่เหมือนกันนั่นเอง

โดยชิป MEMS ตัวนี้ จะทำหน้าที่ขยายสัญญาณ Raman ของวัสดุได้ จะทำให้เห็น Intensity ของลำแสง Raman ได้เข้มขึ้นกว่าการทำ Raman Spectroscopy แบบปกติ เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจจับสารวัตถุระเบิดที่มีปริมาณน้อยได้อย่างดี

อ่านเพิ่มเติม

เกี่ยวกับงาน NECTEC-ACE 2019 https://bit.ly/2m4TDjD

เกี่ยวกับ AI for Thai https://bit.ly/2lE0ErE

เกี่ยวกับ SuthichaiAI https://bit.ly/2kaET2c

เกี่ยวกับ Quantum Computer https://bit.ly/2k2PYlI

#เทคไปเรื่อย #TechNounia #NECTEC_ACE #AIFORTHAI

ภาพบรรยากาศภายในงาน

ติดตามพวกเราได้ที่

เทคไปเรื่อย-TechNounia

--

--

Suppawat Boonrach
TechNounia

A hybrid Robotic/Chemical Engineer with Nano Engineering Degree