Jirattikan Sopang
THE EXISTING COMPANY
2 min readMar 16, 2020

--

หากพูดถึงสมุดกราฟ หลายๆคนอาจไม่เชื่อว่าคนที่ทำงานเก่งที่สุดจะใช้สมุดกราฟกันจริงๆหรอ เจ้าของบล็อกจึงอยากขอยกเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือ “ทำไม คนที่ทำงานเก่งที่สุดถึงใช้สมุดกราฟ”

สำหรับคนที่เริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ในหนังสือเล่มนี้ ได้บอกถึงเหตุผลและวิธีใช้สมุดกราฟที่ถูกต้อง ในการที่จะเริ่มใช้สมุดกราฟ แต่จะขอสรุปเนื้อหาเฉพาะสมุดกราฟในส่วนของวัยทำงานมาให้ผู้อ่านได้อ่านก่อน

ก่อนอื่นเราต้องมารู้กฎในการจดโน๊ตกันก่อนว่า จริง ๆ แล้ว เป็นยังไง

กฎข้อที่1: เปลี่ยนมาใช้สมุดกราฟ

การเปลี่ยนมาใช้สมุดกราฟ ข้อดีของมันคือ เราสามารถวาดแผนภูมิ ตาราง กราฟ หรือรูปตามแนวเส้นได้เป็นอย่างดีและยังสามารถจำได้ดีขึ้น วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล แก้ปัญหาได้ดีขึ้น หากต้องนำไปใช้ในที่ประชุม แน่นอนว่าเราก็จะวาดหรือตีเส้นทุกอย่างได้โดยไม่ต้องใช้ไม่บรรทัด ซึ่งในส่วนนี้มันก็จะช่วยลดเวลาในการจด และสามารถจดสรุปในที่ประชุมได้ทันเวลาอีกด้วย

Note : คนเราสามารถเปลี่ยนสมุดโน๊ตได้มากที่สุดเพียง 3 ครั้ง คือ 

กฏข้อที่ 2 : ใส่หัวเรื่องทุกครั้งในการจด

ในการจดโน๊ตทุกครั้งเราต้องใส่หัวเรื่อง เพื่อทำให้เวลากลับมาอ่านอีกครั้ง จะได้ไม่งงว่าตอนนี้เรากลับมาอ่านเรื่องอะไรอยู่ เหมือนเป็นการจัด Category ให้กับการจดโน๊ตของเรานั้นเอง

ตัวอย่างอยู่ในกฎข้อที่ 3

กฎข้อที่ 3 : การแบ่งพื้นที่บนหน้ากระดาษออกเป็น 3 ส่วน

สำหรับวัยทำงานการแบ่งพื้นที่บนหน้ากระดาษออกเป็น 3 ส่วน จะขอแนะนำอยู่ 2 แบบคือ แบบโตเกียว และแบบพอยต์ชีส

1. แบบโตเกียว

เป็นการแบ่งพื้นที่บนหน้ากระดาษออกเป็น 3 ช่อง ซึ่งด้านบนสุดของกระดาษสำหรับเขียนหัวเรื่อง ซ้ายสุดที่มีขนาดใหญ่กว่าทุกช่องสำหรับไว้จดเนื้อหา ช่องกลางสำหรับจดประเด็นสำคัญและช่องขวาสุด สำหรับเขียนแนวทางปฎิบัติ/Task

2. แบบพอยต์ชีส

เป็นการแบ่งพื้นที่บนหน้ากระดาษออกเป็น 3 ช่อง ซึ่งด้านบนสุดสำหรับการเขียนหัวเรื่องเช่นเดียวกันกับแบบโตเกียว แต่ช่องซ้ายสำหรับจดประเด็นสำคัญและช่องขวาสำหรับเขียนแนวทางปฎิบัติ/Task

ตัวอย่างการจดโน๊ตโดยใช้สมุดกราฟ

ข้อควรรู้สำหรับในการจดโน๊ตที่ดี

1. ควรจดสรุปในสมุดกราฟเป็นแนวนอน : การจดสมุดกราฟเป็นแนวนอนจะทำให้เรามองเห็นภาพได้กว้างกว่าแนวตั้ง ยกตัวอย่างง่ายๆ เราดูภาพยนตร์, TV ก็ล้วนเป็นแนวนอน เป็นต้น

2. สมุดกราฟที่ดีควรมีขนาด A4 : มีคนบอกว่า “ขนาดของสมุดโน๊ต = ขนาดความคิด” ดังนั้น ในการจดสรุปลงสมุดกราฟ ขนาดของสมุดกราฟไม่ควรเล็กกว่า A4 เพราะสำหรับวัยทำงาน ถ้าหากอยากคิดวิเคราะห์ให้ได้ดีขึ้น ควรเปลี่ยนมาใช้สมุดโน๊ตที่มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย

3. ควรใช้ปากกาไม่เกิน 3 สี : ไม่ใช่ว่าการใช้ปากกาหลายสีจะไม่เป็นผลดี แต่มันอาจจะเกิดความสับสนในการจดจำและลืมเป้าหมายในส่วนเนื้อหาที่ต้องการจดจำจริงๆ ดังนั้นสีที่แนะนำคือ แดง นำ้เงิน เขียว หรือ แดง น้ำเงิน ดำ

เพราะในวัยทำงานไม่ควรจะใช้ปากกาหลายสี มีแค่ 3 สำหรับแยกข้อเท็จจริงและความเห็นให้ชัดเจนก็เพียงพอในการจดแล้ว

4. ควรใช้คำเชื่อมคู่กับลูกศร 3 ชนิด : สำหรับแตกยอดความคิด สรุป และเน้นย้ำ เพื่อให้การจดสรุปในการประชุมอ่านง่ายและเข้าใจมากยิ่งขึ้น

สรุป

สุดท้ายนี้จากในหนังสือเขียนไว้ว่า “สมุดกราฟก็เหมือนกรอบ ซึ่งกรอบในที่นี้คือ วิธีคิด แนวทางการวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆ ซึ่งกรอบในที่นี้เปรียบเสมือนชั้นวางหนังสือที่ใช้สำหรับจัดระเบียบความคิด” ยิ่งถ้าเรามีชั้นวางหนังสือที่ดีและมีขนาดใหญ่เท่าไหร่ เราก็จะมีที่จัดระเบียบความคิดได้เยอะขึ้นและดีขึ้นตามไปด้วยเท่านั้น

source : หนังสือเรื่อง “ทำไม คนที่ทำงานเก่งที่สุดถึงใช้สมุดกราฟ”

--

--