Niran Banleurat
Knowledge Spiral
Published in
3 min readDec 18, 2019

--

Business Model Canvas และ Lean Canvas ต่างกันตรงไหน ควรใช้อะไรดี?

จะใช้ Business Model Canvas หรือ Lean Canvas ดี ? ในฐานะที่ผมใช้ทั้งคู่ จะขอมาแชร์ให้ฟัง พยายามจะไม่ลำเอียง ถึงแม้ว่าจะเป็น Strategyzer Innovation Coach ที่ร่ำเรียนมากับ Alex Osterwalder แต่จริงๆ แล้วผมเริ่มใช้ Lean Canvas ก่อน สอง tool มีความต่างในความคล้าย

  • ใครคิด?

Business Model Canvas เกิดขึ้นจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกปี 2004 เรื่อง The Business Model Ontology : A Proposition in a Design Science Approach ของ Alex Osterwalder โดยที่ปรึกษาตอนนั้นคือ Yves Pigneur โดย Business Model Canvas นี้ ตอนแรกหน้าตาเหมือน diagram เป็นกล่องๆ แล้วก็มีเส้นโยงไปมา แต่ทั้ง Alex และ Yves ได้นำ tools นี้ไปพัฒนาและทดลองใช้ร่วมกับ users หลากหลายประเทศ ภายหลังทั้งคู่ได้ตกผลึกออกมาเป็น 9 กล่อง และได้ร่วมกันเขียนหนังสือเรื่อง Business Model Generation ซึ่งกลายเป็นหนังสือเครื่องมือทางธุรกิจที่ขายดีระดับโลก

Lean Canvas พัฒนาโดย Ash Maurya โดย Ash พูดไว้ในหนังสือว่าเขาดัดแปลง Lean Canvas มาจาก Business Model Canvas

เคยถาม Alex ว่าตอนที่ Ash ทำ Lean Canvas เขาเคยมาขอคำปรึกษามั๊ย Alex ตอบว่าไม่เคย แล้วก็แอบทำหน้าเคืองๆ 55

  • ช่องไหนต่างบ้าง

Business Model Canvas มี 9 ช่อง คือ Customers Segment, Value Proposition, Channels, Customers Relationship, Revenue Streams, Key Resources, Key Activities, Cost และ Key Partners

Lean Canvas ก็มี 9 ช่อง แต่เปลี่ยนช่อง Customer Relationship เป็น Unfair Advantage เปลี่ยน Value Proposition เป็น Unique Value Proposition เปลี่ยน Key Resources เป็น Key Metrics เปลี่ยน Key Activities เป็น Solution และเปลี่ยน Key Partners เป็น Problems

  • ใครคือ Target Users สำหรับ tools ทั้งสองตัวนี้

หากถามคนคิด ทั้งคู่ก็จะตอบว่าใครก็ใช้ได้ ไม่ว่าจะเป็น corporate หรือ startups แต่จากการสังเกตของผมเอง ไม่ว่า adoption ภาษาที่เลือกใช้ หรือแม้แต่การที่ Alex หรือ Ash เลือกไปพูด จะเห็นชัดว่า Alex พยายามจะเน้น users ที่อยู่ใน Corporaet ส่วน Ash จะเน้น users ที่เป็น startups

  • แล้วจริงๆ corporate ต้องใช้ Business Model Canvas ส่วน startups ต้องใช้ Lean Canvas เหรอ?

ผมคิดว่าไม่จำเป็น ใครถนัดอะไรก็ใช้อันนั้น สำหรับคนที่เพิ่งเขียน Business Model Canvas ครั้งแรก จะกรอกช่อง Key Partners ยากที่สุด เพราะเราเริ่มคิดธุรกิจ เราก็ยังไม่ได้คิดว่าจะทำกับใคร ทำคนเดียวให้รอดก่อนแล้วกัน ส่วนของ Lean Canvas จะกรอกตรง Unfair Advantage กับ Key Metrics กันไม่ค่อยได้ เหตุผลคล้ายๆ กันก็คือ ยัง early stage อยู่มาก สองสิ่งนี้เลยอาจจะไกลตัว มโนไปไม่ถึง แต่ทั้ง Alex และ Ash พูดไว้เหมือนกันคือ หากกรอกช่องไหนยังไม่ได้ ก็ให้เว้นไว้ก่อน ไม่ต้องไปเกร็ง ไว้กรอกได้เมื่อไหร่ ค่อยกลับมากรอก

  • ทำไม Business Model Canvas ไม่พูดถึง Problems หรือปัญหาของลูกค้า?

หลายคนมองว่าการไม่พูดถึงปัญหาของลูกค้า เป็นสาเหตุที่ทำให้ Business Model Canvas ไม่สมบูรณ์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว Alex ตั้งใจจะแยกเรื่องการทำความเข้าใจลูกค้า หรือ put yourself into customers’ shoes ไว้อีก tool หนึ่ง คือ Value Proposition Design Canvas เขาเชื่อว่า Business Model Canvas เป็น tool ที่ช่วยสร้าง value ให้กับธุรกิจ และ Value Proposition Design Canvas เป็น tool ที่ช่วยสร้าง value ให้กับลูกค้า สองอย่างนี้ไม่ควรจะเอามาปนอยู่เป็นเรื่องเดียวกัน

  • สรุปแล้วจะใช้อะไรดี

แล้วแต่ความชอบเลยครับ หากมีใครมาบอกว่า Business Model Canvas ดีกว่า Lean Canvas หรือ Lean Canvas ดีกว่า Business Model Canvas อย่าไปเชื่อ ต้องทดลองทำเอง หากอ่านหนังสือของทั้ง Alex และ Ash แล้วเราจะเห็นว่าทั้งคู่ก็ base on แนวคิดเรื่อง Lean Startup, Design Thinking คล้ายๆ กัน แต่ภาษาหรือแนวที่เลือกใช้อาจจะเน้นไปคนละอย่าง เอาเข้าจริง ผมก็อ่านหนังสือของทั้งสองคน

สรุปของสรุป เครื่องมือ ก็ยังเป็นเพียงเครื่องมือ ที่ช่วยให้เราคิด ให้เราทำงานง่ายขึ้น แต่ถ้าสักแต่จะใช้เครื่องมือ โดยไม่เข้าใจแก่นของมัน หรือใช้ครั้งสองครั้งแล้วตัดสิน ก็คงไม่พาเราไปสู่เป้าหมายที่เราอยากไป ทั้ง Alex และ Ash บอกเหมือนกันว่าเราไม่มีทางเขียน Business Model Canvas หรือ Lean Canvas เพียงครั้งเดียวแล้วบอกว่ามันสมบูรณ์ เราต้องไป test test test แล้วเอา learning ที่ได้มาปรับเปลี่ยนในแต่ละช่อง มันเป็น neverending tasks ครับ 🙂

#BusinessModelCanvas #LeanCanvas #BMC #KnowledgeSpiral #AlexOsterwalder #AshMaurya

--

--

Niran Banleurat
Knowledge Spiral

Business model enthusiast. Business model and customers insights workshop facilitator. Corporate entrepreneur. Business writer. Gamer. etc.