Note จากการบรรยายพิเศษ “Surfing the Perfect Storm” โดย ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

Niran Banleurat
Knowledge Spiral
Published in
3 min readOct 21, 2022

เมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปฟัง ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล บรรยายพิเศษในงานของ MIT Alumni ในหัวข้อที่ชื่อว่า Surfing the Perfect Storm (ผมได้แชร์สไลด์ของงานนี้จาก ดร.กอบศักดิ์ไว้ใน post ก่อนหน้านี้ ลองไถไปดูใน feeds ก่อนหน้านี้กันนะครับ) จริงๆ ว่าจะแชร์ตั้งนานแล้ว แต่ยังหาเวลาเหมาะๆ ไม่ได้ เพราะโพสท์นี้ยาวแน่ๆ ถึงแม้จะผ่านไปเกือบเดือนแล้ว แต่ผมคิดว่าเนื้อหายังไม่ล้าสมัยเลยแม้แต่น้อยครับ

ดร.กอบศักดิ์ แบ่งการบรรยายออกเป็น 4 ช่วง จาก 4 มุมมอง ได้แก่ มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ นักลงทุน นักธุรกิจ และมุมมองในระดับประเทศ ผมจดมาเป็นลักษณะเหมือน personal notes อาจจะไม่ได้เรียบเรียงให้มันสวยงามบรรจงนะครับ ต้องขออภัย

:::::

มุมที่ 1: มุมมองนักเศรษฐศาสตร์

จริงๆ แล้วโลกของเราผ่านวิกฤติเศรษฐกิจมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น The Great Depression, Oil Shock, Latin America Debt Crisis, Asian Financial Crisis, Global Financial Crisis หรือ COVID-19 แต่ครั้งนี้แตกต่างจากครั้งที่ผ่านๆ มา

ที่การบรรยายครั้งนี้ใช้ชื่อว่า Surfing the Perfect Storm ก็เพราะว่าพายุลูกนี้มันใหญ่จริงๆ เรามองยังไม่ทะลุว่าปัญหานี้มันจะแก้อย่างไร ต่างกับ COVID-19 ที่เราเริ่มพอเห็นทางออกบ้างแล้ว

ผมชอบมากที่ ดร.กอบศักดิ์ให้การเปรียบเทียบว่าในช่วงโควิดที่ผ่านมา เราเหมือนอยู่ในอุโมงค์ที่มืดมิด ค่อยๆ คลำทางกันออกมา เพราะตอนนั้นก็ไม่รู้จะแก้ไขปัญหากันอย่าง ตอนนี้คลำทางมาจนเริ่มถึงปลายอุโมงค์แล้ว กำลังจะก้าวเท้าออกไป แต่ต้องต๊กกะใจเพราะพายุลูกเบ้อเร่ออยู่ข้างนอกอุโมงค์ วิกฤติรอบนี้เป็นวิกฤติใหญที่สุดในรอบ 80 ปี ตามมุมมองของ IMF จะว่าน่ากลัวก็ว่าน่ากลัว เพราะเศรษฐกิจน่าจะไม่ฟื้นขึ้นมาง่ายๆ แต่นักลงทุนบางคนก็อาจจะมองว่าตรงนี้เป็นโอกาส ก็แล้วแต่สายป่านและ risk appetite ของแต่ละคนแล้วล่ะครับ

มรสุมคราวนี้มันมาทีเดียว 3 ลูก คือ 1) ความขัดแย้งรัสเซีย-สหรัฐ นำมาซึ่งวิกฤติความขัดแย้งระหว่างประเทศ วิกฤติราคาพลังงาน วิกฤติอาหารโลก 2) FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ย นำมาซึ่ง ความปั่นป่วนนในตลาดการเงินโลก ความเป็นไปได้ว่าจะเกิด recession ในอเมริกาและประเทศต่าง และโอกาสเกิดวิกฤติใน emerging markets และสุดท้าย 3) จีน ซึ่งปรกติจะเป็น supersub แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจจีนเองก็ไม่ดีเท่าไหร่ ช่วยตัวเองก็ยากแล้ว คงช่วยเหลือคนอื่นไม่ได้มากนัก

:::::

มุมที่ 2 : มุมมองนักลงทุน

พายุลูกนี้หลายๆ Investment House บอกว่าไม่เคยเจอมรสุมลูกใหญ่อย่างนี้มาก่อน ทั้ง NASDAQ, Dow Jones, S&P500 ร่วงแรงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

แน่นอนว่าตัวละครหลักที่ช่วยปั่นให้พายุลูกนี้ใหญ่โตบะลักกั๊กก็คือ FED ประโยคเด็ดที่ ดร.กอบศักดิ์พูดก็คือ “FED นึกว่าคนไข้จะแย่จาก COVID เลยอัดยาบ้าเข้าไป ปรากฎว่า คนไข้ไม่ได้แย่ ยังสบายดี แต่มียาบ้าเต็มตัว” FED ก็เลยต้องดึงยาบ้าออกมาให้หมด

ตั้งแต่ต้นปีนี้นักลงทุนเทตลาดมาสองรอบ Bottom ของ Dow Jones ตอนนี้ต่ำว่าของเดือนมิถุนายนแล้ว และน่าจะไปต่อ ซึ่ง Dow Jones ก็ได้ลงไปต่ำกว่า Peak ก่อนเกิด Covid เรียบร้อยแล้ว

กราฟที่ร่วง นักลงทุนบางคนมองว่าเป็นโอกาส นักลงทุนเองก็เริ่มที่จะมองหาจังหวะเข้าตลาดแล้ว หุ้นเทคหลายๆ ตัว เช่น Amazon, Nvidia, Netflix, Meta ร่วงลงอย่างมาก โดยจากสถิติ “ตลาดจะ Bottom ช่วงกลางของวิกฤติเสมอ?” แต่คำถามใหญ่ๆ คือ จะรู้ได้ยังไงว่าตรงไหนมันคือกลางของวิกฤติ 555

อีกสถิติหนึ่งที่น่าสนใจคือ ในช่วง Bear markets return จะติดลบประมาณ ​35% หากมี Recession เข้ามาแจมด้วยจะลบเป็น 37% แต่หากจบแล้วภายใน 1 ปีจะขึ้น 40% ++ แต่คำถามเดิมก็คือ แล้วใครจะตอบได้ว่าตอนไหนมันคือจุดสิ้นสุดของ Bear market ระลอกนี้

จุดหนึ่งที่น่าจะพอเห็นสัญญาณ คือ จุดที่เป็น turning point เช่นในช่วงปี 40 มี turning point ในช่วงมกราคม 41 ที่ทางสหรัฐมีข่าวบัญชีเดินสะพัดเป็นบวกท่ามกลางวิกฤติ Subprime จุดเปลี่ยนนั้นคือคือวันที่ Timothy Geiner ประกาศ Stress Test

สำหรับรอบนี้ ปัญหาคือผู้คนเดาใจ FED ไม่ถูก และ Fed ก็ไม่บอกความจริง บางช่วงบางตอน ตลาดคิดเองเออเอง พยายามคิดว่า FED จะหยุดขึ้นดอกเบี้ย แต่สุดท้าย FED ก็ยืนยันหนักแน่นว่าจะขึ้นต่อ จนกว่า Inflation จะลง จริงๆ ท่านประธาน FED ก็ส่งสัญญาณชัดเจนหลายครั้งว่า เป้าหมายอันดับหนึ่งคือการจัดการกับ inflation จะต้องลดให้ได้ ไม่ว่าจะต้องแลกกับอะไร

ช่วงหนึ่ง FED ให้สัญญาณหลอกว่า 4.6 แต่ History มันบอกว่าจริงๆ เงินเฟ้อรอบนี้ แค่นี้ไม่พอ ต้องขึ้นอีก นี่คือสิ่งที่ FED อ้อมแอ้มไม่พูดหมด ความผันผวนยังไม่จบ ไม่แน่เราอาจจะเห็นการขึ้นดอกเบี้ย 6% ด้วยซ้ำ

โดยสรุป หากคุณเป็นนักลงทุน ตอนนี้ก็พอลงได้ แต่ค่อยๆ ทะยอยลง อย่าเทหมดหน้าตัก ยังไงอีก 2 ปี ก็คาดว่าเศรษฐกิจน่าจะเริ่มดีขึ้นให้คุณได้เก็บเกี่ยวผลตอบแทน

:::::

มุมที่ 3 : มุมมองนักธุรกิจ

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา FedEx ออกมาแถลงว่าตัวเลขการส่งสินค้าของบริษัทลดลงไปมากกว่า 22% อาจจะเป็นสัญญาณได้ว่า Recession กำลังมา จงพึงระวังเอาไว้

ถามว่ามันจะมาจริงตามที่ FedEx ออกมาเตือนหรือไม่ ก็ต้องย้อนไปดูสถิติ ซึ่งจะพอเห็นว่าที่ผ่านมา Fed ใช้ Recesssion เป็นเครื่องมือจัดการกับเงินเฟ้อ กล่าวคือ ตามประวัติศาสตร์ Fed ขึ้นดอกเบี้ยแล้วจะเกิด Recession ตามมาถึง 9 ใน 12 ครั้ง

หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ recession ก็คือ Housing ในอเมริกาขายได้เพียงครึ่งเดียวจากการคาดการณ์ การสร้างบ้านใหม่จะไม่เกิดขึ้น โดยท่านประธาน FED ก็กล่าวเอาไว้ว่า Housing section is red hot!!!

การที่ประธานาธิบดีปูตินเองพยายาม disrupt gas supply ในยุโรป ก็ทำให้ต้นทุนทำธุรกิจสูงขึ้น ราคาแก๊สในยุโรปบางประเทศ แพงขึ้นถึง 10 เท่า เราอาจจะเห็นธุรกิจปิดตัวอีกเรื่อยๆ โดยยุโรปอาจจะเข้าสู่ Recession เร็วกว่าทุกคน เนื่อจากในอดีตยุโรปแข่งขันได้ดีเนื่องจาก Cheap gas ในรัสเซีย แต่ตอนนี้มันไม่ถูกอีกต่อไป

จีนก็มีปัญหา ในอดีตจีนเคยเป็นซูเปอร์ซัพ เมื่อคนอื่นมีวิกฤติเศรษฐกิจ จีนจะดี แต่ตอนนี้วิกฤติน่าจะเกิดพร้อมกัน โดยจีนไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจมา 20 กว่าปีแล้ว (ทุกประเทศควรจะต้องเกิดวิกฤติ แต่จีนนั้น Abnormal) อาจจะถึงเวลาแล้ว สัญญาณที่สำคัญคือในภาคอสังหาฯ นอกจาก Evergrande ที่เป็นข่าวใหญ่โตไปทั่วโลก ยังมี Country Garden อสังหาเบอร์ 1 ของจีน ที่รายงานว่ากำไรร่วงลงถึง 96% และยังมีวิกฤติการประท้วงของผู้กู้ซื้อบ้านไม่ยอมจ่ายหนี้ให้ธนาคาร เพราะบ้านสร้างไม่เสร็จ

จีนวิกฤติแน่

สินค้าจีนจะทะลักเข้าไทยแน่ ผู้ประกอบการไทยเตรียมรับมือ

:::::

มุมที่ 4 : ประเทศ

Emerging Market Crises กำลังก่อตัวขึ้น คราวนี้จะเป็น Global Emerging Market Crises ไม่ใช่เฉพาะภูมิภาค แต่ทุกคนมีอาการเดียวกัน เพราะกู้เงินมาเยอะ ส่งออกไม่ได้เพราะ Global recession / reserve ก็หายไปหมดแล้ว

ยังมีอีกหลายประเทศที่จะตามรอยศรีลังกา เช่น ลาว

สำหรับไทยเอง เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเรามีเยอะพอตัว แต่ดร.กอบศักดิ์ขอว่าอย่าเอา reserve ไปสู้เรื่องค่าเงิน

ความหวังคือ ASEAN จะเป็น gateway เข้าสู่เอเชีย เพราะประตูหลายๆ ประตู เริ่มปิด เช่น รัสเซีย จีน อินเดีย ที่มัวแต่ไปพัวพันกับสงคราม แต่คำถามก็คือ gateway ที่ว่านี้จะอยู่ที่ไทยหรือเปล่า มันอาจจะไปลงที่เวียดนาม หรืออินโดนีเซีย เพราะสองประเทศนี้กำลังเติบโตอย่างมาก

:::::

โดยสรุป ความเห็นส่วนตัวของผมก็คือ ช่วงนี้การลงทุนอะไรก็ต้องระมัดระวังอย่างมาก ใครมีแผนจะใช้เงินครั้งใหญ่ หากเป็นไปได้ อาจควรจะพิจารณาเพื่อชะลอไว้ก่อนหรือไม่? การลงทุนสินทรัพย์ ก็น่าจะพอลงได้ แต่ไม่ควรเทหมดหน้าตักอย่างที่ ดร.กอบศักดิ์ แนะนำไว้ เป็น perfect storm หลังจากอุโมงค์ COVID ที่พวกเราต้องฝ่าฟัน ดังนั้นเตรียมกาย เตรียมใจ และเงินในกระเป๋าให้พร้อมครับ

เป็น session ที่สนุกมากๆ และผมได้ความรู้จาก ดร.กอบศักดิ์ มาแบบจุกๆ หาก note ที่ผมจดมานี้มีความผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า ใครมีความเห็นหรือข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ ยินดีนะครับ แบ่งปันกันได้ ขอบคุณมากครับ

--

--

Niran Banleurat
Knowledge Spiral

Business model enthusiast. Business model and customers insights workshop facilitator. Corporate entrepreneur. Business writer. Gamer. etc.