Blogging Guidelines

รูปแบบการเขียนบทความบน Medium แบบต่างๆ

Sakul Jaruthanaset
The S (mana)
4 min readSep 28, 2021

--

Photo by Aaron Burden on Unsplash

วิธี Submit บทความเข้า Publication

เมื่อเราเขียนบทความ แล้วต้องการส่งบทความเข้า publication สามารถทำได้โดย

  1. เลือก “…” แล้วเลือก “Add to publication”

2. เลือก publication ที่ต้องการ (ในตัวอย่าง คือ The S (mana)) แล้วเลือก “Select and contiune”

3. หลังจากที่เพิ่มเข้า publication เรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม “Submit” เพื่อส่งบทความเข้า publication นั้น (ทำครั้งเดียว)

รูปแบบของ Title

มี Title เพียงอย่างเดียว — เป็นการเขียนบทความโดยมีแค่ title เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ตามรูปที่ 1 ด้านล่าง

(รูปที่ 1) Medium — The Story Behind Medium’s New Logo

มี Title และ Subtitle — เป็นการเขียนบทความที่มีหัวเรื่องรองประกอบ โดยปรกติหัวเรื่องรองมีหน้าที่ช่วยให้คนอ่านรู้วัตถุประสงค์ของบทความ ตามรูปที่ 2 ด้านล่าง

(รูปที่ 2) Medium — Writing Alt-Text for Your Stories

ข้อสรุป

  1. หัวเรื่องย่อยจะมีหรือไม่มีก็ได้ (ถ้ามีจะดีมาก)
  2. หัวเรื่องย่อยจะเขียนสั้นหรือยาวก็ได้ (ถ้าสั้นได้จะดีมาก)
  3. ให้ใส่ [ ] หน้าหัวเรื่องเพื่อแบ่งหมวด เช่น [Tech], [Proposal]
  4. การเขียน “หัวเรื่องต้องกำหนดให้เป็น T ตัวใหญ่เท่านั้น” ไม่งั้นจะแยกหัวเรื่อง กับเนื้อหาของบทความไม่ออก ตามรูปที่ 3 ด้านล่าง
(รูปที่ 3) ตัวอย่างการใส่หัวเรื่องที่ผิด

รูปแบบการใส่ภาพแรกของบทความ

ไม่มีภาพนำบทความ — เป็นการเขียนบทความโดยไม่ได้มีภาพเสนอนำใดๆ ตามรูปที่ 4 ด้านล่าง

(รูปที่ 4) Medium — Helping writers build a portable email audience

มีภาพนำบทความ — เป็นการใส่ภาพก่อนที่จะเข้าถึงบทความ โดยใช้ภาพที่สื่อในสิ่งที่บทความต้องการนำเสนอ ตามรูปที่ 5 ด้านล่าง

(รูปที่ 5) Medium — The Definitive Medium Style Guide From Analyzing Medium’s Top 5 Writers

มีภาพนำบทความแบบเต็มจอ — วัตถุประสงค์เดียวกับตัวก่อนหน้า แต่ต้องการเน้นตัวภาพให้เด่น ตามรูปที่ 6 ด้านล่าง

(รูปที่ 6) Medium — Republican Members of Congress on Medium

ข้อสรุป

  1. จะมีหรือไม่มีก็ได้ และ จะใช้ style ไหนก็ได้ตามผู้เขียนเห็นสมควร

รูปแบบหัวข้อ

การเขียนบทความใน Medium นั้นสามารถเขียนหัวข้อได้ทั้งหมด 3 แบบ โดยเรียงตามความสำคัญดังนี้

  1. หัวข้อใหญ่ — กำหนดให้เป็นตัว T ใหญ่
  2. หัวข้อย่อย — กำหนดให้เป็นตัว T เล็ก
  3. ประเด็นยิบย่อย — ข้อความตัวหนา

ตัวอย่างการกำหนดหัวข้อทั้ง 3 แบบใน Medium จะได้ผลลัพท์ตามรูปที่ 7 ด้านล่าง

(รูปที่ 7) Medium — How to write an image description

ข้อสรุป

  1. ให้ใช้ ข้อ 1 ไปก่อน เพราะการแสดงผลหลัง publish ยังมีปัญหาอยู่
  2. กรณีที่เป็นรายการสามารถใช้ ข้อ 3 เพื่อช่วยในการอ่านได้

รูปแบบการจัดวางเนื้อหา

ในการเขียนบทความนั้นไม่ได้มีรูปแบบที่กำหนดใดๆตายตัว ดังนั้นเราจึงตั้งไกด์ไลน์ในการเขียนบทเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่จะถ่ายทอดเป็น 3 ส่วนตามลำดับคือ

  1. เกริ่นนำ — ให้คนอ่านรู้ว่าบทความนี้คืออะไรและจำเป็นที่ต้องอ่านหรือไม่
  2. เนื้อหา —ให้คนอ่านเข้าใจเหตุผลในการตัดสินใจเลือกทำอะไรหรือไม่ทำอะไร
  3. Summary — ให้คนอ่านได้ทวนว่าเขาได้เข้าใจประเด็นสำคัญของมันหรือไม่

ตัวอย่างการจัดวางเนื้อหาของ Saladpuk ตามรูปที่ 8 ด้านล่าง

(รูปที่ 8) Saladpuk — UML

รูปแบบของภาพประกอบ

รูปแบบการแสดงผล — เราสามารถกำหนดรูปแบบการแสดงผลของภาพได้ทั้งหมด 5 แบบดังนี้

  1. Full column-width images — ทำให้ภาพอยู่ในกรอบเดียวกับเนื้อหา
  2. Left-aligned images — ทำให้ภาพกับเนื้อหาอยู่ระดับเดียวกัน
  3. Out-set images — ทำให้ภาพเกินกรอบของเนื้อหาออกมา
  4. Screen-width images — ทำให้ภาพขยายเท่ากับขนาดของหน้าจอ
  5. Grids — เป็นการให้ระบบจัดการแสดงผลตามความเหมาะสม (ทำได้โดยการลากหลายๆไฟล์เข้ามาใส่ตัว web browser ซึ่งแสดงผลตามรูปด้านล่าง)

ข้อสรุป

  1. สามารถใช้ได้ทุกแบบ ตามผู้เขียนเห็นว่าสมควร

ข้อความใต้รูป

เราสามารถใส่ข้อความด้านล่างของรูปภาพได้ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบในการใส่ข้อความ เช่น อธิบายตัวรูปภาพ, อ้างอิงแหล่งที่มา, ใช้กำหนดรหัสของรูป ฯลฯ ซึ่งเมื่อใส่แล้วจะแสดงผลตามรูปที่ 9 ด้านล่าง

(รูปที่ 9) Medium — Neural Style Transfer: Creating Art with Deep Learning using tf.keras and eager execution

ข้อสรุป

  1. รูปประกอบบทความเพื่อความสวยงามไม่ต้องใส่ข้อความใต้รูปก็ได้
  2. รูปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาต้องใส่ข้อความใต้รูป เพื่อให้สามารถอ้างอิงได้

การอ้างอิงรูป

เวลาหารูปมาประกอบบทความ ให้ลองค้นหาจาก Unsplash ก่อน เพราะ Medium อำนวยความสะดวกเรื่องลิขสิทธิ์แล้ว ตามรูปด้านล่าง

Photo by Anastase Maragos on Unsplash

Paragraph

ตัวขึ้นต้น paragraph สามารถทำสวยๆแบบด้านล่างได้ แต่ภาษาไทยจะยังทำไม่ได้

Here at Medium, we care very much about our editor แม้ภาษาไทยจะให้มันขึ้นต้น paragraph แบบภาษาอังกฤษไม่ได้ก็จริง แต่เราสามารถใช้ภาษาไทยเขียนเข้ามาใน paragraph ประเภทนี้ได้ปรกติ

ข้อสรุป

  1. ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นก็ไม่ต้องทำ

Links

เราสามารถเอาลิงค์มาใส่ในบทความได้ 3 รูปแบบ

  1. https://www.saladpuk.com/basic/git
  2. บทความ Git พื้นฐาน
  3. เว็บพิเศษที่ของ Medium รองรับ เช่น Youtube, Medium ด้านล่าง

Youtube

Medium Blog

ข้อสรุป

  1. ให้เอาลิงค์ใส่ลงในข้อความ เช่น บทความ Git พื้นฐาน
  2. ลิงค์ที่ Medium รองรับสามารถใช้ได้
  3. กรณีที่ไปอ่านหรือแปลจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ ให้ใส่ลิงค์ไว้ใน References ด้านล่างบทความด้วย

Highlight

ตัวประเด็นยิบย่อยใน Medium เราจะเห็นภาษาอังกฤษชอบทำไว้ 2 style คือแบบทำให้เป็นตัวหนา กับ ไม่เป็นตัวหนา ตามรูปด้านล่าง

ข้อสรุป

  1. ใช้แบบไหนก็ได้

Quote

รูปแบบการใช้ Quote ใน Medium แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ

  1. ใช้กรณีอ้างอิง “ประโยคของคนอื่น”

So I’m working on a novel and something I’ve been trying out — mostly on Tumblr — has been to have people send me a number between 1 and however many pages of the novel are done so far. I reply with a sentence or two from that page. This has been a nice way to not only engage with people, but also to ensure that every page of this novel has SOMETHING I like and think is worth sharing. It’s been interesting so far from Shannon Hugman

2. ใช้กรณีอธิบายของที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาหลัก เช่น Case Study, Note, Warning

NOTE — A software engineer is a person who applies the principles of software engineering to the design, develop, maintain, test, and evaluate computer software. The term programmer is sometimes used as a synonym, but may also lack connotations of engineering education or skills.

ข้อสรุป

  1. ให้ใช้ Quote กรณีที่ อ้างอิงประโยคของคนอื่น กับ เนื้อหาที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาหลัก

Code

Medium มีช่องทางในการนำโค้ดเข้ามาใส่ในบทความ 2 วิธีคือ

  1. ใช้ Code Block ที่อยู่กับตัว Medium เอง (ไม่รองรับ Syntax highlighting)

2. ใช้ช่องทางอื่นที่ Medium รองรับ เช่น Github Gists, Codepen.io, JSfiddle embeds (โหลดช้า)

ข้อสรุป

  1. ใช้ของที่มีใน Medium ก็เพียงพอแล้ว (```)
  2. เพื่อป้องกันปัญหาการจัดรูปแบบของโค้ดให้กดวางด้วย CTRL + SHIFT + V

รูปแบบภาษาที่เขียน

  1. ไม่ต้องใช้ภาษาทางการหรือคำศัพท์สูง ใช้คำกลางๆที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย
  2. ไม่ให้ใส่ Emoji

Summary

  1. การใช้งานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผู้เขียนเห็นว่าเหมาะสม
  2. การเขียนหัวข้อให้ใช้ หัวข้อใหญ่
  3. เนื้อหาให้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ เกริ่นนำ, เนื้อหา, Summary
  4. รูปที่เกี่ยวกับเนื้อหาต้องสามารถอ้างอิงได้
  5. รูปประกอบทั่วๆไปให้ลองหาจาก Unsplash ก่อน
  6. อย่าลืมใส่อ้างอิงใน References ด้านล่างด้วย (ถ้ามี)
  7. Quote ใช้กับของที่ไม่เกี่ยวกับบทความหลัก หรือ ประโยคอ้างอิง
  8. โค้ดใช้ Code-block ที่ Medium มีก็พอ
  9. รูปแบบภาษาที่เขียนให้ใช้คำกลางๆ อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ไม่ใส่ Emojo

--

--