คำถามที่ถูกต้องในโลกของ Lean Start Up และ Agile Software Development

If You Need Valuable Information, Try To Ask Open Questions

Piyorot
The Way It Should Be
1 min readOct 18, 2014

--

The Way It Is

กับงาน New Product Development หรือ Product Enhancement รู้สึกยังไงคำถามที่ลงท้ายด้วยคำว่า “จะเสร็จเมื่อไร?” ครับ ผมมีความรู้สึกแปลกๆกับคำถามนี้มาสักพักแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำถามนี้ถูกถามในทีมที่บอกว่าประยุกต์ใช้หลักการ Agile Software Development และ Lean Start Up ในการทำงาน … เหตุผลมีดังนี้

  1. “จะเสร็จเมื่อไร?” เป็นคำถามที่บอกเราว่างานนี้ Fix Scope / Flexible Schedule ถ้าผมตอบว่า 6 เดือนแล้วมันเป็นคำตอบที่คนถามพอใจมันมีนัยยะว่าเรามั่นใจมากเลยนะว่า Scope (หรือ Requirement) ที่เราคิดไว้มันจะถูกต้องโดนใจลูกค้าแบบ 100% แต่ความจริงมันเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ 80% มันจะไม่ถูกต้อง คำถามนี้มันเป็นการขัดขวางการเรียนรู้จากข้อมูลจริงเพียงอย่างเดียวที่มีในโลกซอฟต์แวร์นั่นคือความคิดเห็นและความพึงพอใจของลูกค้าเพราะกว่าเราจะรู้ว่า Scope มันห่วยก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน ++ นี่คือ Waste ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
  2. “จะเสร็จเมื่อไร?” เป็นคำถามปลายปิดที่ไม่มีประโยชน์อะไรเลย มันเป็นการสร้างความกดดันอย่างยิ่งให้คนที่ต้องถูกบังคับให้ตอบแล้วสวนใหญ่คนที่ต้องตอบจะเป็นคนที่ไม่ได้ทำงานเอง ถามว่าเค้าเอาคำตอบมาจากไหน ก็ (พูดให้สุภาพหน่อยว่า) คาดคะเนอย่างมีการศึกษา (Educational Guess) ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็นั่งเทียนกันทั้งนั้น ปัญหาที่ตามมาคือคนถามก็เอาคำตอบนี้ไปยึดมั่นถือมั่นมากว่ามันต้องเป็นตามนั้น (เค้าก็ไม่ผิดหรอก เค้าก็เลือกที่จะเชื่อตามที่เราบอกอยู่แล้ว) ทีนี้ถ้าไม่ได้ตามนั้นหละ ตามสูตรก็มีอาจจะมีบทลงโทษกันบ้าง แล้วที่ขำคือเค้าก็ถามใหม่ว่า “อะ แล้วมันจะเสร็จเมื่อไร?” 555 กลับเข้าวงจรเดิม

ถ้าเราเป็นคนต้องถาม เรามีทางเลือกอะไรบ้าง … ผมคิดได้สองทางครับ

The Way It Should Be

เปลี่ยนคำถาม

เปลี่ยนคำถามเป็น “ภายในเดือนพฤศจิการยนนี้ คิดว่าจะทำอะไรเสร็จบ้าง?” คำถามนี้เป็นการเปลี่ยนมุมมองการทำงานจากเดิมเป็น Fix Schedule / Flexible Scope มันช่วยในหลายๆเรื่องครับโดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้คนทำงานทุกคนรู้ว่าเป้าหมายเรามีร่วมกันคือไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเราต้อง Release วันที่ 30 พฤศจิกายน มันเป็นคำถามที่จะช่วยให้ทุกคน (หวังว่านะ) มานั่งคุยกันว่า เฮ้ย เรามีเวลาแค่นี้เราควรทำ Requirement ไหนก่อนหลังยังไง อะไรที่ทำแล้วจะเกิดคุณค่าทางธุรกิจสูงสุด แน่นอนมีเรื่องต้องพูดคุยถกเถียงกันมากแต่ผมว่าเป็นการถกเถียงที่ได้ประโยชน์กว่าตบตีกันเรื่องงานจะเสร็จเมื่อไรนะ

เปลี่ยนแนวคิด

ลดๆการถามคำถามปลายปิดอย่าง “จะเสร็จเมื่อไร?” มาเป็นคำถามปลายเปิดมากขึ้น … ตอนนี้ผมคิดได้หนึ่งคำถามนั่นคือ

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เราเรียนรู้อะไรบ้าง?

คำถามนี้ได้แนวคิดมาจากหลักการ Validated Learning ใน Lean Start Up สำหรับผมคำถามนี้จะเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานทั้งหมดไปเลย มันเป็นคำถามที่คนทำงานอยากฟัง อยากตอบ และอยากคิดเพื่อการปรับปรุงการพัฒนาให้อะไรๆมันดีขึ้น ซึ่งความสำคัญมันอยู่ตรงนี้ครับ คำว่า Validated Learning คือเมื่อมี Idea เกิดขึ้น เราจะทดลองและวัดผลอย่างรวดเร็วกับโลกแห่งความจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ว่ามันเวิร์คหรือไม่ สิ่งนี้จะเหมือนเป็นการผลักดันให้ทีมมีการวางแผนและวัดผลที่ดีขึ้นเพื่อ

  1. หาทางทดสอบ Idea บ่อยๆ (Release Often)
  2. หาทางเลือกทำเฉพาะสิ่งที่สำคัญจริงๆก่อน (Prioritization)
  3. หาทางวัดผลและเรียนรู้จากสิ่งที่ได้ทำ (Continuous Improvement)

คำตอบที่ได้อาจจะสร้างความประหลาดใจให้คนถามก็ได้นะ เช่น

  1. ลูกค้าไม่ชอบหน้าตา App แบบนี้
  2. ลูกค้าไม่ใช้ Feature ที่เราเพิ่งทำไปเลย แนวคิดนี้ห่วยแตก เลิกทำซะเถอะ เสียเวลา
  3. ลูกค้าส่วนใหญ่เราเป็นผู้หญิงหวะ ควรออกแบบ App ให้มี UI น่ารักๆดีมั้ย มาลองทำดูใน Sprint หน้าดีกว่า
  4. ลูกค้าเราไม่ใช้ Feature นี้เลย เอาออกดีมั้ย?
  5. Activation Rate เพิ่มขึ้น 50% เลยหลังจาก Release Feature นี้ไป แสดงว่าเค้าต้องชอบแนวนี้แน่ๆ ทำต่อเลยครับ
  6. งานเยอะไปนะพี่ ผมไม่พอใจกับ Quality เลย Sprint หน้าลดลงหน่อยได้มั้ย ผมจะได้มีเวลาจัดการกับ Quality ให้ดีกว่านี้
  7. อื่นๆ

ในอีกมุมนึงคำตอบที่ได้จากคำถามนี้มันเป็นความรู้ที่เอามา Reuse ได้ Share ได้ Develop ต่อได้ในระดับองค์กร … แล้วคำถามที่ว่า “จะเสร็จเมื่อไร?” หละ มันเอามาทำแบบนี้ได้มั้ย

ถึงวันนึงเราเป็นคนที่ต้องถามคำถาม ถ้าเลือกคำถามที่ว่า “ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เราเรียนรู้อะไรบ้าง?” ได้ก็จะเป็นพระคุณกับคนทำงานอย่างสูง

ผมเขียนบทความนี้เพราะอยากเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตซอฟท์แวร์ให้ดีขึ้นตามความเชื่อและประสบการณ์ของผม ถ้าเพื่อนๆเชื่อในแนวทางเดียวกัน เรามาช่วยกันคนละไม้คนละมือทำให้สังคมของเราดีขึ้นครับ จะแชร์บทความนี้ผ่าน Social Network หรือจะแบ่งปันเรื่องราวนี้ให้คนที่นั่งข้างๆฟังบ้างก็ได้

The Future Has Arrived — It’s Just Not Evenly Distributed Yet, William Gibson

อนาคตอยู่ตรงนี้แล้ว เรามีหน้าที่ต้องถ่ายทอดมันออกไปให้คนอื่นได้สัมผัสสิ่งดีๆร่วมกันครับ

--

--

Piyorot
The Way It Should Be

A member of Mutrack and Inthentic. I lead, learn, and build with vision, love and care. https://piyorot.com