เบื้องหลังของ CU Get Reg เราทำอะไร? และเราทำยังไง?

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาเล่าว่าเบื้องหลังแล้ว CU Get Reg เกิดขึ้นมาได้ยังไง? พวกเราทำอะไร? และเราทำงานกันยังไง? รับชมกันได้เลย!

CU Get Reg คืออะไร?​

CU Get Reg เป็น Web Application ที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกนิสิตจุฬาฯ ในการลงทะเบียนเรียนในแต่ละเทอม ซึ่งปัญหาหลัก ๆ ที่มีมานานแล้วนั่นก็คือ

  1. “ไม่มีระบบจัดตารางเรียน” ก่อนหน้านี้เราจะต้องจัดตารางเรียนโดยการจดใส่กระดาษหรือดีหน่อยก็จดใน Ipad แล้วดูว่าวิชาบังคับกับวิชาเลือกมันชนกันไหม บางครั้งวิชาหลักก็มีหลาย Section แต่ละ Section ก็เรียนกันคนละวันคนละเวลาอีก ทำให้มี Combination ของการจัดตารางเรียนหลากหลายรูปแบบมาก โดยทั่วไปเราก็ต้องอาศัย GenEd See You และเพจ Gen อย่าได้ Ed เป็นตัวช่วยในการหาวิชาเลือกแทน
  2. การจะหาข้อมูลเกี่ยวกับวิชาเลือกหรือ GenEd ค่อนข้างลำบาก เพราะระบบลงทะเบียนหลักไม่ได้บอกว่าวิชานี้เรียนเกี่ยวกับอะไร (เห็นแต่ชื่อวิชาแล้วก็ต้องจินตนาการเอา) แม้จะมี Website Official อย่าง GenEd Chula ที่มีระบบค้นหาวิชาที่ดีขึ้นและมีรายละเอียดมากขึ้นแล้ว แต่ก็มีปัญหาเรื่องการจัดตารางเรียนที่ยุ่งยากเหมือนเดิม
  3. ไม่มีระบบ Review รายวิชาที่ใช้งานง่าย จริง ๆ แล้วจุฬาฯ มีระบบประเมินรายวิชาก็จริง แต่ข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้ถูกเปิดเผย จึงทำให้เหล่าผู้ที่ต้องลงวิชาเลือกขาดตัวช่วยตัดสินใจในการตัดสินใจในการลงทะเบียนเรียน

CU Get Reg เกิดขึ้นมาได้ยังไง?

แม้จะมีปัญหาอย่างที่เล่าไปใน Paragraph ที่แล้วมานานหลายรุ่นแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครออกมาแก้ปัญหาเหล่านั้นจริง ๆ สักที ในฐานะที่พวกเรา (ชมรม Thinc.) ก็ทำ Web Application มาหลายอันแล้ว เราก็เลยคุย ๆ กันว่าเดี๋ยวมาทำ Web Application ที่แก้ปัญหาเหล่านั้นไหมระหว่างนั่งรถปอพ. ไป I’m Park เพื่อไปกินอะไรสักอย่าง (ลืมไปละ)

เราทำอะไรไปบ้าง?

ถ้าจะให้เรียง Timeline ทั้งหมดก่อนจะเปิดตัว Web Application อย่างเป็นทางการ ก็คงเป็นประมาณนี้

  1. หลังจากที่เราคุยกันในรถปอพ. เสร็จแล้ว เราก็ Recruit คนในชมรมว่าเอ้อ เดี๋ยวเราจะทำอะไรประมาณนี้นะ มีใครสนใจไหม ซึ่งก็ได้จำนวนคนซึ่งพอดีกับตำแหน่งที่ควรจะมีพอดี (เดี๋ยวเล่ารายละเอียดอีกที)
  2. จากนั้นก็ Brainstorm กันว่า Web Application นี้ควรมี Features อะไรบ้าง แล้วแต่ละ Feature ควรจะมี UX แบบไหน ใช้ Tech Stack อะไร จากนั้นก็สร้าง User Story ของแต่ละ Feature แล้วก็เริ่มแบ่งงาน
  3. เมื่อแจกแจง Feature พอประมาณแล้ว เราก็ไปทำ Prototype เพื่อเราจะไปคุยกับทาง สำนักทะเบียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยตรงเลยว่าเรามี Project ที่จะทำประมาณนี้มีความคิดเห็นว่าอย่างไรบ้าง และถ้าเราจะขอเปิดโครงการกับสนท. จะได้รึเปล่า
  4. หลังจากไปคุยมาเสร็จ สรุปแล้วเราก็ไม่ได้เปิดโครงกับสนท. แต่ได้ Server มาเครื่องหนึ่ง (ค่อนข้างแรงทีเดียว) และทางสนท. ก็ยินดีที่จะช่วยเหลือพวกเราเต็มที่ หากต้องการอะไรเพิ่ม 🙏
  5. หลังจากที่เรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินการเรียนร้อยแล้ว ขึ้นต่อไปก็คือ…นั่งปั่นงานที่ตัวเองได้นี่แหละครับ 555555555
  6. ก่อนปล่อยตัว เราได้วางแผนสำหรับการประชาสัมพันธ์เล็กน้อย และได้ไปติดต่อกับ เพจ Gen อย่าได้ Ed เพราะเป็นเพจที่ชาวจุฬาฯ ส่วนใหญ่ติดตามกันอยู่แล้ว ให้ช่วย Promote CU Get Reg ให้หน่อย ซึ่งทางนั้นเค้าก็ยินดีที่จะช่วยพวกเรามาก ๆ 🙏
  7. ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ ปล่อยตัว โดยวันแรกที่ปล่อย CU Get Reg ออกไป ผลตอบรับดีกว่าที่คาดการมาก ๆ !! (ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นเพราะ เพจ Gen อย่าได้ Ed แหะ ๆ) นี่ก็เป็นสถิติช่วงนั้น (เราเริ่มปล่อยวันที่ 27 มิถุนายน 2021)
สถิติช่วงที่เปิดตัวแรก ๆ ผู้ใช้ 24K?!

แต่ระหว่างทำเกิดปัญหา…ดองงาน??

ใช่ครับ จริง ๆ แล้วเราไม่ได้จะปล่อยวันที่ 27 มิถุนายน 2021 แต่เป็นก่อนหน้านั้น 3 วัน สาเหตุที่มันไม่เสร็จตามกำหนดการเป็นเพราะว่าทีมงานส่วนใหญ่พอสอบปลายภาคเสร็จแล้ว (ประมาณปลายเดืนพฤษภาคม) ก็ฝึกงานกันเลย (ต้นเดือนมิถุนายน) ทำให้ไม่ค่อยมีใครมาว่างทำ Function หลัก ๆ ของตัวเว็บเลย

วิธีแก้ก็คือ….ก็นั่งปั่นจนกว่าจะเสร็จนี่แหละครับ ช่วยไม่ได้ 5555555 ช่วงนั้นก็นั่งปั่นกันแบบว่าไม่ได้หลับไม่ได้นอนกันเลยทีเดียว แต่อย่างน้อย ๆ Function ขั้นต่ำสุดที่ควรจะมี (จัดตารางเรียน) ก็เสร็จก่อนการปล่อยตัวครั้งแรกครับ

หลังจากนั้นพวกเราก็เพิ่ม Feature ที่ควรจะมีตามมาเรื่อย ๆ เช่นเพิ่ม Description ให้ครบทุกวิชา, เพิ่มคะแนน SEO, เพิ่มระบบ Customize สีของตารางเรียน, เพิ่มระบบ Recommendation, เพิ่มระบบ Review และอื่น ๆ เล็กน้อย

แต่มันยังไม่จบ!

จริง ๆ แล้ว CU Get Reg ยังสามารถเพิ่ม Features นู้นนี่เข้าไปอีกได้มาก และเรามีแผนว่าจะเปิดเป็น Open Source เพื่อให้ Developer จากทั่วทั้งมหาวิทยาลัยมาช่วยกันพัฒนาระบบนี้ให้ดียิ่งขึ้นไปอีก หากท่านผู้อ่านท่านใดสนใจ สามารถไปกด Star ได้ที่

ซึ่งตอนนี้เรากำลังพยายามสร้าง Environment ที่ดีในการ Collaboarate (ซึ่งตอนนี้ยังไม่เสร็จ) เพราะฉะนั้นรอติดตามกันได้เลยนะครับ ❤️

ตอนต่อไป!!

เราจะมาเราถึง Technology ทั้งหมดที่ใช้ใน Project นี้ รวมไปถึงขั้นตอนและกระบวนการทำงานก่อนจะ Release สู่ Production รอติดตามชมกันได้เลย

ทิ้งท้ายเล็กน้อย

ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้นะครับ ตอนนี้ CU Get Reg ยังต้องการคนมา Operate งานต่อ (เพราะตอนนี้หลาย ๆ อย่างก็ยังต้องใช้มนุษย์ในการดูแลอยู่) และอีกไม่กี่ปีข้างหน้าทีมงานชุดปัจจุบันก็จะจบการศึกษาและคงไม่ได้ดูแล Project นี้ต่อแล้ว เพราะต่างคนก็คงทำงานประจำของตัวเองไป เพราะฉะนั้นหากท่านผู้อ่านท่านใดสนใจที่จะมาช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับชาวจุฬาฯ สามารถ Email ได้ที่ dev@cugetreg.com

--

--

Thinc.
Thinc.

Published in Thinc.

Thinc. is a student run organization whose aim is to incubate students for making impact to society by using IT development.