สถิติที่น่าสนใจของการทำงานแบบ Remote Working ในปี 2019

12 สถิติที่บอกว่า Remote Working ไม่ได้เป็นแค่เทรนด์อีกต่อไป และใกล้ตัวมากกว่าที่คิด!

thip
thipwriteblog
4 min readFeb 26, 2020

--

Photo by Andrew Neel on Unsplash

ช่วงนี้สถานการณ์ทั่วโลกไม่ค่อยเป็นใจกับการเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศสักเท่าไหร่ ทั้งเรื่องฝุ่น PM 2.5 และการระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19) สิ่งเหล่านี้ทำให้นึกถึงการทำงานแบบ Remote Working ขึ้นมาเลยค่ะ ดูมีแนวโน้มและความเป็นไปได้สูงที่รีโมทเวิคกิ้งจะเข้ามามีบทบาทกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งถ้าเลือกได้ใครๆก็คงอยากทำงานอยู่ที่บ้านมากกว่าที่จะต้องออกไปเสี่ยง

Remote Working หรือ การทำงานที่ไหนก็ได้ (work anywhere but not every time) เป็นรูปแบบการทำงานที่ปัจจุบันมีบริษัทหลายแห่งทั่วโลกเริ่มนำมาใช้ในองค์กรมากขึ้น (โดยเฉพาะบริษัทไอที) โดยอนุญาตให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้าน , ร้านกาแฟ , co-working space หรือที่ไหนก็ได้บนโลก

ขอแค่ยังมี Quantity (ปริมาณงาน) และ Quality (คุณภาพของงาน) ที่ดีและมีผลลัพธ์เทียบเท่ากับการนั่งทำงานใน Office เท่านั้นก็พอ

ฟังดูเหมือนว่า Remote Working กลายเป็นสไตล์การทำงานที่กำลังเป็นกระแสและได้รับความนิยมมากในยุคนี้ แต่ตัวเลขสถิติต่อไปนี้จะบ่งบอกเราได้ว่า Remote Working ไม่ได้เป็นแค่เทรนด์ (trends) อีกต่อไป

ข้อมูลนี้จะมีประโยชน์กับใครบ้าง?

  1. คนทำงาน : เพื่อที่จะได้เตรียมตัวและปรับตัว
  2. ทีม HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัท : เพื่อนำไปคิดวิธีการที่จะใช้ Remote Working ไปสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน
  3. ทีม Management : เพื่อมองหาแนวทางในเชิง Action Plan หากต้องทำงานแบบ Remote Working ขึ้นจะต้องวางแผนกับทีมยังไงบ้าง
  4. เจ้าของบริษัทหรือธุรกิจ : เพื่อพิจารณานโยบายและผลกระทบ และเป็นอีกทางเลือกในการดำเนินธุรกิจ
  5. คนที่มองหาไอเดียในการทำ Business ที่ตอบโจทย์ Life Style การทำงานยุคใหม่ : หากมีจำนวน Remote Worker ปริมาณมากขึ้น ตลาดโตขึ้น จะมีอะไรมารองรับและเป็นช่องทางในการทำ business ได้บ้าง

สามารถฟัง blog นี้ในรูปแบบ Audio Blog ได้นะคะ

Youtube
Spotify

Remote Working Report 2019 จัดทำโดย Buffer แพลตฟอร์มบริหารจัดการ Social Media โดยทำการสำรวจความคิดเห็นจาก Remote Workers หรือพนักงานที่ทำงานแบบรีโมทตัวจริงเสียงจริง เกือบ 2,500 คนทั่วโลก รวบรวมออกมาเป็น 12 สถิติที่น่าสนใจ มีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

99% ระบุว่าพวกเขาต้องการที่จะทำงานแบบ Remote

Image Source : www.buffer.com

95% ของผู้ที่ทำงานแบบ Remote Working แนะนำให้เพื่อนหรือครอบครัวทำงานในรูปแบบเดียวกัน

Image Source : www.buffer.com

Benefit หรือประโยชน์ของการทำงานแบบ Remote Working

40% - เน้นไปที่เรื่องของเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น (Flexible schedule)
30% - บอกว่าข้อดีคือทำงานที่ไหนก็ได้ (Anywhere)
14% - ที่มองเห็นว่าทำให้ได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น

เวลาทำงานที่ยืดหยุ่นทำให้พวกเขาสามารถไปออกกำลังกายตอนเช้า หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นอย่างงานอดิเรกควบคู่ไปกับการทำงานหลักได้ ทำให้เกิดความสมดุลในชีวิตการทำงาน (Work Life Balance) ลดความเครียดได้ ซึ่งพนักงานในช่วงอายุ 20–30 ปี ยุคนี้ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ชีวิตมากกว่าทรัพย์สินเงินทอง พวกเขาต้องการเรียนรู้ทุกแง่มุมที่สำคัญของชีวิต ไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องงานและเรื่องเงิน

Image Source : www.buffer.com

มาดูอุปสรรคของคนที่ทำงานแบบ Remote Working กันบ้าง

22% - เป็นเรื่องของการแยกโลกส่วนตัวออกจากโลกของการทำงาน
19% - เหงา ที่ต้องนั่งทำงานตามลำพัง
17% - พบปัญหาเรื่องการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานหรือทีมงาน

นอกจากนี้ยังมีเรื่องความแตกต่างระหว่าง timezone ของคนที่เราต้องทำงานด้วย หรือจะเป็นเรื่องที่ต้องคอยกระตุ้นตัวเองให้ Active อยู่ตลอด ท่ามกลางสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ชวนให้ Relax

Image Source : www.buffer.com

แล้วคนที่ทำงานแบบ Remote Working เขาได้ offer วันหยุดพักร้อนกี่วันต่อปี

ผลสำรวจสูงสุดคือ 32% บอกว่า พวกเขาสามารถลาพักร้อนได้ไม่จำกัด!!

Image Source : www.buffer.com

และเมื่อปีที่แล้ว (2018) พวกเขาใช้วันหยุดเฉลี่ยแล้วประมาณ 2 สัปดาห์

Image Source : www.buffer.com

มาดูเรื่องสถานที่ในการทำงาน Remote Working กันบ้าง

สถานที่ลำดับต้นๆที่คนทำงานรีโมทเลือกใช้ 84% ก็คือ “บ้าน” รองลงมาเป็น Coworking spaces , ร้านกาแฟ คาเฟ่

Image Source : www.buffer.com

สถานที่ทำงานรองลงมาของพนักงาน Remote Working คือ ร้านกาแฟ หรือคาเฟ่ คิดเป็น 37%

Image Source : www.buffer.com

เจ้าของธุรกิจ 91% สนับสนุนวิธีการทำงานแบบ Remote Working ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายงานเมื่อปี 2018 (88%)

จุดนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของบริษัท เพราะบางบริษัทไม่ได้อนุญาตให้พนักงานทั้งหมดในบริษัททำงานจากที่ไหนก็ได้ อาจจะมีบางทีมที่สามารถทำงานที่บ้านได้ และมีบางทีมที่จำเป็นต้องเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศเพื่อเจอลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นปัญหาที่ตามมาก็คือพนักงานทั้งสองกลุ่มนี้อาจจะมีการทำงานที่เกี่ยวข้องและต้องทำร่วมกัน หรือแม้แต่ทีมเดียวกันที่มีเปอร์เซ็นต์ความเป็นไปได้สูงมากที่จำเป็นต้องคุยงานด้วยกันในวันที่ Remote Working ไม่ตรงกัน อย่างเช่น วันนี้คนนี้มา อีกคนไม่มา ทำให้บริษัทหรือทีมอาจต้องมีการตกลงและวางแผนการทำงานร่วมกันให้ดีก่อน

Image Source : www.buffer.com

สุดท้ายมาดูสถิติที่เกี่ยวกับ ‘ค่าใช้จ่าย’ ในการดำรงชีพแบบ Remote Working กัน

หมายเหตุ :
เป็นค่าใช้จ่ายอ้างอิงจากพนักงานที่ทำแบบสำรวจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโซนยุโรป

แน่นอนว่า.. บริษัทส่วนใหญ่ คิดเป็น 75% ไม่ได้เพิ่มเงินให้พนักงาน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างวันจากการทำงานนอกสถานที่ แต่ก็ยังมีอีก 18% ที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้พนักงานด้วย (( ปรบมือ!! ))

การให้พนักงานทำงานที่ไหนก็ได้ สามารถช่วยบริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายๆส่วน เช่น ค่าเช่าพื้นที่สำนักงาน , ค่าแม่บ้านทำความสะอาด , ค่าน้ำ , ค่าไฟ , ค่าอินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่ค่ากาแฟ น้ำดื่ม ของว่างต่างๆในออฟฟิศ

Image Source : www.buffer.com

ในส่วนของพนักงานก็มีทั้งรายจ่ายที่ลดลงอย่างเช่น ค่าเดินทาง และรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างค่า internet , ค่ากาแฟ , ค่าสถานที่ หรือค่าสมาชิกใช้บริการ coworking spaces

มาดูค่าสมาชิก Co-Working Spaces ต่อเดือนของพนักงานที่ทำแบบสำรวจกัน

คนส่วนใหญ่เสียค่าสมาชิก Co-Working Spaces ต่อเดือนอยู่ที่ $ 1 — $ 100 หรือประมาณ 32–3,200 บาทต่อเดือน

Image Source : www.buffer.com

ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับ ‘ร้านกาแฟ’ นั้น เฉลี่ยอยู่ที่ $ 1 — $ 5 หรือประมาณ 32–159 บาทต่อสัปดาห์

Image Source : www.buffer.com

ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่ทำแบบสำรวจนี้

  • มีพนักงานจำนวน 2,471 คนที่ร่วมตอบแบบสอบถาม
  • 48% อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ส่วนอื่นๆได้แก่ อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์ อินเดีย ออสเตรเลีย อิตาลี
  • 38% เป็นพนักงานที่ทำงานในองค์กรที่เกี่ยวกับ Software ส่วนที่เหลือได้แก่
    ไอทีและบริการ — IT and Services (18%)
    การตลาด — Marketing (12%)
    สื่อสิ่งพิมพ์ — Media and Publishing (4%)
    การศึกษา — Education (3%)
    อีคอมเมิร์ซ — E-commerce (3% )
    องค์กรไม่แสวงผลกำไร — Non-profit (3%)
    การแพทย์ — Medical and Healthcare (2%)
    การท่องเที่ยว — Travel and Tourism (2%)
    ผู้ผลิตสินค้าบริโภค — Consumer products (2%)
    รัฐบาล — Government (1%)
    กฎหมาย — Law and Legal Services (0.5%)

**ข้อนี้ทำให้เห็นว่า การทำงาน Remote Working สามารถใช้ได้จริงกับแทบจะทุกหมวดหมู่ธุรกิจ

สรุปปิดท้าย

เราก็เป็นคนหนึ่งที่มีประสบการณ์การทำงานแบบ Remote Working ทั้งในกรณีฉุกเฉิน อย่างตอนช่วงน้ำท่วมหรือมีเหตุชุมนุม และในกรณีปกติที่บริษัทอนุญาตให้ทำงานแบบ Work at Home ได้ , โดยส่วนตัวเรามองว่ามันก็มีทั้งข้อดีและข้อที่ควรระวัง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การทำงานและความชอบส่วนตัว รวมไปถึงลักษณะการทำงานและการตกลงกันของทีมหรือองค์กร ไม่มีอะไรที่จะยืดหยุ่นได้ 100% และทุกเรื่องย่อมมีขอบเขต

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ พวกการ setup หรือเลือกใช้ Collaboration Tools ต่างๆ เพื่อมา support การทำงานแบบ Remote Working ซึ่งถ้าองค์กรไหนมีแผนที่จะใช้วิธีทำงานแบบ Remote Working ก็ต้องเตรียมเรื่องพวกนี้ไว้ด้วย

#Feel free to contact and feedback me : )

Youtube : thip
Blockdit: thip
Spotify : Thip Audio Blog
Anchor : Thip Audio Blog
Apple Podcast : to be continued

Facebook : thip
Twitter : thip
Email : thipwriteblog@gmail.com

--

--