หนี้สินในงบดุลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

ชวนมาทำงบดุลส่วนบุคคลของตัวเอง ตอนที่ 2

thip
thipwriteblog
1 min readJun 13, 2018

--

กลับมาแล้วค๊า “งบดุลส่วนบุคคล” ( Personal Financial Statement) ตอนที่ 2 นี้

เราจะพูดถึงเรื่องที่เกินกว่า 70 เปอร์เซ็นต์คนวัยทำงานต้องรู้จัก นั่นก็คือ “หนี้สิน” ค่ะ

แต่สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนที่ 1 แนะนำให้ย้อนกลับไป list รายการทรัพสินย์ของตัวเองมาก่อนนะคะ อ่านได้ที่ blog ก่อนหน้าตามลิงค์ด้านล่างนี้เลย

สินทรัพย์ในงบดุลส่วนบุคคลมีอะไรบ้าง

งบดุลส่วนบุคคลคืออะไร? ทำไมทุกคนควรทำ

หนี้สินคืออะไร?

หนี้สิน (Liabilities) หมายถึงเงินที่ลูกหนี้ติดค้างเจ้าหนี้ค่ะ

หนี้สินในงบดุลส่วนบุคคลจะแบ่งตามระยะเวลาได้ 2 ประเภท

1.หนี้สินระยะสั้น

คือหนี้สินที่มีระยะเวลาแห่งการเป็นหนี้น้อยกว่า 2 ปี

  • ค่าใช้จ่ายสาธารนูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์
  • ยอดคงค้างหนี้บัตรเครดิต
  • หนี้สินกู้ระยะสั้นอื่นๆ

2.หนี้สินระยะยาว

คือหนี้สินที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปนั่นเอง

  • ยอดคงค้างกู้ยืมซื้อรถยนต์
  • ยอดคงค้างกู้ยืมซื้อบ้าน
  • หนี้สินกู้ระยะยาวอื่นๆ

ถ้าอิงตามแบบฟอร์มงบดุลส่วนบุคคล ส่วนที่เป็นหนี้สินที่เราต้องระบุแจกแจงจะมีประมาณนี้ค่ะ แต่หากเรามีหนี้อย่างอื่นเพิ่มเติม ก็ให้ใส่ลงไปให้ครบ โดยแยกดูว่าควรอยู่ในส่วนของหนี้ระยะสั้น หรือระยะยาว

การเป็นหนี้ตามทฤษฎีทางการเงินบอกไว้ว่า เราไม่ควรก่อหนี้เกิน 20%-40% ของรายได้ต่อเดือน แต่หนี้ดีก็มีน๊า… เช่น หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ มากกว่ารายจ่าย, หนี้ปลอดดอกเบี้ย อารมณ์เหมือนเราเอาเงินคนอื่นมาสร้างรายได้ให้กับเรา โดยที่เราไม่ได้เสียอะไรนั่นเอง

เมื่อใส่ทุกรายการเรียบร้อยแล้ว ก็ให้รวมยอดออกมาเป็น 2 ส่วนค่ะ

  1. ยอดรวมสินทรัพย์ทั้งหมด
  2. ยอดรวมหนี้สินทั้งหมด

จากนั้นนำมาคำนวณหา “ความมั่งคั่งสุทธิของตัวเอง” ด้วยสูตรด้านล่างนี้

สูตรสรุปความมั่งคั่งการเงินส่วนบุคคล

  • ความมั่งคั่งของตัวเอง = สินทรัพย์ - หนี้สิน

ถ้ามีค่าเป็น “บวก” นั่นแปลว่าเรามีสินทรัพย์ มากกว่าหนี้ แปลว่าที่ผ่านมาเรามีการวางแผน ใช้จ่าย และจัดการเรื่องเงินได้ดีเลย

แต่ถ้าออกมาเป็นค่า “ลบ” นั่นแปลว่าเรามีหนี้มากกว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องหันมาทบทวนถึงการจัดการหนี้ยังไงให้สามารถลดมูลค่าของหนี้ได้ ลดในส่วนยอดหนี้และระยะเวลาแห่งการเป็นหนี้ รวมถึงการหันมาสร้างทรัพย์สินเพิ่มเติม เก็บสะสมไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ หากเราอยากรู้ว่าเราควรมีค่าความมั่งคั่งเป็นยอดเท่าไหร่ ก็สามารถคำนวณได้จากสูตรด้านล่างนี้

สูตรคำนวณเกณฑ์ความมั่งคั่งพื้นฐาน

  • เกณฑ์ความมั่งคั่งพื้นฐาน = (อายุงาน x รายได้ต่อปี) / 10

ตามอ่านกันมาถึงตรงนี้แล้ว ไปลงมือทำกันเถอะค่ะ ครึ่งปีแล้วจะได้ทบทวนและออกเริ่มวิ่งใหม่อีกครั้ง มีไฟล์ Excel ที่พร้อมกรอกและคำนวณข้อมูลมาฝากกันด้วย สามารถไปดาวน์โหลดแล้วลองใส่ข้อมูลทำเก็บไว้นะคะ สักสิ้นปีลองเปิดมาทบทวนดูใหม่ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ การเงินของเราต้องดีขึ้นแน่นอนค่ะ

คลิกดาวน์โหลดแบบฟอร์ม

--

--