20 เรื่องที่ควรเรียนรู้ เมื่ออยากเริ่มต้นทำธุรกิจ STARTUP (ตอนที่ 1)

20 Topics You Need to Know When Become Start-up Founders

thip
thipwriteblog
3 min readMar 30, 2021

--

Photo by Austin Distel on Unsplash

หากพูดถึงการเริ่มต้นทำธุรกิจสตาร์ทอัพ หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่ายที่ใคร ๆ ก็สามารถเริ่มต้นและลงมือทำได้ แต่สิ่งที่ยากก็คือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจสตาร์ทอัพมั่นคงและเติบโตไปได้เรื่อย ๆ

สิ่งที่ผู้เขียนได้เรียนรู้จากผู้ประกอบการธุรกิจ Startup หลาย ๆ ท่าน ที่ได้ถ่ายทอดประสบการณ์เจ็บจริงล้มจริง มันทำให้ผู้เขียนสรุปได้ว่า.. สิ่งหนึ่งที่ทำให้ Startup Failed หรือล้มเหลว ก็คือ .. “ความไม่รู้ ในสิ่งที่ควรรู้”

ในบทความนี้ได้รวบรวม 20 “หัวข้อ” ที่ควรเรียนรู้ สำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจสตาร์ทอัพ เป็นเหมือน guideline คร่าว ๆ ให้มองเห็นภาพรวมของการทำธุรกิจ Startup ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดนี้ผู้ประกอบการทุกท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำธุรกิจอื่น ๆ ได้ด้วย

บทความมีทั้งหมดสองตอน โดยในตอนที่ 1 นี้จะกล่าวถึง 10 หัวข้อแรกที่ควรเรียนรู้

1. Bootstrapping

Bootstrapping คือ การจัดหาทุนในการเริ่มต้นทำธุรกิจสตาร์ทอัพด้วยตัวเอง ซึ่งตรงกันข้ามกับการเริ่มต้นธุรกิจด้วยการระดมทุนจากนักลงทุนคนอื่น ๆ อันนั้นจะเรียกว่า Venture Capital (VC) Funding

เราอยากทำธุรกิจด้วยเงินทุนแบบไหน? ใช้เงินทุนตัวเอง หรือ ระดมทุนจากนักลงทุนคนอื่น ๆ

2. Co-Founders

Co-Founders คือ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เป็นทีมเวิร์คคนสำคัญที่ต้องเลือกอย่างพิถีพิถันกันแบบสุด ๆ คิดให้ครบทุกด้าน อ่านเกมธุรกิจที่กำลังจะทำให้ออก เพื่อความก้าวหน้าของธุรกิจ และป้องกันปัญหาที่อาจตามมาทีหลัง ที่สำคัญก็คือ ควรมีบันทึกข้อตกลงทุกเรื่องให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร

มีหลายกรณีศึกษาที่ธุรกิจพังไม่เป็นท่า เพราะผู้ก่อตั้งมีความคิดเห็นไม่ตรงกันในภายหลัง

3. Product

Product คือ ผลิตภัณฑ์ สินค้า บริการ อาจจะเป็นเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม หรืออยู่ในรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้ผู้ใช้งานได้

การคิดและออกแบบ Product เป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจ จึงต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมาย เพื่อให้แก้ pain point ของผู้ใช้งาน และตรงกับความต้องการของตลาด

ในหัวข้อนี้ จะประกอบไปด้วยหัวข้อย่อย ๆ หลายอย่าง เช่น

  • Design
  • Customer Development
  • Minimum Viable Product (MVP)
  • Product Development
  • Product Management
  • Product Market-Fit
  • Product Strategy
  • Product Roadmaps
  • User Interview
  • User Testing

ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการและเทคนิคในการคิดและออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ อย่าลืมไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกันนะคะ

4. Engineering

Engineering ในธุรกิจ Start-up นิยามให้หมายถึง การออกแบบโครงสร้างของ Product และการทำงาน ในเชิงของเทคโนโลยี หรือกระบวนการทำงานที่จะใช้ร่วมกัน อย่างเช่น Tech Stack , Development Process เป็นต้น

5. Organizational Chart

Organizational Chart คือ โครงสร้างองค์กร หรืออาจจะเรียกสั้น ๆ ว่า Org Chart ก็ได้ เป็นแผนผังลำดับขั้นตำแหน่งงานและสายงานต่าง ๆ ของบริษัท ซึ่งบางบริษัทอาจแบ่งหน่วยงานตาม Product Based , Market Based หรือ Process Based ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของตัวธุรกิจ

ในหัวข้อนี้อาจเริ่มต้นจากการเลือกประเภทของโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสมกับธุรกิจของเราที่สุด โดยศึกษาจากลิงก์ตัวอย่างด้านล่างนี้

6. Legal

ว่ากันด้วยเรื่องข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในหัวข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า เราทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร? Product ของเรามีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายอะไรบ้าง รวมไปถึงกฎหมายพื้นฐานต่าง ๆ เช่น กฎหมายการจ้างงาน เป็นต้น

ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีและละเอียดรอบคอบมาก ๆ เพราะหากเกิดปัญหาในภายหลัง นอกจากจะแก้ไขยากแล้ว ยังกระทบถึงชื่อเสียงของบริษัทอีกด้วย

โดยเฉพาะการทำธุรกิจข้ามประเทศ ควรศึกษาข้อกฎหมายของประเทศนั้น ๆ ให้ดี เพราะมันจะทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของเรา ทำให้เราดำเนินธุรกิจได้ง่ายและสะดวกขึ้นได้

7. Hiring

Hiring คือ กระบวนการจ้างงาน คัดสรรบุคคลเข้ามาร่วมทีม หรือเป็นพนักงานของบริษัท สำหรับรายละเอียดย่อย ๆ ก็อย่างเช่น การกำหนดลักษณะและหน้าที่งานแต่ละตำแหน่ง หรือที่เรียกว่า Job Description (JD) , การคำนวณและกำหนดเกณฑ์ค่าตอบแทน , การหาแหล่งที่จะประกาศรับสมัครงาน , ขั้นตอน process การสัมภาษณ์ หรือมาตรฐานแบบทดสอบต่าง ๆ ที่จะใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน

8. People

ต่อเนื่องจากเรื่องการจ้างงาน ก็คือ การดูแลคน นั่นเอง ทุกบริษัทจำเป็นต้องมีความชัดเจนในการควบคุมและดูแลพนักงาน โดยจัดทำให้อยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสัญญาจ้างให้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น

  • นโยบายบริษัท
  • วัฒนธรรมองค์กร
  • คู่มือพนักงาน
  • หนังสือชี้แจงสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน
  • เกณฑ์การประเมินผลงาน
  • นโยบายการจัดการบุคคลในกรณีต่าง ๆ เช่น ลาออก ลาพักร้อน ปลดพนักงาน

9. Management

Management หรือ การบริหารจัดการ เป็นอีกหนึ่งหัวข้อใหญ่ที่มีความสำคัญมาก เป็นส่วนงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ เจ้าของกิจการ ผู้นำองค์กร ผู้บริหาร และหัวหน้างานทุกส่วน ซึ่ง ​Management Skills หรือ ทักษะในการบริหารจัดการ ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยมากมาย ได้แก่

  • Communication
  • Company Values
  • Crisis
  • Decision Making
  • Delegation
  • Emotional Intelligence
  • Exec Meetings
  • Feedback
  • Focus
  • Goal Setting
  • Leadership
  • Managerial Tactics and Styles
  • Meeting Structure
  • Mentoring
  • Motivation
  • Org Structure
  • Psychological Safety
  • Retrospectives
  • Role of the CEO
  • Startup Advisors

10. Diversity and Inclusion

Diversity & Inclusion หรือ D&I คือ การบริหารองค์กรที่ประกอบไปด้วยความแตกต่างหลากหลาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกของพนักงานหรือทีมงานภายในบริษัท อย่างเช่น ความแตกต่างเรื่องเพศ ความแตกต่างเรื่องวัย (Generation Gap) เป็นต้น หลัก ๆ แล้วจะเป็นส่วนที่ Leadership ผู้นำทีมหรือหัวหน้างานจะต้องเอาใจใส่ คอยสังเกต และให้ความสำคัญเพื่อลดช่องว่างของสิ่งเหล่านี้

บทสรุปทิ้งท้าย

อย่างที่เกริ่นไว้ในตอนต้นของบทความ การทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพมีความมั่นคงและเติบโตได้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าได้เรียนรู้ทุกหัวข้อที่เขียนไว้ในบทความตอนนี้ (และตอนถัดไป) ผู้เขียนเชื่อว่า.. จะทำให้ทุกคนมองเห็นภาพรวมของการทำธุรกิจ Startup ชัดเจนยิ่งขึ้น และความรู้เหล่านี้สามารถช่วยอุดรอยรั่ว ลดความเสี่ยงในการล้มเหลวของธุรกิจได้ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน

--

--