Burnout หลบไป Quiet Quitting กำลังมา

Chatchawal I
Tri Petch Digital
Published in
2 min readSep 20, 2022
“การทำงานไม่เคยฆ่าคน แต่การทำงานที่หนักมากเกินไป ฆ่าความสุขในชีวิต”

เบื่องาน เหนื่อยหนายกับการทำงาน แต่ยังไม่อยากลาออก? “quiet quitting” เทรนด์ใหม่ ที่กำลังเป็นกระแส และกำลังพยายามบอกกับเราว่า ถ้าทำงานหนักไปแล้วมันไม่ตอบสนองกับชีวิต จะทำงานเท่าที่จำเป็นก็ไม่ใช่เรื่องแย่อะไร

นี่คือเทรนด์ที่กำลังพูดถึงกันอยู่ในโลก social media เป็นเทรนด์ที่ดึงความสนใจให้คนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ตอนนี้พนักงานรุ่นใหม่ๆ กำลังสนับสนุนให้หลีกเลี่ยงการทำงานที่มันยากเกินไป การทำงานที่มากเกินกว่าขีดความสามารถ หรืองานที่ต้องทำเป็นเวลานานเกินไป มันคือภาวะที่คนทำงานพยายามจะหลีกเลี่ยงความเหนื่อยล้าสะสมที่ทำให้พวกเขาไม่ต้องแบกรับภาวะหมดไฟ(BurnOut) ที่มันทำให้พวกเขาเองรู้สึกว่า ไม่สามารถแยกเวลางาน กับเวลาส่วนตัวออกจากกันได้

Quiet Quitting คืออะไร?

มันไม่ใช่การลาออกจากบริษัท แต่เป็นการ “ลาออก” จากแนวคิดที่อยากจะทุ่มเททำงานให้หนักกว่าที่จำเป็น

“คุณก็ทำหน้าที่ของคุณไป แต่คุณไม่เอาด้วยแล้วกับค่านิยมทำงานหนักที่บอกว่างานต้องกลายเป็นชีวิตของคุณ เพราะในความเป็นจริงมันไม่ใช่ และคุณค่าของคุณไม่ได้ถูกกำหนดโดยปริมาณผลลัพธ์ที่ผลิตออกมา”

Reference from GALLUP https://www.gallup.com/workplace/398306/quiet-quitting-real.aspx

GALLUP ระบุว่า หลังจากช่วง ปี 2020 เป็นต้นมา มีพนักงานราว 32% เท่านั้นที่รู้สึกเกี่ยวพันกับงาน และที่สำคัญคือคนส่วนใหญ่คิดว่า งานที่ตัวเองได้ทำอยู่ ไม่ได้มีความสำคัญหรือ ว่าทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้นมาเลย และ ยังกลับทำให้พวกเขารู้สึกได้ว่า ไม่มีความสุขในชีวิต ด้วยเหตุนี้ พนักงานรุ่นใหม่ๆ จึงไม่อยากจะให้ความสำคัญกับงาน และก็แค่ทำให้มันจบๆไป เป็นวันๆ และ อีกเหตุผลที่สำคัญ ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่คนส่วนมากต้อง ทำงานอยู่ที่บ้าน และไม่สามารถแบ่ง เวลา จากเรื่องงาน และ เรื่องส่วนตัวด้วย ทำให้พนักงานส่วนมาก รู้สึกว่าในช่วงที่ต้อง “กักตัวทำงานอยู่ที่บ้าน”(Work From Home)ทำให้พวกเขา ทำงานหนักมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น และพวกเค้าไม่เคยแยกเวลาการทำงาน และ เวลาส่วนตัวออกจากกันได้เลย

เราควรจะแก้ปัญหานี้กันยังไง?

Team leader ขององค์กรควรเรียนรู้พนักงานในมิติต่างๆ เช่น เรียนรู้การมอบหมายงาน เรียนรู้ที่จะปล่อยและวางให้กลไกทำงานตามระบบ เรียนรู้ที่จะมีเรดาร์ สังเกตความเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคนในทีม เพื่อจะหาทางป้องกันปัญหา แต่ถ้าเกิดปัญหาแล้วก็เรียนรู้ที่จะแก้ไขไปพร้อมๆ กับคนทำงาน ซึ่งแน่นอนว่าระบบของการทำงานในทีมที่โปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้และมีการ feedback กันและกันตลอดเวลาเป็นกลไกสำคัญในการแก้ปัญหาได้ดี

การจัดกิจกรรม ที่ให้พนังงานได้กลับมาใช้ชีวิต เหมือนปรกติก่อนที่จะมี COVID-19 เช่น การที่ให้พนักงานได้กลับเข้ามาทำงานที่บริษัท หรือมีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือ กิจกรรม Outing ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสามารถช่วยให้พนักงานรู้สึกว่ากลับได้ใช้ชีวิตปรกติมากขี้นนอกเหนือจากเรื่องงานและสามรถแยกเวลางาน ออกจากเวลาส่วนตัวได้

ในส่วนของพนักงานเอง ถ้ารู้สึกว่า เริ่มที่จะเหนื่อยล้ามากเกินไป ควรจะมีช่วงเวลาที่ได้ Block Leave ลาพักร้อนโดยที่ไม่ต้องสนใจหรือทำงานในช่วงเวลานั้นให้ลองออกไปหากิจกรรมใหม่ทำ หรือ ออกไปหาสถานที่พักผ่อนโดยไม่ต้องกังวลถึงเรื่องงาน หรือหามีปัญหาในเรื่องงาน ควรพูดคุยกับหัวหน้างาน แบบ 1:1 เพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น และ หาทางแก้ไขร่วมกัน การทำงานเป็นกลุ่ม เพิ่มปฏิสัมพันธ์ กันในทีม ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ควรต้องทำ อาจจะให้มีการ ทำงานนอกสถานที่บ้างในบางโอกาศ (Work From Sea,Work from outside) หรือ ให้มีการทำกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องงาน (เล่นเกมส์,ออกกำลังกาย)

Work Hard (on working time) การทำงานล่วงเวลา หรือว่า ทำงานในช่วงวันหยุด เป็นตัวการในการให้เกิดภาวะ BurnOut ได้อย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นเราควรทำงานและ Focus เรื่องงานในเฉพาะเวลางาน ส่วนนอกเวลางาน เราควรออกไปใช้ชีวิตตามปรกติ ออกกำลังกายให้เวลากับครอบครัว และ หาประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับตัวเอง การทำอะไรใหม่ หรือว่า มีสิ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเดิม จะช่วยทำให้เรา เริ่มมีเป้าหมายในชีวิตมากขึ้น และ ลดภาวะซึมเศร้า ได้ด้วย

“ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ ถ้าทุกคนเปิดใจที่จะพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา”

Reference source: https://www.gallup.com/workplace/398306/quiet-quitting-real.aspx

--

--