เครื่องมือเรียนรู้ตัวเองที่ช่วยพัฒนาการทำงานกับคนรอบตัว

Sasinipa Uthaisaad
UCADEMiA Community
Published in
2 min readJan 31, 2020

เราเดินทางมาถึงตอนสุดท้ายที่การเรียนรู้ตัวเองจะเข้ามาช่วยทำให้เราได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น ตั้งแต่นี้ต่อไปเราจะเรียนรู้สองอย่างไปพร้อมกัน คือ เข้าใจตัวเอง และเข้าใจคนอื่น เพื่อจะทำงานตรงกลางคือ “การปฏิสัมพันธ์”

สำหรับคนที่เป็น introvert จะซาบซึ้งถึงความยากลำบากนี้เป็นอย่างดี คือการที่เราเข้าใจตัวเอง พยายามเข้าใจคนอื่น และต้องทำงานตรงกลางระหว่างบริหารความต้องการของตัวเอง และคนอื่นไปด้วย เพราะต่อให้เราเข้าใจตัวเองและคนรอบตัวเราดี ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมี “ปฏิสัมพันธ์ที่ดี” ได้ง่ายๆ

ฉะนั้น ทางเราจึงได้มีตัวช่วยซึ่งเป็นเครื่องมือทดสอบบุคลิกภาพมานำเสนอ นั่นคือ DISC และ Eneagram (นพลักษณ์)

DISC

ทำไมถึงต้องเป็นเครื่องมือ 2 ตัวนี้น่ะหรอคะ ประการแรก DISC ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในวงการธุรกิจโดยเฉพาะ เพื่อให้เหล่า HR ของบริษัทต่างๆ นำมาใช้ในการคัดเลือกพนักงาน และบริหารจัดการคนในที่ทำงานค่ะ DISC ถูกทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้โดยแบ่งบุคลิกภาพของคนออกเป็น 4 แบบเท่านั้น คือ D-dominance I-influence S-steadiness C-conpliance แต่สามารถอธิบายมิติด้านจุดเด่น ข้อจำกัดทางพฤติกรรม สิ่งจูงใจ ความกลัว การปฏิสัมพันธ์กับคนในกลุ่มบุคลิกอื่นๆ ที่เหลือได้อีก ถือว่าเป็นเครื่องมือที่สะดวก และง่ายดายต่อการนำมาใช้ สร้าง พัฒนา และรับมือความสัมพันธ์ในในการทำงานเป็นกลุ่มได้ดีค่ะ (เว็บฟรีให้ลองทำดูค่ะ)

Eneagram (นพลักษณ์)

อีกทฤษฎีหนึ่งเป็นทฤษฎีโบราณราว 2,000 กว่าปี ของนักบวชชาวซูฟี (เอเชียใต้) ตกทอดกันมาจนมาเรื่อยเข้าเมืองฝาหรั่ง เดินทางถึงประเทศไทยทางนักบวชของพุทธศาสนา นับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกก็ว่าได้ ราวกับตำราฤาษีดัดตน ตำราดูโหงวเฮ้งของชาวจีนเลยค่ะ ประวัติยาวนานมาก

ทำให้ศาสตร์ด้านนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายด้านไม่ว่าจะในการฝึกจิต จัดการอารมณ์ พัฒนาตัวเอง หรือในด้านการพัฒนางานทรัพยากรบุคคล เช่น การนำนพลักษณ์มาเป็นแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การบริหารจัดการคนในทีม แก้ปัญหาความขัดแย้ง รักษาความเครียด หรือสร้างความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวค่ะ นับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่โดดเด่นในด้านการประยุกต์และนำมาใช้ประโยชน์กว้างขวางค่ะ

ที่มา: การใช้นพลักษณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในทีมงาน ของผศ.ดร.ถวัลย์ เนียมทรัพย์ (เข้าถึงได้จาก http://infofile.pcd.go.th/pcd/2Jul12_1.pdf)

ภาพข้างบนนี้เป็นการยกตัวอย่างพฤติกรรมหรือทัศนคติของคนแต่ละลักษณ์ที่แสดงออกต่อสถานการณ์เดียวกัน แตกต่างกันเนื่องจากมีพื้นฐานทางบุคลิกภาพแตกต่างกันไปค่ะ (กดลิ้งค์เพื่อทำแบบทดสอบภาษาไทย และ แบบทดสอบภาษาอังกฤษ)

พอทำๆ ไปแล้วก็นึกถึงแบบทดสอบบุคลิกภาพตัวหนึ่งของ the Forest (แอพปลูกต้นไม้ชื่อดังที่ช่วยดึงเราออกห่างจากสมาร์ตโฟน) ขึ้นมาเลยค่ะ ชื่อว่า Plant Your Personal Flower แบบทดสอบนี้ก็ถูกพัฒนาขึ้นจากทฤษฎีทางจิตวิทยา ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ที่จะบอกตัวตนของเราเป็น “พันธุ์ไม้ประจำตัว” ที่มี “คู่ Buddy” เป็นของตัวเองด้วยค่ะ >< น่ารักแบบไม่ไหวล้าว

Forest: Plant Your Personal Flower.
ตัวอย่างพันธุ์ไม้ประจำตัวที่ได้ และ buddy ของเราค่ะ

ใครสนใจก็เข้าไปลองทำกันได้ >> ที่นี่จ้า <<

ท้ายที่สุดแล้ว..ในการกลับมาทำความเข้าใจตัวเอง เป็นความมหัศจรรย์หนึ่งของการเป็นมนุษย์นะ เพราะไม่มีสิ่งมีชีวิตไหนหรอกที่จะทำความเข้าใจตัวเอง เข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว และอยากมีชีวิตที่ได้รักตัวเองพร้อมๆ กับรักคนอื่นไปด้วย จบท้ายด้วยประโยคสวยๆ อีกเหมือนเดิม แอบหวังว่าเราจะได้เจอกันอีก และขอบคุณที่สละเวลา 3 นาทีมาอ่านบทความนี้ ขอให้เป็น 3 นาทีที่มีค่าร่วมกันอีก 1 บทความนะคะ

“You always stay true to your goals with strong determination.”

เราจะจริงจังและจริงใจกับเป้าหมายชีวิตของตัวเองได้ ก็ด้วยกับความมุ่งมั่นตั้งใจของเราเท่านั้น — The Forest (App)

สวัสดีค่ะ :)

--

--

Sasinipa Uthaisaad
UCADEMiA Community

Creator who passionate on Communication Designed and everything about Nature 🌾🐛🦋