เริ่มก้าวแรกของการออกแบบชีวิต ด้วยการถอยกลับมามองตัวเอง

Sasinipa Uthaisaad
UCADEMiA Community
Published in
2 min readJan 27, 2020

หลายคนเลือกจะออกแบบชีวิตตัวเองด้วยการ ‘สร้าง’มันขึ้นมาจากวิมานในจินตนาการ

หรือ ‘เลียนแบบ’ มันขึ้นมาจากของคนที่เรายึดเป็นไอดอล(role model)

แต่ตอนนี้เรากำลังจะชวนทุกคนมาออกแบบชีวิตตัวเองด้วยการกลับมาทบทวนต้นทุนทางบุคลิกภาพที่เรามีอยู่ เพื่อจะเริ่มต้นก้าวแรกที่มั่นคง ก่อนจะขยับขยายแผนการออกแบบชีวิตของเราไประดับต่อๆไป

เพราะตัวเราทุกคนมีต้นทุนบางอย่างที่สั่งสมกันมา และมันมีคุณค่ามากพอที่จะเป็นรากฐานในการวางแผนชีวิตเราในปัจจุบันและอนาคตได้

สำหรับแบบทดสอบบุคลิกภาพที่นิยมกันมากที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้น MBTI หรือ The Myers-Briggs Type Indicator โดยมีการจัดบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทแบบหยาบๆ ตามแบบแผนของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นคล้ายๆ กัน โดยพบว่ามนุษย์มีการแสดงออกและตอบสนองต่อโลกภายนอกเป็น 2 แบบ คือ เก็บตัว:introvert หรือ เปิดเผย:extrovert (ตามทฤษฎีของคาร์ล ยุง) นับว่าหยาบมากเนาะ 55 ต่อมาก็เลยมีการพัฒนามิติใหม่ๆ ของบุคลิกภาพเพิ่มอีก 2 มิติ คือ

  • การรับรู้และตอบสนองต่อโลกภายนอก (ประสาทสัมผัสทางกาย:sensing หรือ หยั่งรู้ด้วยสัญชาตญาณภายในหรือประสบการณ์ในอดีต:intuition)
  • การวินิจฉัยหรือตัดสิน (ใช้เหตุผลและคิดวิเคราะห์รอบคอบ:thinking หรือ ใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นหลัก:Feeling)

จะได้ลักษณะของบุคลิกภาพทั้งหมดของมนุษยชาติเป็น 16 แบบ (ยิ่งใหญ่ราวพิมพ์เขียวอุปนิสัยของชาว homo sepien) ซึ่งมันช่วยให้เราเข้าใจความซับซ้อนของบุคลิกภาพมนุษย์ขึ้นมาได้เยอะมาก จากเดิมที่เราเข้าใจว่ามนุษย์ทุกคนมันแตกต่างกันหมดเลย ซึ่งถูกค่ะ แต่ในความต่าง มันก็มีอะไรบางอย่างที่มีแบบแผน(pattern) และนำมาจับกลุ่มกันออกมาได้ น่าสนใจ และเห็นแนวโน้มหลายๆ อย่างของคนที่มีบุคลิกภาพแต่ละแบบค่ะ

ซึ่งกระบวนการที่จะได้มาซึ่งบุคลิกภาพประจำตัวของแต่ละคน เกิดจากการตอบแบบสอบถาม

โดยจะเป็นการถามถึงการจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นค่ะ จะ bias หรือไม่ ขึ้นอยู่กับคนตอบล้วนๆ เลยค่ะ คำแนะนำก็คือ แต่ละช่วงเวลา หรือช่วงชีวิตเราด้วย บุคลิกภาพมันจะไม่นิ่ง ไม่ต้องตกใจถ้ามันจะเปลี่ยน หรือไม่เหมือนเดิม ถือว่าเป็นแบบทดสอบพื้นฐานที่แนะนำให้ลองทำ เพราะสิ่งสำคัญมากกว่าผลลัพธ์ คือกระบวนการระหว่างนั้นที่เราได้มีเวลาอย่างน้อย 5–10 นาทีในการได้พูดคุยกับตัวเอง และรู้จักตัวเองค่ะ

ในเว็บนี้จะมีการตีความบุคลิกภาพทั้ง 16 ออกเป็นประเด็นย่อยๆ ซึ่งน่าสนใจมากค่ะ คือ ชีวิตครอบครัว เพื่อน การทำงาน ความรัก ถือว่าเป็นคำแนะนำดีๆ ให้กับนักเดินทางชีวิตอย่างเราๆ ละกันเนอะ ส่วนตัวชอบ เพราะได้ประโยชน์จากคำแนะนำที่เค้ามีให้ และก็เชื่อว่าทุกคนจะได้รับประโยชน์บางอย่างจากคำแนะนำดีๆ เหล่านี้เหมือนกันค่ะ ^^

แบบทดสอบความสนใจ และความชอบ ที่นำไปสู่การเลือกอาชีพ

มักจะนิยมใช้แบบทดสอบ RIESAC หรือ Holland code ค่ะ ใช้การถามตอบแบบสอบถาม โดยข้อคำถามจะถามความสนใจ งานอดิเรก ความถนัด และสิ่งแวดล้อมในชีวิต เพื่อเชื่อมโยงไปสู่ลักษณะการทำงานพื้นฐานของแต่อาชีพค่ะ เพราะคนที่ทำงานแต่ละอาชีพ เค้าจะมีทักษะสำคัญในการประกอบวิชาชีพ หรือความถนัดบางอย่างที่เป็นแบบแผนอยู่ค่ะ (pattern) เช่น งานบัญชี เป็นงานละเอียด คนที่จะทำงานนี้ได้ดีมักจะเป็นคนที่ใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ช่างสังเกต และชอบความเป็นระบบระเบียบ ส่วนตัวแล้วเคยเข้าไปทำงานในแผนกบัญชี แล้วพี่ๆ ทุกคนแม้ว่าจะมีบุคลิกภาพไม่เหมือนกัน แต่นิสัยบางอย่างที่ทุกคนจะมีเหมือนกันคือ ความละเอียด รอบคอบ (และอดทนมากค่ะ)

แบบทดสอบนี้จะแบ่งบุคลิกภาพออกเป็น 6 แบบ (กรมแรงงานของอเมริกาเคยใช้แบบทดสอบนี้ในการรับสมัครงานด้วยนะ) ได้แก่

  1. จริงจัง — ช่างฝีมือ งานกลางแจ้ง
  2. เน้นเชาวน์ปัญญา — งานวิชาการ งานวิทยาศาสตร์และเทคนิค
  3. ศิลปิน — ดนตรีและวรรณกรรม
  4. บริการสังคม — สังคมศาสตร์
  5. กล้าคิดกล้าทำ — การจัดการและค้าขาย
  6. ยึดมั่นและมีแบบแผน — สำนักงานและเสมียน

ปัจจุบันเรามักจะใช้ RIESACเป็นเพียงพื้นฐานในการสร้างแบบทดสอบบุคลิกภาพ และความถนัดทางวิชาชีพอื่นๆ ที่สอดคล้องกับลักษณะสังคมและอาชีพในปัจจุบันมากขึ้น

แนะนำลองทำใน โปรแกรมวัดแววอาชีพของศูนย์เครือข่ายกำลังคนอาชีวศึกษา, wespace, samsung career discovery ได้เลยจ้า ฟรี! (อันนี้ภ.อังกฤษ)

สรุปก็คือ ทดสอบบุคลิกภาพจากพฤติกรรม และทัศนคติในการใช้ชีวิตด้วย MBTI และทดสอบความสนใจ-ความถนัดที่เชื่อมโยงไปสู่อาชีพด้วย RIESAC ค่ะ ..ใครสนใจสามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดค่ะ มีทั้งภาคไทย และภาคอังกฤษ ลองทำดูตามสะดวกเลยจ้า

ตอนหน้า จะชวนทุกคนมาลองทำแบบทดสอบตัวไหนอีก ติดตามดูกันนะคะ

ขอให้วันนี้เป็นวันดีๆ ของเราทุกคนค่ะ

สวัสดีค่ะ :)

--

--

Sasinipa Uthaisaad
UCADEMiA Community

Creator who passionate on Communication Designed and everything about Nature 🌾🐛🦋