Behavioral Mapping

Uma Phanita Surinta
All about Urban
Published in
2 min readSep 2, 2022

การจัดทำแผนที่พฤติกรรม

Behavioral Mapping หมายถึงการบันทึกกิจกรรมในพื้นที่สาธารณะหรือในสภาพแวดล้อมของเมืองที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์ เรามักพบความขัดแย้งระหว่างความมุ่งหมายของงานออกแบบกับการใช้งานจริง มีหลายครั้งที่การใช้งานพื้นที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบที่วางไว้ หรือการออกแบบพื้นที่ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้งาน การศึกษาพฤติกรรมการใช้พื้นที่สามารถทำได้โดยการทำบันทึกกิจกรรม (Behavioral Mapping) เป็นเครื่องมือซึ่งช่วยให้ผู้ออกแบบได้ศึกษาและทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ใช้และพฤติกรรมการใช้พื้นที่ เป็นการบันทึกพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของพฤติกรรม และประเด็นสำคัญคือเป็นการทำความเข้าใจกับปัจจัยที่ทำให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าว

Behavioral mapping เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกตุและบันทึกพฤติกรรมในสภาพแวดล้อมที่ใดที่หนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง Behavioral mapping อาจถูกใช้โดยระบุสถานที่หรือระบุตัวผู้ถูกสังเกตุ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่าต้องการสังเกตุพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ใดโดยเฉพาะ หรือต้องการสังเกตุพฤติกรรมของบุคคลใดอย่างเจาะจง

กระบวนการจัดทำ Behavioral Mapping

เป็นการสำรวจโดยใช้การสังเกตการณ์ในพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของกิจกรรม เช่น ตลาด ลานกิจกรรม พื้นที่ทางเท้าตามแนวถนน สวนสาธารณะ เป็นต้น ขั้นตอนในการศึกษามีดังนี้

  1. การเตรียมอุปกรณ์ เริ่มจากการจัดทำแผนที่บริเวณพื้นที่ที่ต้องการศึกษา โดยอาจจัดทำเป็นหลายชุดเพื่อใช้ในการบันทึกแต่ละกิจกรรมหรือกลุ่มคน
  2. การจัดแบ่งกลุ่มกิจกรรมที่ต้องการสำรวจ โดยอาจจัดทำระหว่างการลงสำรวจพื้นที่และการสังเกตการณ์เบื้องต้น การระบุกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการทำการสังเกตในเบื้องต้นจะช่วยให้ผู้สังเกตสามารถจดบันทึกพฤติกรรมของกลุ่มคนที่ต้องการหรือมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการศึกษาได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
  3. วิธีการจดบันทึก สามารถใช้สัญลักษณ์ในรูปแบบต่างๆ โดยแยกสีตามประเภทของกลุ่มผู้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเด็นที่ต้องการศึกษา เช่น หากต้องการศึกษาการเคลื่อนที่หรือเส้นทางของผู้ใช้งาน อาจใช้การติดตามและบันทึกโดยระบุเส้นทางที่ผู้ใช้งานเคลื่อนที่ไปและการหยุดตามจุดต่าง ๆ เวลานับเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษาพฤติกรรม เช่น การสังเกตการเคลื่อนที่อาจต้องการทราบว่าการหยุดในแต่ละที่ใช้เวลานานเท่าใด ช่วงเวลาที่เกิดกิจกรรมนั้นเกิดขึ้นนานเท่าใด ช่วงเวลาในการเดินทางจากต้นทางไปจนถึงปลายทางใช้เวลานานเท่าใด นอกจากการสังเกตและบันทึกช่วงเวลา ผู้บันทึกควรพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าว
  4. การสังเกตและจดบันทึก ควรใช้ผู้สังเกตการณ์หนึ่งคนต่อหนึ่งผู้ใช้หรือหนึ่งกลุ่มผู้ใช้พื้นที่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความสับสนและความไม่ต่อเนื่องของข้อมูล
  5. การวิเคราะห์ การพิจารณาการรวมกลุ่มของข้อมูลที่รวบรวมได้มักเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น การแสดงเส้นทางที่มีการซ้อนทับหรือผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากจะช่วยให้เรารับรู้ได้ว่าเส้นทางใดมีการสัญจรหนาแน่นและเส้นทางใด ไม่มีการใช้งาน

หมายเหตุ:

การสำรวจด้วยวิธีการบันทึกพฤติกรรมนี้ ควรพิจารณาควบคู่กับวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพอื่นๆเพื่อให้เข้าใจถึงแรงจูงใจหรือที่มาของพฤติกรรม

การเลือกช่วงเวลา (เช่น ช่วงเวลาระหว่างวัน ระหว่างสัปดาห์ ช่วงฤดูกาล ภูมิอากาศ ช่วงวันหยุดหรือวันนักขัตฤกษ์) เพื่อทำการสำรวจอย่างครอบคลุมและเหมาะสม มีผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้รับ ดังนั้น เพื่อควบคุมความเที่ยงตรงของข้อมูลที่ได้รับจึงควรวางแผนการลงสำรวจให้ครอบคลุมสถานการณ์ที่แตกต่างกันให้มากที่สุด บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้การสำรวจตลอดเวลาหนึ่งปี เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ครบถ้วนและครอบคลุมช่วงเวลาในทุกฤดูกาล

Case Study การศึกษาพฤติกรรมการใช้ทางเท้าบนถนนในกรุงเมลเบิร์น เป็นการสำรวจและสังเกตการณ์ตลอดช่วงเวลาหนึ่งปี ข้อมูลที่ได้มีการจัดระเบียบและนำเสนอหลายรูปแบบ ภาพด้านล่างเป็นการแสดงข้อมูลปริมาณผู้ใช้เป็นรายชั่วโมงโดยนำเสนอในรูปแบบกราฟแบบ heat-map แสดงข้อมูลรายวันและสัปดาห์ในรอบหนึ่งปี โดยข้อมูลจากกราฟแสดงให้เห็นว่าวันเสาร์มีคนใช้งานทางเท้ามากที่สุด และระหว่างเดือนกันยายนไปถึงตุลาคม มีคนใช้ทางเท้าน้อยมาก ..

https://morphocode.com/location-time-urban-data-visualization/

Below you can compare pedestrian volumes at two different locations: Southern Cross Station (top) and Alexandra Gardens (bottom). The data was collected during the last week of April 2018.

https://morphocode.com/location-time-urban-data-visualization/

วิธีการบันทึกพฤติกรรม

Place-Centered Behavioral Mapping: เป็นการสำรวจโดยใช้การถ่ายภาพ (Snapshots) เก็บภาพกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อบันทึกรูปแบบของกิจกรรมที่เกิดขึ้นและระบุบริเวณพื้นที่ที่เกิดกิจกรรม

Chart-based: เป็นการบันทึกและสรุปข้อมูลกิจกรรมในรูปแบบของแผนภูมิหรือแผนภาพ มักใช้ในการนำเสนอรูปแบบการเกิดกิจกรรมควบคู่กับช่วงเวลา และไม่เหมาะสำหรับการระบุตำแหน่งหรือพื้นที่ที่เกิดกิจกรรม

Trace measures: การสืบหรือติดตามจากหลักฐานที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรม มักสังเกตได้จากความทรุดโทรมหรือส่วนที่เสียหายที่ถูกทำลายไป เช่น ทางเดินลัดที่มองเห็นได้จากแนวต้นหญ้าที่ถูกย่ำจนหายกลายเป็นเส้นทางดินบนสนามหญ้า เป็นต้น

GPS/GIS/RFID/WLAN: เทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่ใช้ในการติดตามการเคลื่อนที่ของคน รถยนต์ส่วนบุคคล รถบรรทุก รถโดยสาร รถขนส่งสาธารณะ จักรยาน รถเข็น สามารถแสดงเส้นทางในการเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา

Time-Laspe Video: การบันทึกภาพเคลื่อนไหว ใช้ในการบันทึกเส้นทางการเคลื่อนที่ของคน หรือเส้นทางการเดินในพื้นที่สำรวจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

Shadowing: เป็นการติดตามกลุ่มผู้ใช้พื้นที่แบบใกล้ชิด โดยบันทึกเส้นทางการเคลื่อนที่และพฤติกรรมของผู้ใช้ตลอดเส้นทาง ร่วมกับการสอบถามหรือสัมภาษณ์ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม เช่นเหตุผลหรือแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรม

ตัวอย่างแผนที่บันทึกกิจกรรมที่เกิดขึ้นบริเวณลานใจกลางเมือง โดยแยกสัญลักษณ์ที่ใช้แทนกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นชายและหญิง

Johan Mattsson. (2019). Human Behaviour & Urban Squares : A Public Life Study of Kungsträdgården and Sergels Torg. Royal Institute of Technology.
Johan Mattsson. (2019). Human Behaviour & Urban Squares : A Public Life Study of Kungsträdgården and Sergels Torg. Royal Institute of Technology.
https://www.intechopen.com/chapters/40505

ตัวอย่างแผนที่แสดงเส้นทางจักรยานที่บันทึกได้จากอุปกรณ์ติด GPS และตารางกิจกรรมที่เตรียมไว้ให้นักปั่นใช้ในการบันทึก (Goličnik Marušić et al., 2010; http://kolo.uirs.si/)

https://www.intechopen.com/chapters/40505

ตัวอย่างแผนที่บันทึกกิจกรรม แสดงตำแหน่งของกลุ่มผู้ใช้งานโดยแยกชาย-หญิง

Gupta, N., & Wadwekar, A. (2018). Reclaiming Gendered Urban Spaces by Facilitating Fearless Movement of Women in the Fearful Cities: Enabling Inclusiveness by Advocating Spatial Mediation. The IAFOR International Conference on the City 2018.

ตัวอย่างแผนที่แสดงตำแหน่งกิจกรรม จุดสีฟ้าแทนกิจกรรมที่ทำโดยผู้ชาย สีเหลืองแทนกิจกรรมที่ใช้ทั้งชายและหญิง

Gupta, N., & Wadwekar, A. (2018). Reclaiming Gendered Urban Spaces by Facilitating Fearless Movement of Women in the Fearful Cities: Enabling Inclusiveness by Advocating Spatial Mediation. The IAFOR International Conference on the City 2018.

ตัวอย่างจากการศึกษาพฤติกรรมการเดินในเขตเมืองดัลลัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้การนับจำนวนคนที่เดินเข้ามาในเขตถนนที่เป็นพื้นที่ศึกษา โดยกำหนดเวลาในการสังเกตแต่ละจุดนาน 30 นาที เปรียบเทียบจำนวนคนในช่วงเวลาเร่งด่วนและไม่เร่งด่วน (peak and off-peak hours)

Pedestrian counts https://www.mdpi.com/461596

--

--