Modernist Urban Planning

ผังเมืองสมัยใหม่

Uma Phanita Surinta
All about Urban
Jan 12, 2024

--

ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม

Industrial Revolution

การคิดค้นเครื่องจักรและยานยนต์นอกจากจะพลิกโฉมโครงสร้างของระบบอุตสาหกรรมแล้ว ยังส่งผลให้กายภาพของเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการตัดถนนเพื่อให้รถยนต์วิ่งและสร้างขนส่งระบบรางเพื่อใช้ในการขนส่งวัตถุดิบและสินค้า มีการเพิ่มจำนวนของแรงงานในเขตเมืองทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น

ด้วยความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น การก่อสร้างที่พักต้องสร้างอย่างรวดเร็วในราคาประหยัด อาคารที่พักอยู่อย่างแออัดในเขตเมือง โดยตัวอาคารหลายชั้นถูกแบ่งออกเป็นห้องพักจำนวนหลายห้อง และภายในหนึ่งห้องต้องจุคนมากกว่าห้าคน

เมื่อภายในเมืองมีคนจำนวนมากขึ้น ขยะและน้ำเสียที่เพิ่มเป็นจำนวนมากและไม่มีการจัดเก็บที่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เมืองสกปรกและเกิดโรคระบาด ร่วมกับควันที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมทำให้ในเขตเมืองเกิดมลพิษทางอากาศ

หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ระบบการผลิตทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมถูกพัฒนาให้สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของประชากรและความต้องการในการบริโภคที่สูงขึ้น ส่งผลต่อระบบทางสังคมและกายภาพของเมือง อำนาจทางสังคมไม่ได้จำกัดอยู่เพียงกษัตริย์และขุนนางเหมือนในอดีต โดยกลุ่มนายทุนและผู้ประกอบการได้เริ่มมีบทบาทและอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และลักษณะทางกายภาพของเมือง

โดยเฉพาะในด้านกายภาพของเมืองที่แนวคิดและกระบวนการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองได้เริ่มต้นขึ้นจากความต้องการในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะที่เกิดขึ้นจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร ที่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรมในเขตเมือง

หลักการและที่มาของแนวคิดในการออกแบบเมืองในยุค Modernism

  • เกิดจากความต้องการแก้ไขปัญหาสุขอนามัยและมลพิษอันเป็นผลจากยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม
  • มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มสุนทรียภาพความสวยงามและตอบสนองความต้องการธรรมชาติในพื้นที่เมือง
  • คำนึงถึงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและความสัมพันธ์ระหว่างอาคาร-ที่ว่าง-ภูมิทัศน์ที่สอดคล้องสวยงาม
  • ให้ความสำคัญกับการออกแบบอาคารและพื้นที่ว่างภายในเมืองที่สอดคล้องกับสัดส่วนมนุษย์มากขึ้น
  • สร้างความสะดวกสบายในการสัญจรจากเพิ่มโครงข่ายเส้นทาง การตัดถนนเป็นแนวเส้นตรง และการริเริ่มระบบขนส่งมวลชน

ยุคสมัยใหม่

Modernism

ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ยาวนานไปจนถึงศตวรรษที่ 19 และถูกเรียกว่ายุคแห่งการเปลี่ยนแปลงจากวิถีดั้งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่เหมาะสมกับยุคสมัย หรือ Modern (ความทันสมัย) โดยแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงกายภาพของเมืองในช่วงเวลานี้ ถูกเรียกว่า Modernist Urban Planning

ผังเมืองหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมแบ่งออกได้เป็นสามช่วง

Early Period ช่วงเวลาแห่งการเสริมความงามและสร้างสุนทรียภาพ

  • Modernization of Paris ​/ ​Baron Haussmann (1809–1891)
  • City Beautiful Movement / Daniel Burnham (1846–1912)
  • Garden City / Ebenezer Howard (1850–1928)

Mid Period ช่วงเวลาแห่งการจัดระเบียบ

  • Le Corbusier’s theory / Le Corbusier (1887–1965)
  • Defensible Space / Oscar Newman (1867–1928)
  • Neighborhood Concept / Clarence Perry (1872–1944 )

Recent Period ช่วงเวลาแห่งการศึกษาและพัฒนา

  • Image of the city / Kevin Lynch (1918 –1984) ​
  • Townscape / Gordon Cullen (1914 –1994)
  • Community-based approach / Jane Jacobs (1916 –2006)

--

--