Olympus Dao คืออะไร — ทำไมคนถึงอยากฝากเงิน (1/2)

iaon-land
Under Ledger
Published in
4 min readApr 18, 2022

ในโลกของเราสิ่งที่เราใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายของกันก็คือ “เงิน” หรือ “ธนบัตร” ทุกคนก็ทราบว่ามันมีมูลค่า แต่หากมูลค่าเงินที่เรามีในวันนี้ มันไม่เท่ากับมูลค่าเงินของอีก 20 ปีข้างคุณจะทำยังไง….

เมื่อ 20 ปีก่อน…เงิน 100 บาท คุณสามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 10 ชาม
แต่ 100 บาท ปี 2022 นี้ คุณสามารถซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เพียง 2 ชาม

เงิน 100 บาทเหมือนกัน เวลาที่ผ่านไป และการพิมพ์เงินที่เพิ่มขึ้นของระบบเศรษฐกิจ ทำให้ 100 บาทวันนั้นไม่เท่ากับวันนี้

ในโลกของเรา…

เมื่อก่อนธนาคารกลางของสหรัฐฯหากจะพิมพ์เงินสกุลดอลลาร์ ต้องมีทองคำมา Back และการที่ต่างประเทศเข้ามาพิมพ์เงินกับสหรัฐฯ เพราะเงิน USD นั้นสามารถทำการค้าระหว่างประเทศได้ค่อยข้างเยอะและมีมูลค่าไม่น้อยกว่าราคาของทองคำ ทำให้ต่างประเทศเอาทองที่มีในประเทศมาให้สหรัฐฯ แล้วนำเงิน USD ไปใช้
จากนั้นก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้สหรัฐฯ ทำการพิมพ์เงินออกมากโดยไม่ได้เอาทองคำมา Back เกิดภาวะ “เงินเฟ้อ” ทำให้มูลค่าของเงินดอลลาร์ น้อยกว่าทองคำที่เคยตกลงกันไว้

  • ทำให้ความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางลดลง เพราะเงินที่ถูกพิมพ์ขึ้นใหม่เราไม่รู้ว่าจะถูก Back ด้วยทองคำด้วยสัดส่วนเท่าเดิมหรือไหม และในตอนนี้เงินที่เราเคยถือ 100 USD มีมูลค่าลดลงเพราะเงินที่มีในระบบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนบนโลกของ DeFi…

Platform ที่เราใช้แลกเปลี่ยนเงิน เช่น PancakeSwap, UniSwap, QuickSwap, SushiSwap จะเป็น DeFi 1.0 ซึ่งนอกจากให้แลกเปลี่ยนเหรียญ (Swap) ยังมี Farming ให้นำคู่เหรียญมาฝากใน Liquidity Pool ผลตอบแทนที่ได้จากการฝาก ระบบจะให้ในรูปแบบของ Governance Token

Governance Token : เป็นเงินที่ Platform สร้างขึ้น ใช้เพื่อให้เป็นผลตอบแทนแก่ผู้ใช้งาน และใช้เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ระบบ ไม่ได้สร้างมูลค่าได้ด้วยตัวเองจะมีมูลค่าที่สูงขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีคนมาถือเหรียญให้มาก

การ Farming พอราคาเหรียญตกลง คนก็เริ่มเทขายทำให้ Liquidity Pool ไม่นิ่ง Pool ไม่ค่อยโตคนก็ย้ายที่ฟาร์มไปเรื่อยๆ Platform จะได้รับผลกระทบเพราะคนไม่นิยมนำเงินเข้ามาฝาก ก็เหมือนไม่มีใครมาซื้อ Governance Token ลดให้ราคาเหรียญลดลงไม่มีมูลค่า

ปัญหาจากข้างบนคือ เงินในระบบที่เพิ่มมากขึ้น แต่มูลค่าของสินทรัพย์ที่เอาไว้ Back เงินมันลดลง ทำให้เงินที่เราถือเวลาผ่านไปจะมีมูลค่าลดลง (กำลังซื้อลดลง เราต้องซื้อของแพงขึ้น)

พิมพ์มายาว คงสงสัยว่าพูดเรื่องทั้งหมดนี้ทำไม… ก็ Olympus Dao เขาว่าเขาเป็นจะเป็น “Decentralize Reserve Currency” ด้วยการจัดการของเขาจะสามารถรักษากำลังซื้อของเราให้เท่าเดิม ถึงแม้เงินในระบบจะเพิ่มขึ้นก็ตาม

Olympus Dao — คืออะไร

source : olympusdao.finance

Olympus Dao เขาบอกว่าเป็น “Decentralize Reserve Currency” เป็นเหมือนประเทศหนึ่งที่สามารถพิมพ์เงินได้เอง สกุลเงินที่ใช้ก็คือ “OHM” ในการพิมพ์เงินก็ต้องมีธนาคารกลาง Olympus Dao ก็มีเรียกว่า “Treasury” ซึ่งใน Treasury จะมี Asset ที่จะไว้ใช้ในการรักษามูลค่าของ OHM

รักษายังไง… Olympus Dao เปิดให้เราซื้อ OHM ได้ผ่าน Platform โดยจะถูกเรียกว่า การซื้อ “Bond” ซึ่ง Platform จะการันตีว่าทุก OHM ที่ถูกสร้างออกมา 1 OHM จะมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1 DAI เสมอ

แล้วหากต่ำกว่า Platform ยังทำยังไง?

  • Platform จะนำ Asset ใน Treasury มาทำการ “Buy Back Burn” นั่นคือการเข้าซื้อ OHM ในตลาดและ Burn ทิ้งเพื่อรักษามูลค่า 1 OHM จะไม่น้อยกว่า 1 DAI แต่หากมากกว่าก็ปล่อยไปให้เป็นตามกลไกของตลาด

ปัจจุบัน OHM ในตลาดมีราคาประมาณ 30 DAI ราคาที่สูงขึ้นเกิดจากความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้น แล้วทำไมคนถึงซื้อ OHM ในราคาที่สูงแบบนั้น…ส่วนหนึ่งเกิดจากความเชื่อ เชื่อว่า OHM จะสามารถโตได้อีก ตามมูลค่าของ Asset ใน Treasury ที่ Platform มีอยู่

ยกตัวอย่าง
รอบแรกซื้อ OHM ที่ราคา 10 DAI มูลค่า Asset คือ 100 DAI
รอบสองซื้อ OHM ที่ราคา 10 DAI เช่นเดิมมูลค่า Asset เพิ่มขึ้นเป็น 500 DAI
เท่ากับว่าเราจะซื้อ OHM ในราคาที่ถูกลง 5 เท่ากับ Asset ที่ Back ต่อ OHM มีมูลค่าที่สูงขึ้น

ดังนั้นการที่ Asset ใน Treasury โตขึ้นเหมือนเป็นการการันตีมูลค่า Asset ที่ Back OHM อยู่ คนเลยมองว่าหากซื้อตอนนี้ OHM ก็ยังสามารถทำกำไรให้ได้เพิ่มขึ้นอีก

และหากเราทำซื้อ Bond ที่ Platform ทำให้ได้ราคา OHM ที่ถูกกว่าตลาดอีก ยกตัวอย่างเช่น หาก OHM ราคาตลาดเท่ากับ 100 DAI แต่ถ้าซื้อ Bond จะได้ OHM ที่ราคา 95 DAI ทั้งนี้ต้องแลกมาด้วยกับการรอ 2 วัน Platform ถึงปล่อยจำนวน OHM ที่เราจะได้ หากตลาดขาขึ้นแน่นอนว่าเราได้กำไร แต่ถ้า 2 วันนั้นตลาดขาลง เราก็จะขาดทุน (ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่รับได้)

source : olympusdao.finance
source : olympusdao.finance

จากที่กล่าวมาข้างต้น หลักๆ Protocol การจัดการที่จะทำให้ OHM โตขึ้นนั้นอยู่ที่การจัดการ Asset ใน Treasury การที่คนเข้ามาซื้อ Bond นั้น DAI จะถูก Mints เป็น OHM ให้กับผู้ที่มาซื้อ Bond และให้กับกลุ่มที่เป็น DAO Committee … และเหลือ DAI อีกส่วนไว้จัดเก็บใน Treasury เพื่อนำไปบริหารจัดการ Platform คือ

  1. นำไปลงทุนที่ Platform อื่น เช่น
  • Bond ซื้อผ่านคู่ LP ก็จะนำ LP นั้นไป Stake แล้วรอรับผลตอบแทน
  • การนำ Token ไปขายแล้วแลกกลับมาเป็น Stable coin เก็บไว้ที่ Treasury
  • การนำไปลงทุนใน Platform ที่ปล่อยกู้ แล้วรับผลตอบแทน

2. เอาไว้ Back OHM ที่จะถูก Mints ขึ้นเพื่อนำ OHM ไปแจกให้ Staker ตาม APY ที่จะได้รับในแต่ละรอบ ซึ่งจะถูกคำนวณ APY ทุกๆ 8 ชม. (DAI ที่ถูกเก็บใน Treasury ไม่ได้ถูก Mints ที่เดียวหมด)

ลองดูรูปประกอบนะครับ

จากที่อธิบายการซื้อ Bond ไปนั้นหลังจากเราได้ OHM หากถือไว้เฉยๆคงไม่คอยได้อะไร ดังนั้นเหมือนกับ Platform อื่นๆ คือหากอย่างได้ Profit ที่มากขึ้นก็ต้องเข้ากระบวนการ “Staking”
Olympus Dao ก็ได้ยกทฤษฎีของ Game Theory มาขายว่าหากเรานำ OHM ไป Stake เนี่ยมันคุ้มมากกว่าการไปขายมากเลยนะ

— Game Theory ของ OlympusDAO —

OlympusDAO เขามีวิธีคิดว่า scenario ที่จะเกิดขึ้นจะมี case ไหนบ้าง โดยให้อธิบายผ่าน Game Theory

  • Staking (3,3) : หาก User ทำการซื้อ OHM และนำไป Stake ก็จะได้ APY และ Platform ได้ประโยชน์จากคนไม่เทขายเหรียญ
    >>> ปัจจุบันปรับเป็น (4,4) คือหากเราซื้อ Bond ระบบจะ Auto Stake OHM ให้เราทันที
  • Bond (1,1) : หาก User ทำการซื้อ OHM เอาไว้เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไรราคา OHM ก็จะอยู่ ณ ตรงนั้นไม่ได้โตขึ้น
  • Sell (-3,-3): หากทุกคนขายทิ้งหมด หรือตลาดล้มแล้วก็จะเกิดการขาดทุนทุกฝ่าย

อ่านเพิ่มเติม > Game Theory ของ OlympusDAO

source : olympusdao.medium.com

สรุปง่ายๆว่าทำไมถึงต้อง Stake ที่ Olympus Dao ?

  1. การที่นำ LP token มาซื้อ OHM นั้นการถือเฉยๆไม่ได้สร้างกำไรอะไรมาก แต่หากเรานำ OHM มา Staking จะได้ APY ที่สูงงงงงงงงงงงง (ไม่ได้แนะนำการลงทุน ควรศึกษาให้ดีก่อน APY ที่สูงนั้นจะลดลงเรื่อยๆเมื่อถึงช่วงเวลานึง)
  2. การจะขาย OHM นั้นสามารถทำได้ง่ายผ่าน Platform แต่ก็ได้ราคาไม่คุ้ม เท่าเอา OHM มา Stake ทำให้ตลาดไม่ค่อยเกิดการเทขายที่จะทำให้ราคาเหรียญตก
  3. หากเราทำการซื้อ OHM โดยซื้อผ่าน Bond จะได้ซื้อ OHM ในราคาที่ถูกกว่าตลาด
  4. Fund manager บริหาร Treasury ได้ดี โดยเราสามารถดูได้จากหน้าเว็บ ว่าใน Treasury มีอะไรอยู่บ้าง ยิ่งหากเป็น Asset ที่มูลค่ามากก็ยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะเท่ากับว่า OHM จะมี Back ในการรักษามูลค่าของเหรียญ

ข้อควรพิจารณา

  1. ทีมสร้าง OHM ไม่ได้เปิดตัว
  2. APY สูงหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สุดท้ายแล้วจะลดลงเรื่อยๆหากมีคนเข้ามา Stake มากขึ้น ​>> คนที่เข้าก่อนจะได้ APY มากกว่าคนที่เข้าที่หลังเพราะเมื่อสัดส่วนคนเยอะขึ้นตัวหาร APY ก็จะมากขึ้น
  3. OHM ถูก Mint ออกมาได้เรื่อยๆ อย่างไม่จำกัด
  4. มีคนเข้ามาซื้อ OHM เยอะก็จริงแต่ไม่รู้ว่าเป็นผู้ใช้งานหรือวาฬจริงๆหรือไม่
  5. OHM ยังไม่ได้ถูก List บน Centralized Exchange
  6. คนที่ลงทุนส่วนหนึ่งเชื่อที่ OHM มี Asset ใน Treasury มา back แต่สุดท้ายเหตุผลนี้อย่างเดียวอาจไม่พอ

>>> มีต่อ EP.2 นะคร้าบ ไปกั๊นนน 🚀🚀🚀

--

--