เสริมสร้างความรู้และทักษะ UX ด้วยเนื้อหา “Basic User Experience” | UPSKILL UX

Krit Chainoi
UPSKILL UX
Published in
3 min readDec 6, 2019

เดินทางมาถึงสัปดาห์ที่สองแล้วนะทุกคน สำหรับใครที่ยังไม่ได้ติดตามเนื้อหาเตรียมความพร้อมในสัปดาห์แรก สามารถไปติดตามกันได้ที่นี่

ทำความรู้จักอาชีพ UX/UI และทักษะที่จำเป็น (โคตร ๆ)

ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอเต็ม ๆ ที่นี่ : http://bit.ly/2R3GF35

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งจากความสามารถของอุปกรณ์ อินเตอร์เน็ต หรือการเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ส่งผลให้พฤติกรรมของลูกค้า หรือผู้ใช้เกิดมีความหลากหลายมากขึ้น

เรามักจะเห็นธุรกิจในยุคสมัยก่อน ผลิตสินค้า หรือบริการจากสิ่งที่อยากทำ

แต่ในปัจจุบันธุรกิจต้องหันมาใส่ใจกับผู้ใช้ และลูกค้ามากขึ้น เพราะเค้าไม่ได้ต้องการสินค้าแบบเดิม แต่ต้องการสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ และช่วยแก้ไขปัญหาจริง ๆ ของเค้าได้

บางธุรกิจปรับตัวได้ก็อยู่มาถึงปัจจุบัน บางธุรกิจปรับตัวไม่ได้ มองสถานการณ์ไม่ออกก็ล้มหายจากไป

นี้จึงเป็นสาเหตุว่า “ทำไมเราจะต้องมาเข้าใจพฤติกรรม ความต้องการ และปัญหาของลูกค้า และผู้ใช้”

จึงมีการคิดค้นกระบวนการต่าง ๆ มากมายที่นำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาหาข้อมูลพฤติกรรม ความต้องการ และปัญหา เพื่อออกแบบ สร้างสินค้า ทดลอง และนำไปเสนอกับลูกค้า หรือผู้ใช้

เราจึงเรียกง่าย ๆ ว่า การออกแบบพฤติกรรมผู้ใช้ (User Experience Design) หรือพฤติกรรมลูกค้า (Customer Experience)

ทางทีมงานจะมาพูดเรื่อง “พฤติกรรมผู้ใช้ (Customer Experience)” ในตอนอื่น ๆ ต่อไปนะครับ

กระบวนการออกแบบพฤติกรรมผู้ใช้ (User Experience Methodology)

โดยปกติทั่วไปแล้วในวงการของ การออกแบบพฤติกรรมผู้ใช้ (User Experience) มักนิยมใช้ 3 กระบวนการหลัก ๆ ได้แก่

1.Design Thinking
มีเวลา + ทุนเยอะ มุ่งเน้นการพัฒนาสินค้า หรือบริการ

Design Thinking หลักการพื้นฐานที่คนไอที SME Startup ควรรู้..!

โดยขั้นตอนการทำ Design Thinking มีอยู่ 5 ขั้นตอน ได้แก่

1.เข้าใจ และรู้จักผู้ใช้งาน (Empathize)

ขั้นตอนนี้เป็นในการค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน และลูกค้า โดยเน้นไปที่การสร้างตัวอย่างผู้ใช้ เช่น กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้ (Persona) เป็นต้น

ทั้งนี้ยังมีวิธีการทำความเข้าใจ และรู้จักผู้ใช้งานอีกหลายอย่าง เช่น การรีวิวงานออกแบบ (Design Review), การสร้างต้นแบบ (Prototype Building), รับความคิดเห็นผู้ใช้งานจากการใช้งานต้นแบบ (Prototype Feedback) หรือการทดสอบความเหมาะสมในการใช้งาน (Usability Testing) เป็นต้น

2.ระบุความต้องการ และปัญหาของผู้ใช้งาน (Define)

เวลาเราทราบถึงข้อมูลกลุ่มตัวอย่างของผู้ใช้งาน หรือลูกค้าแล้ว เราจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ เพื่อกำหนดข้อมูลปัญหาของผู้ใช้ (Problem Statement) เช่น

ปัญหาเจ็บหลังเวลานั่งทำงาน ก็จะเขียนเป็น

“เมื่อเจ็บหลังเวลาทำงาน ฉันอยากจะได้เก้าอี้ไฟช็อต ฉันจะได้ไม่เจ็บหลังอีกต่อไป”

(สำหรับใครที่อยากรู้ลึก ๆ เดียวต้นปีหน้าเราจะมีหลักสูตรออนไลน์นะ มีความค้าขายไปอีก 55)

3.หาไอเดียเพื่อแก้ไขปัญหา (Ideate)

พอทราบถึงข้อมูลปัญหาแต่ละข้อของผู้ใช้งานแล้ว เราอาจจะต้องนำสิ่งเหล่านี้ มาหาไอเดียเพื่อที่จะต้อบโจทย์สำหรับผู้ใช้งาน

เช่น สร้างเก้าอี้ที่สามารถช็อตไฟฟ้าแก่คนใช้ หากนั่งนานเกินไป เป็นต้น

ทั้งนี้อาจจะต้องดูความเหมาะสม หรือการโหวตของในทีมตนเอง และทีมอื่น ๆ ด้วย

4.สร้างต้นแบบ (Prototype)

พอได้ไอเดียแล้ว ก็มาลงมือปฏิบัติสร้างต้นแบบ (Prototype) ส่วนนี้จะสัมพันธ์โดยตรงกับ นักออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (User Interface Designer) ที่จะต้องเข้ามาออกแบบหน้าตาให้ส่วนงาน ให้ตรงโจทย์ที่ นักออกแบบพฤติกรรมผู้ใช้งาน (User Experience Design) กำหนดมาด้วย

5.ทดสอบกับผู้ใช้ (Test)

กระบวนการสุดท้ายที่ยากที่สุดในทุก ๆ ข้อ คือ การทดสอบกับผู้ใช้ (Test)

ในส่วนนี้จะนำเอาต้นแบบ (Prototype) ที่เราสร้างมาทดสอบกับผู้ใช้งานจริง ๆ เช่น นำเอาแอปพลิเคชันตรวจสอบ PM 2.5 มาให้ผู้ใช้งานทดลองใช้

โดยวิธีการในการทดสอบมีหลากหลายแบบ แต่ที่นิยมใช้งาน คือ Usability Test กับ Gorilla Test (รายละเอียดจะยังไม่ขอลงลึกนะ ต้นปีหน้ามีหลักสูตรออนไลน์ อิอิ)

2.Lean UX
มีเวลา + ทุนน้อย เน้นสร้างไอเดีย ทดลอง และวัดผลเร็ว ๆ

ช่วงเวลาที่ผ่านมาใครต่อใครก็นิยมเอา “Lean UX” มาใช้กัน

เพราะเนื่องจากใช้เวลาค่อนข้างน้อย ทุนไม่ต้องมาก แต่ทำให้เรารู้ว่า เราควรจะพัฒนาต่อ หรือหยุดพอแค่นี้

โดยแนวคิดของ Lean UX เริ่มจากว่า “คิดให้เร็ว สร้างให้เร็ว ทดสอบให้เร็ว จะได้รู้ว่าสิ่งที่คิดไปมันจะตอบโจทย์ผู้ใช้ หรือลูกค้าไหม ?”

ส่วนใหญ่นำมาใช้กับ Startup หรือ SME เล็ก ๆ ที่เค้าไม่ได้มีทุนเยอะ แต่อยากทดลองตลาด ว่าไอเดียธุรกิจ Work ไหม ?

ตัวอย่างเช่น มีเงิน 10,000 อยากจะพัฒนาแอปพลิเคชันสั่งอาหารสำหรับเด็กมหาวิทยาลัย ถ้าลงมือทำเลยอาจจะสูญเสียเงิน กับเวลาเปล่า ?

อาจจะเริ่มจากสิ่งที่ทำได้ก่อน เช่น เปิดแฟนเพจ > ไปถ่ายรูปร้านใกล้ ๆ มาลง > ลงแชร์ไปยังเพื่อน ๆ > แล้วลองสรุปผล ว่าได้เงินไหม ? มีคนสนใจไหม ?

ถ้า Work ให้มาปรับปรุง หาเงินไปต่อ

ถ้าไม่ Work ก็หยุดเถอะ พอแค่ไหน ? (แยกย้าย 1)

โดยใน Lean UX จะนำเอาแนวคิดพวก MVP (Minimal Viable Product) หรือถ้าแปลกันง่าย ๆ จะแปลว่า “สินค้า หรือบริการเล็ก ๆ ที่สามารถใช้งานได้”

ตัวอย่างที่นำมาใช้มากที่สุดก็จะเป็น

บริษัท A อยากจะผลิตสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการเดินทางต่าง ๆ

แต่เค้ารู้แล้วว่าหากลงทุนไปสร้างรถยนต์เลย เค้าไม่สามารถจะทำได้ จึงใช้วิธีการ MVP

จึงใช้วิธีการสร้างเป็น สเก็ตบอร์ด > จักรยาน > มอเตอร์ไซค์ > รถยนต์ ในที่สุด

วิธีการนี้อาจจะไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน หรือลูกค้าในตอนแรก แต่ทั้งนี้บริษัทก็ยังสามารถขายสินค้า หรือบริการออกไปก่อนได้ พอมีเงินทุนจึงค่อยพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต

3.Google Design Sprint
รู้อยู่แล้วว่าจะทำสินค้าหรือบริการอะไร ? + ทีมต้องมีความเข้าใจในกระบวนการและสิ่งที่กำลังทำดี

สำหรับกระบวนการสุดท้ายที่นิยมนำมาใช้งานคือ “Google Design Sprint”

ทำไมถึงนิยมนำมาใช้งาน ก็เพราะมันถูกออกแบบมาจาก Google (เอ่ เกี่ยวหรือเปล่า ? 55) อีกทั้งยังการันตีว่าขอแค่เวลาแค่ 5 วัน ในการสร้างงานให้ออกมาอีกด้วย

สำหรับเนื้อหาของ Google Design Sprint ทางทีมงานขอเก็บไว้ก่อนนะ (อิอิ เดียวไม่มีเนื้อหาอะไรลงต่อละ)

แต่จะอธิบายให้คราว ๆ ในการใช้งาน Google Design Sprint จะต้องมีคนมีองค์ หรือพูดง่าย ๆ ว่ามีคนที่สามารถตัดสินใจได้ว่าทิศทางจะไปทางไหน ? แบบนี้โอเคหรือยัง ? รวมอยู่ด้วยในการทำงาน 5 วัน

ตัวอย่างทีมงานที่ต้องทำงานร่วมกัน ได้แก่ เจ้าของกิจการ (CEO), นักออกแบบ (Designer), เจ้าของโปรเจค (Project Manager) และนักพัฒนาโปรแกรม (Programmer) เป็นต้น

โดยในการทำงานนั้นจะต้องเข้าใจถึงบทบาทของแต่ละคน ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ แต่ละคนต้องเข้าใจถึงการทำงาน และหน้าที่ เพราะหากเอาคนเหล่านั้นมารวมกันจริง ๆ ลองคิดดูสิครับว่า งานออกแบบจะเป็นไปตามใครมากกว่า (เจ้าของนะสิ..!)

ดังนั้นก่อนจะไปเริ่มทำ Google Design Sprint ขอให้ทุกคนที่จะต้องมาทำงานรวมกัน เข้าใจถึงหลักการก่อนเสมอ (ไม่งั้นวงแตก แยกย้ายแน่ ๆ)

ไปตามอ่านหนังสือ Google Design Sprint ที่นี่ : http://bit.ly/32R9mTO

สุดท้ายนี้ น้อง ๆ นักศึกษาคงจะได้รู้ถึงกระบวนการคราว ๆ เพื่อเอาไว้ใช้ต่อยอดในการไปทำงานจริง ๆ ทั้งในงาน UX/UI หรืองานสายไอทีต่าง ๆ

ทีมงานหวังว่าทุก ๆ คนได้รับสาระความรู้ไปไม่มากก็น้อยนะ

ขอขายของแปปหนึ่ง ปีหน้า UPSKILL UX จะมีหลักสูตรออนไลน์ด้วยนะ ฝากติดตามหลักสูตรออนไลน์ด้วยนะทุกคน จุ้บ ๆ

--

--

UPSKILL UX
UPSKILL UX

Published in UPSKILL UX

User Experience & User Interface Skill Development Institute

Krit Chainoi
Krit Chainoi

Written by Krit Chainoi

Senior UX Designer & Managing Director, Upskill UX