UX Researcher นักวิจัยผู้ใช้ที่ตามหาความต้องการ และโอกาสใหม่ในการพัฒนาสินค้า/บริการให้ดียิ่งขึ้น

Warunchit
UPSKILL UX
Published in
1 min readNov 14, 2022

การตั้งคำถามว่า ‘ทำไม’ กับทุกๆอย่างรอบตัวในชีวิตประจำวัน เช่น ทำไมเราถึงรู้ว่าประตูบานนี้ต้องผลัก ดึง หรือ เลื่อน อะไรเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกวิธีการใช้งานของประตูบานนั้นๆได้ ในรอบๆตัวของเรานั้นทุกอย่างล้วนมี story เบื้องหลังของมัน เช่นเดียวกับที่งาน UX ทุกชิ้นต้องมีกระบวนการคิดเป็นขั้นเป็นตอนมาก่อนที่จะส่งออกทุกครั้ง

เบื้องหลังของงาน UX ส่วนมากจะอิงกับหลักจิตวิทยา อย่างเช่น เวลาที่เราไปเลือกซื้อของ เราจะรู้ได้ยังไงว่าตัดสินใจถูกต้องหรือเปล่า? หรือ เราเลือกซื้อ based on ด้วยเหตุผลอะไร? แล้วมันเกิดอะไรขึ้นระหว่างก่อนการตัดสินใจครั้งนั้น อาจจะผ่านการไตร่ตรอง หรือ อาจจะโดนปูทางให้ซื้อโดยไม่รู้ตัว เช่น มองว่าเข้าท่าที่จะมีของชิ้นนี้อยู่ในมือ ณ ตอนนั้น ในหลายๆครั้งมักนำเอาศาสตร์ Dark Pattern (รูปแบบการออกแบบเว็บไซต์หรือแอป ที่หลอกล่อให้ผู้ใช้ทำในสิ่งที่ตัวผู้ใช้เองไม่ได้ต้องการทำจริง ๆ) มาใช้ในงานนี้เพื่อเป็นการล่อหลอก หรือจะเป็นการบังคับให้ผู้ใช้งานมี Flow การใช้งานตามขั้นตอนที่เราวางแผนเอาไว้โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว เช่น มีปุ่มตัวเลือกเดียวบนหน้าเว็บไซต์ เป็นต้น

ซึ่งกระบวนการ UX Research นั้นคือขั้นตอนแรกในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ที่มีอยู่ โดยที่จะต้องคิดถึงเรื่องของผู้ใช้งานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น เช่น กลุ่มผู้ใช้งานของเราเป็นใคร? พวกเขามาจากใหน? พวกเขาต้องการอะไร? ทำไมพวกเขาต้องการจะใช้งานผลิตภัณฑ์ของเรา? และผลิตภัณฑ์ของเราจะช่วยให้พวกเขาได้สิ่งที่ต้องการได้อย่างไร?

โดย UX Researcher หรือก็คือ นักวิจัยทางด้าน UX จะมีหน้าที่หลักเพื่อการศึกษาเป้าหมายของผู้ใช้งานอย่างเป็นระบบ ทำการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลสำหรับนำไปใช้งานสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ (และทำให้ผู้ใช้พึงพอใจในการใช้งาน ตรงไปตามเป้าหมาย)

โดยขั้นตอนการทำงานคือจะต้องรู้ว่ากลุ่มผู้ใช้ของเราเป็นใคร / ความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานนั้นคืออะไร / การตั้งคำถามและเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม / ทำให้ข้อมูลที่ได้มาเข้าถึงและทำความเข้าใจได้ง่าย เป็นต้น

ในฐานะ UX Researcher มีหน้าที่ที่จะต้องตอบคำถามที่เกิดจากความต้องการ และปัญหาของผู้ใช้ โดยห้ามคาดเดา หรือคิดเอาเองจากประสบการณ์ส่วนตัว มากไปกว่านั้นยังจะต้องออกแบบกลยุทธ์การวิจัยในแบบต่าง ๆ ที่จะช่วยตอบคำถามเหล่านี้ด้วยข้อมูลทั้งจากทางฝั่ง Qualitative (ข้อมูลเชิงปริมาณ) และ Quantitative data (ข้อมูลเชิงคุณภาพ) มาวิเคราะห์เพื่อหาโอกาส หรือไอเดียใหม่ๆ มาใช้ในการออกแบบ นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีในส่วนของข้อมูลเชิงพฤติกรรม (Behavioral) ตรวจสอบว่าผู้ใช้ทำอะไร ผู้ใช้คลิกที่หน้าที่ไหนก่อนบ้าง? เป็นต้น และข้อมูลเชิงทัศนคติ (Attitudinal)จะพิจารณาถึงความรู้สึกและทัศนคติของผู้ใช้ที่มีต่อประสบการณ์การใช้งาน

เพื่อที่จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนให้กับผู้ใช้งาน ทำให้พวกเขาได้แสดงความคิดเห็นในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อวางเป้าหมายให้ตรงกับเป้าหมายขององค์กร และทำหน้าที่จับคู่เรื่องของความต้องการของผู้ใช้งาน (User Needs) และ ธุรกิจ (Business) ให้หาทางออกร่วมกันได้อย่างดีที่สุด โดยอย่างน้อยที่สุดเราก็จะมี Insights และ Data ที่สามารถนำมาตั้งสมมุติฐานต่อ และทำการทดสอบเพิ่มเติมได้

ติดตามเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่

--

--