UX Roadmap (แผนงานการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้) คืออะไร?

Joyy Suparat
UPSKILL UX
Published in
2 min readJan 28, 2022

UX Roadmap คืออะไร?

UX Roadmap — แผนงานการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ คือ กระบวนการการวางแผนเชิงเทคโนโลยี เกี่ยวกับกระบวนการสร้าง ออกแบบหรือผลิต จัดทำเป็นเอกสารหรือจัดลำดับความสำคัญของงานต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำเสนอและตรวจสอบในแต่ละงานหรือกระบวนการ ป้องกันข้อผิดพลาดและเป็นแนวทางในการดำเนินการต่างๆ อย่างเป็นระบบหรือขั้นตอน

ภาพประกอบจากบทความ UX Roadmaps: Definition and Components | https://bit.ly/3G81CzT

โครงสร้างและองค์ประกอบหลักของ UX Roadmap

ในปัจจุบันเราสามารถสร้าง Roadmap ออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Organize lists, Spreadsheet, ชุดสไลด์, รูปภาพ, กระดาษโน้ตบนกระดาน หรือสื่อต่างๆ

ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว Roadmap มักจะใช้โครงสร้างพื้นฐานเดียวกัน 2 ประการคือ บริบท (Context) และธีม (Theme)

👉 บริบท (Context)

เป็นการกำหนดกรอบการใช้แผนงานนี้ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้

1.ขอบเขต (Scope)

  • หัวข้อ (Title) : Roadmap นี้จะใช้งานโดยใคร?
  • เจ้าของแผนงาน (Roadmap Owner) : ใครเป็นคนสร้าง Roadmap นี้?
  • วันที่ (Date) : Roadmap นี้สร้างขึ้นเมื่อใด? หรือ Update ล่าสุดเมื่อไหร่?
  • เป้าหมาย (Goals) : แผนงานนี้สามารถทำให้เราไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างไร?

2. เวลา (Time)

  • ตอนนี้ (Now) : งานที่กำลังดำเนินการอยู่และกำลังจะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้
  • ช่วงเวลาหลังจากนี้ (Next) : งานในอนาคตอันใกล้
  • อนาคต (Future) : งานที่อยู่ในช่วงหลังจาก 6 เดือนนี้ (อาจเป็นแผนงานที่ยังไม่ชัดเจนมากนัก)

👉 ธีม (Theme)

คือ งาน UX ในอนาคต รวมถึงส่วนที่ต้องโฟกัส ส่วนที่เริ่มต้นใหม่ หรือปัญหาต่างๆ ที่ต้องได้รับการแก้ไข เชื่อมโยงกับเรื่องของเวลา ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากให้งานนั้นสำเร็จในช่วงใด

ภาพประกอบจากบทความ UX Roadmaps: Definition and Components | https://bit.ly/3G81CzT

ธีมจะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ

1.ผู้รับผลประโยชน์และความต้องการ (Beneficiary and Need)

  • ผู้ได้รับผลประโยชน์ (Beneficiary) คือ ผู้ใช้, พนักงาน, หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียภายในบริษัท/องค์กร
  • ความต้องการ (Need) คือ ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข

2.วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Business Objectives)

3.การเป็นเจ้าของ (Ownership)

  • ใคร (Who) : ใครในทีมที่จะทำให้งานสำเร็จได้
  • อะไร (What) : รายการงานที่ต้องทำให้สำเร็จ ไม่ควรเป็นรายการต่อเนื่อง แต่ให้เป็นรายการหรือหัวข้อย่อยๆ แทน
ภาพประกอบจากบทความ UX Roadmaps: Definition and Components | https://bit.ly/3G81CzT

ประเภทของ UX Roadmap

Roadmap โดยทั่วไปแล้วมี 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย บริบท และผู้ใช้งาน ดังนี้:

ภาพประกอบจากบทความ 3 Types of Roadmaps in UX and Product Design | https://bit.ly/33W7ZJm
  • Product (แผนงานผลิตภัณฑ์)— แสดงถึงปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ของผลิตภัณฑ์ ที่ต้องได้รับการแก้ไข ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต การตลาด การดำเนินการต่างๆ
  • Field (แผนงานภาคสนาม) — แผนงานที่แสดงถึงปัญหาที่จะแก้ไขด้วย UX ในอนาคต เช่น การออกแบบ, การศึกษาเพิ่มเติม แต่ไม่รวมถึงปัญหาภายนอก (การตลาด, การสนับสนุน)
  • Specialty (แผนงานพิเศษ) — เป็นส่วนย่อยของแผนงานภาคสนาม มุ่งเน้นไปที่ปัญหาเดียวภายในขอบเขตของ UX เช่น การทำ User Research

วิธีการสร้าง UX Roadmap

UX Roadmaps in 6 Steps | https://bit.ly/3g6Qjx8

6 ขั้นตอนหลักในการสร้าง UX Roadmap

  1. กำหนดเป้าหมาย (Establish Goal) — กำหนดเป้าหมายและระบุขอบเขตของงาน UX ให้ชัดเจน เพื่อทำให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน และสามารถนำเสนอแผนงานให้กับทีมอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ด้วยเช่นกัน
  2. รวบรวมข้อมูล (Gather Inputs) — รวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาต่างๆ เช่น Journey Map, Customer Feedbacks หรือ รายงานการสำรวจตลาด เป็นต้น
  3. สร้างธีม (Create Theme) — ธีมในที่นี้คืองาน UX ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราจะต้องกำหนดงานต่างๆ และจัดกลุ่มของงานนั้นๆ เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการและกำหนดหน้าที่ของแต่ละคนในทีม
  4. จำลำดับความสำคัญ (Prioritize Theme) — เมื่อเรากำหนดงานต่างๆ และแบ่งกลุ่มของงานที่จะทำแล้ว ในขั้นตอนนี้จะต้องจัดลำดับความสำคัญของงาน ว่างานใดควรที่จะทำก่อน-หลัง เพื่อสร้างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ง่ายต่อการตรวจสอบเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ โดยใช้ Model ต่างๆ เช่น KANO Model
  5. นำเสนอแผนงาน (Visualize & Share) — เมื่อวางแผนงานและสร้าง Roadmap เสร็จแล้วนั้น ในขั้นตอนต่อมาจะเป็นการนำเสนอแผนงาน เพื่อทำให้ทุกคนเข้าใจ เห็นภาพตรงกันและชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผน Roadmap อีกด้วย
  6. ตรวจสอบและอัพเดต (Revisit & Update) — เมื่อนำเสนอแผนงานและทำการให้ข้อเสนอต่างๆ เรียบร้อยแล้ว UX Roadmap จะสามารถนำไปใช้งานได้ก็ต่อเมื่อมีการตรวจสอบและทำการอัพเดตให้เป็นปัจจุบันแล้วนั่นเอง

--

--