Don’t design what they want but design why they need

teedej wara-asawapati
UX learners
Published in
1 min readMar 24, 2016
Do you really need bridge ?

วันที่ 16 มีนาคม 2559 มีโอกาสได้ไปร่วมงาน C-asean Hump Day: UX UI มาครับเลยอยากจะแชร์เรื่องราวหลายครั้งที่เราต้องสร้างหรือออกแบบอะไรสักอย่าง เราจะได้โจทย์ หรือ ความต้องการมาคราวๆ โดยสิ่งนั้นมักจะเป็น สิ่งสิ่งที่เขาบอกว่าเขาต้องการ

ในตัวอย่างที่ พี่ต้อง (กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล) นั้นยกมาคือ มีป้าคนหนึ่ง “อยากจะได้สะพาน” จึงจ้างสถาปนิกให้ช่วยออกแบบสะพานให้หน่อย โดยบรรยากาศรอบๆของบริเวณที่จะสร้างสะพานนั้น เป็นภาพ สวนหลังบ้านที่มีแม่น้ำกั้นกลางอยู่ คล้ายๆกับป่าสีเขียวขจี

ผลที่ได้คือ ออกแบบเป็น สะพานแบบยุโรป เป็นสะพานอิฐสีขาวมีทางเดินขนาบข้างแม่น้ำไป
ป้ายังไม่ถูกใจ รู้สึกว่ามันแพงเกินไป และไม่ค่อยเข้ากับป่าหลังบ้านเท่าไร อยากให้มันดูธรรมดา ๆ หน่อย เรียบง่ายหน่อย

ผลต่อมาคือ ออกแบบเป็น สะพานสไตล์เซ็น สะพานไม้ที่มีแผ่นไม้เรียงตัวกันอย่างสวยงาม มีราวจับด้านของที่ทำจากไม้ชนิดเดียวกัน ทุกส่วนเชื่อมต่อกันด้วยสลักไม้ ดูเรียบง่าย เมื่อสีของไม้ตัดกับสีเขียวของป่าไม้ ทำให้รู้สึก โปร่งและโล่ง สบายตา

แต่ป้าก็ยังไม่ถูกใจ

และในขนาดเดียวกันนั้นเอง เวลาก็ล่วงเลยไป งบประมาณที่ใช้ไปกับการคิดหาไอเดีย การออกแบบ ก็ค่อยๆหมดไป

ผลที่ออกมาครั้งที่ 3 ก็เลยได้ สะพานไม้ ที่เป็นการเอาท่อนไม้สีน้ำตาลเข้มบางอันมาเรียงๆกัน เชื่อมกันด้วยตะปู และมีราวจับที่ทำจากท่อไม้กลมๆเช่นเดียวกัน

แต่ป้าก็ยังไม่พอใจ และสุดท้ายงบประมาณก็หมดลง ผลที่ได้คือ ได้สะพาน ที่ทำจากท่อนไม้ยาวๆ 2 อันพาดข้ามแม่น้ำไป และนำท่อนไม้ที่มาวางเรียงห่างๆกันเพื่อให้เดินข้ามไปได้ คล้ายๆกับเอา บันไดมาพาดข้ามแม่น้ำยังไงยังงั้น

นี้คือการสร้างจาก สิ่งที่ป้า “อยากได้”

จะดีกว่ามั้ยถ้า หลักจากที่ป้าบอกว่า “อยากได้สะพาน” เราถามต่อไปว่า ทำไมป้าถึงอยากได้สะพานละครับ
ป้าอาจจะตอบกลับมาว่า “อ๋อป้าปวดหลัง ป้าอยากจะข้ามแม่น้ำไปหาหมอฝั่งตรงข้าม”

และสิ่งที่เราออกแบบมันอาจจะไม่ใช่สิ่งของหรือสะพาน แต่มันอาจจะเป็นแค่ พาหมอมาหาป้าแทนเท่านั้นก็พอ
เราควรจะออกแบบจาก สิ่งที่เขาบอกว่า “เขาต้องการสิ่งนี้” หรือ จาก “ทำไมเขาถึงต้องการสิ่งนี้”

Don’t design what they want but design why they need

--

--

teedej wara-asawapati
UX learners

before you judge a man, walk a mile in his shoes | teedej | EST. 1989