10 ประโยชน์จาก “ฝาย” ได้อะไรมากกว่าที่คิด

Thanapha Chantharaphaichit
vcharkarndotcom
Published in
2 min readJun 12, 2017

ซึ่งการสร้างฝายก่อให้เกิดคุณประโยชน์นานับประการ ดังนี้

  1. ช่วยชะลอน้ำสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าตลอดทั้งปีปัจจุบันมีการดูแลป่าชุมชนพื้นที่รวมกว่า 210,000 ไร่
  2. มีน้ำใช้อย่างพอเพียงในหน้าแล้งชุมชนโดยรอบไม่ขาดแคลนน้ำเหมือนแต่ก่อน
  3. ลดอัตราการเกิดน้ำท่วมอย่างในช่วงที่ฝนตกหนักในพื้นที่ จ.ลำปาง พบว่าน้ำไม่ท่วมในพื้นที่ที่สร้างฝายชะลอน้ำ เช่น ชุมชนบ้านสาสบหกอำเภอแจ้ห่ม และ ชุมชนบ้านสามขา บ้านนายาบ บ้านทุ่ง บ้านดอนไฟ บ้านเอียก ในอำเภอแม่ทะ เป็นต้น
  4. ช่วยยืดระยะเวลาให้น้ำท่วมช้าลงในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติทำให้ชาวบ้านในชุมชน สามารถอพยพหนีน้ำได้อย่างทันท่วงที
  5. ช่วยลดจำนวนการเกิดไฟป่าเช่น หลังจากสร้างฝายในพื้นที่ป่ารอบโรงงานปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) มีจำนวนการเกิดไฟป่าลดลงจากปีละ 200–300 ครั้ง เหลือเพียงปีละไม่เกิน 4–6 ครั้ง และในปี 2555–2558 ไม่เกิดไฟป่าขึ้นในพื้นที่นั้นอีกเลย
  6. เกิดความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ป่าในระบบนิเวศเช่น พื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าแม่ทรายคำ พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 22 ชนิด อาทิ เม่นใหญ่ สุนัขจิ้งจอกและแมวดาวซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ พบสัตว์เลื้อยคลาน 26 ชนิด และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 11 ชนิด เป็นต้น
  7. ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เพราะมีอาหารเพียงพอทั้งผลผลิตจากป่าและการเกษตร
  8. สร้างอาชีพ มีรายได้ได้ตลอดทั้งปี ทั้งการนำผลผลิตจากป่า อาทิ เห็ดต่างๆ ผักหวาน น้ำผึ้ง สมุนไพร ไปขาย บางแห่งมีธรรมชาติที่สวยงาม จนสามารถเปิดเป็นโฮมสเตย์สร้างรายได้เสริมให้ชุมชน
  9. ต่อยอดขยายผลสู่กิจกรรมใหม่ๆอาทิ การป้องกันไฟป่า การจัดทำประปาภูเขาการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน เช่น กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มสมุนไพรล้างสารพิษ เป็นต้น
  10. พัฒนาขึ้นเป็น “สถานีรักษ์น้ำ”ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเข้มแข็งอย่างพอเพียงแล้ว 3 แห่ง มีรายได้จากค่าเยี่ยมชมและจำหน่ายสินค้าชุมชนรวมกว่า1.3 ล้านบาท

กาญจนบุรี

ระยอง

ลำปาง

สระบุรี

นครศรีธรรมราช

ขอนแก่น

แนวทางการสืบสานพระราชปณิธาน

ในปี 2560 เอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต จะสืบสานพระราชปณิธานการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริร่วมกับชุมชนต่อไป โดยจะขยายพื้นที่พร้อมส่งเสริมให้ชุมชนเรียนรู้การแก้ปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมด้วยตนเอง ดังนี้

  • สร้างฝายชะลอน้ำในทุกจังหวัดที่เอสซีจีมีโรงงาน และในจังหวัดใกล้เคียง พร้อมส่งเสริมให้เกิด “สถานีรักษ์น้ำ” ศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการน้ำชุมชน เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับชุมชนอื่นๆ
  • สร้างบ่อพวง เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองให้กับชุมชนที่มีพื้นที่เหมาะสม ยอมเสียสละพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะ และมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแหล่งน้ำได้ด้วยตนเอง
  • ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร

- ขยายพื้นที่การบริหารจัดการน้ำชุมชน เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- สร้างเครือข่ายชุมชนบริหารจัดการลุ่มน้ำ และขยายไปพื้นที่อื่นๆ อาทิ ขยายผลต้นแบบการบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชนลุ่มน้ำชี ไปสู่เครือข่ายลุ่มน้ำวัง จ.ลำปาง ลุ่มน้ำแม่กลอง จ.กาญจนบุรี และลุ่มน้ำป่าสัก จ.สระบุรี

เอสซีจีเชื่อมั่นว่า การน้อมนำแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนมาดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาน้ำของประเทศได้ และจะมุ่งมั่นสืบสานพระราชปณิธานโดยเป็นต้นแบบการบริหารจัดการน้ำร่วมกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

--

--