Venture Builder คืออะไร ในวิถีของ MFEC

Venture Lab
Venture Lab
Published in
3 min readFeb 15, 2019

หากคนที่รู้จัก MFEC ก็จะรู้ว่า เราเป็นผู้ให้บริการให้คำปรึกษา พัฒนา และวางระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายงานสารสนเทศอย่างครบวงจรมากว่า 20 ปี เราจึงผ่านทุกยุคทุกสมัยของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี สังคม และความต้องการของผู้บริโภค ทำให้เราตระหนักว่าโลกทุกอย่างรอบตัวเราเปลี่ยน และทุกคนต้องเริ่มเปลี่ยนตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป…

Venture Builder Model จึงเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของเรา โดยทีมนี้เป็นแรงขับเคลื่อนและผลักดัน innovation สำหรับ MFEC และบริษัทคู่ค้าให้เกิดขึ้น ซึ่ง 2 เหตุผลหลักที่ทำให้เกิดทีมเราขึ้นก็คือ

  1. ลูกค้าที่เข้ามาหา MFEC ต้องการป้องกันตัวเองจากการถูก disrupt จึงอยากให้ MFEC ช่วยหา digital solution เข้าไปช่วย เช่น ลูกค้าสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งในตลาดมีหลายบริษัทที่ปิดตัวลง จึงอยากจะหา digital solution เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
  2. MFEC เองก็คอยป้องกันตัวเองจากการถูก disrupt เช่นกัน จากโลกดิจิทัลและพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป จากแต่ก่อนเราเป็นผู้วางระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร (on-premise) แบบครบวงจร ปัจจุบันมีเทคโนโลยี Cloud เข้ามาโดยสามารถจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลออนไลน์บนระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป

เราจึงเริ่มต้นที่อยากจะสร้าง innovation ให้เกิดขึ้นเอง

Make Your Company The Disruptor, Not The Disrupted.

Cr: https://nestholma.com/corporations-go-disrupt-startups/

Venture Builder Model คืออะไร?

Venture Builder ในความเข้าใจของคนในวงการ คือ สตูดิโอหรือโรงงานที่ผลิต startup หรือธุรกิจใหม่ๆ ออกมา จากการรวบรวมไอเดียหรือจุดที่เป็นปัญหาและสร้างความยุ่งยาก (pain point) มาจากเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกบริษัท โดยใช้กระบวนการและองค์ความรู้ของ startup ที่ขึ้นชื่อว่ารวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง Venture Builder จะสนับสนุนทุกอย่างในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน เงินเดือน เงินลงทุนตั้งต้น และคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ

ซึ่งคำว่า Venture Builderในความหมายของ MFEC นั้น เรายังมีองค์ประกอบสำคัญที่เพิ่มขึ้นมา โดย mission ของทีม คือ
(1) เราจะปั้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและต่อยอดให้เกิดเป็นธุรกิจใหม่ (To incubate disruptive ideas and turn them into a scalable business)
(2) เราจะทำให้พนักงานในองค์กรกลายเป็นผู้ประกอบการภายใน (To turn employees into intrapreneurs)

เราเชื่อว่าการทำทั้ง 2 missions ข้างต้นไปพร้อมๆ กัน จะช่วยเร่งกระบวนการสร้าง innovation ในองค์กรให้เกิดขึ้นได้จริง ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

ทำไมต้อง Venture Builder?

หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้ว Venture Builder นั้นแตกต่างจาก Incubator หรือ Accelerator program ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันอย่างไร กล่าวง่ายๆ คือ ทีม Venture Builder จะร่วมลงมือทดสอบกับเจ้าของไอเดียด้วยตนเอง ไม่ใช่แค่ให้คำแนะนำหรือจัดอบรมเพียงเท่านั้น โดยเริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา คิดหาทางแก้ ทดสอบไอเดียและวิเคราะห์ศักยภาพของตลาด รวมถึงการพัฒนาและทดสอบแบบจำลอง (prototype) เพื่อพิสูจน์ว่าโซลูชันที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้น สามารถแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้จริงๆ (problem-solution fit) และไปจนถึงช่วงที่พิสูจน์ได้ว่ามีลูกค้าที่ต้องการใช้และจ่ายเงินเพื่อซื้อโซลูชันของเราจริงๆ (product-market fit)

สิ่งที่สำคัญจากทุกกระบวนการข้างต้น คือ “ประสบการณ์” และ “ทักษะ” ที่ทีม Venture Builder ได้รับจากการทดลองผิดทดลองถูกระหว่างการพัฒนาไอเดียใหม่ๆ ที่เข้ามา และจะคงอยู่กับทีมต่อไปแม้ว่าไอเดียจะล้มเหลวก็ตาม โดยทีมจะนำประสบการณ์ที่ได้รับมา re-use ใช้ในการทดสอบไอเดียในครั้งต่อๆ ไป

การ re-use ประสบการณ์และทักษะเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจใหม่ที่ปั้นขึ้นสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะยาว หรือพูดอีกนัยนึงคือ ช่วยลดความเสี่ยงจากความล้มเหลว ด้วยประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากครั้งก่อนๆ

ดังนั้น ทีม Venture Builder สำหรับ MFEC จึงเหมือนเป็น Innovation Hub ที่เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ในการสร้างนวัตกรรม และธุรกิจใหม่ๆ แทนที่องค์ความรู้เหล่านั้นจะจบไปกับการทำงานแยกกันในแต่ละหน่วยงานภายในบริษัท

และนี่คือที่มาของทีมใหม่ที่ชื่อว่า… “Venture Lab”

เราตั้งทีม Venture Lab ขึ้นมา ภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ว่า “There’s no innovation without experimentation” เพื่อทำหน้าที่ “ทดลอง” สร้างโอกาสในการทำธุรกิจใหม่ๆ ให้แก่บริษัท โดยเราจะเริ่มจากการรวบรวมไอเดียจากคนในทีมและคนในองค์กรเอง เพื่อลงมือทดสอบไอเดียกันจริงๆ จนสามารถพัฒนาเป็น solution ที่มีคนใช้งานจริง และสามารถขยายเป็นธุรกิจใหม่ได้ ผ่านการใช้องค์ความรู้ startup เช่น Design Thinking, Lean Startup, และ Agile

และเพื่อเพิ่มโอกาสให้ไอเดียที่ทำเกิดเป็นธุรกิจได้จริงอย่างก้าวกระโดด เราอยากที่จะร่วมมือกับลูกค้าที่มีความเข้าใจเชิงลึกทางธุรกิจ มีปัญหาทางธุรกิจที่ต้องการหาทางแก้ (business pain point) ที่ใหญ่ และมีช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าที่แท้จริงด้วยเช่นกัน โดย MFEC จะใช้จุดแข็งของตัวเองในฐานะ “Tech Founder” ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี และสามารถสร้าง integrated solution technology ได้ เพื่อร่วมกันปั้นไอเดียที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจตรงกัน ให้เกิดเป็นโซลูชันที่มีผู้ใช้จริง และจุดมุ่งหมายสูงสุดคือ สามารถพัฒนาเป็นธุรกิจที่สามารถเติบโตได้จริง

คนที่ Venture Lab กำลังมองหา คือใคร?

ตอนนี้ Venture Lab กำลังเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจในเรื่อง innovation และอยากที่จะทำให้มันเกิดขึ้นจริงมาเข้าร่วมทีม ในตำแหน่ง UX Researcher, Business Innovation Consultant และ Product Owner

  1. UX Researcher ผู้มี background ทางด้านจิตวิทยาหรือมีประสบการณ์การทำ user research ทำหน้าที่ลงสนามไป empathize user ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้ innovation ที่เราพัฒนาขึ้น สามารถแก้ปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง
  2. Business Innovation Consultant ผู้มี background ทางด้านธุรกิจ ทำหน้าที่มองหาโอกาสทางธุรกิจ และมีส่วนสำคัญในการคัดเลือกไอเดียหรือปัญหาเพื่อนำมาพัฒนาเป็น innovation และการวางโครงสร้างการทำรายได้ของธุรกิจ (business model) รวมถึงการวางกลยุทธ์การเข้าถึงกลุ่มลูกค้า (Go-to-Market strategy)
  3. Product Owner ผู้มีประสบการณ์ทางด้าน product development มีความเข้าใจทางด้าน user ธุรกิจ และทางเทคนิค สามารถสื่อสารกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและวางแผน product roadmap ได้ และมีความรู้ด้าน full-stack software development เพื่อให้การสร้าง innovation เป็นไปอย่างมีรูปธรรม เป็นระบบ และเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้

โดยในทุกตำแหน่งมี requirement เดียวกันคือ

  1. มี growth mindset เปิดกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ พร้อมพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
  2. ชอบความท้าทาย เพราะงานของทีมเรา จะต้องพบกับ challenge ใหม่ๆ อยู่เสมอ
  3. ลงมือทำ execution ได้จริง ชอบทดลองผิดทดลองถูก ไม่กลัวความล้มเหลว เพราะเมื่อเราลงมือทำ เราจะ fail fast และ fail forward
  4. ทำงานแบบ Agile คือ คิดเร็ว ทำเร็ว ได้ feedback เร็ว ปรับปรุงเร็ว
  5. มี entrepreneurship ในตัว หรือมี business mindset

ทีม Venture Lab นี้เป็นส่วนหนึ่งของ Transformation Office ภายใต้การดูแลโดยตรงของ Chief Transformation Officer ซึ่งเป็นหนึ่งใน direction สำคัญของ MFEC ในปี 2019 นี้

สำหรับใครที่ต้องการรู้จัก Venture Lab มากขึ้นสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.venturelab.tech และหากคุณมั่นใจจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง Innovation ให้เกิดขึ้นจริง สามารถส่ง CV และ transcript มาที่ venturelab@mfec.co.th พวกเรารอคนมีไฟอย่างคุณอยู่!

“Venture Lab” is now recruiting!

บทความนี้เขียนโดยคุณโชติมา สิทธิชัยวิเศษ (Head of Venture Lab) และคุณช่อผกา ศิกษมัต (Business Innovation Manager)

--

--

Venture Lab
Venture Lab

We are learning by doing to increase the chance of success in a long run. know more >> www.venturelab.tech