“เป็ด” The Secret Sauce of Future Talent

WEDO
WEDO
Published in
4 min readOct 25, 2022

ในยุค zero to one แน่นอนว่าหลายองค์กรต้องหันกลับไปเริ่มต้นจากศูนย์เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป แต่รู้ไหมว่าจริง ๆ แล้วการสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กลับไม่ได้เริ่มจากเทคโนโลยี แต่เริ่มจาก “คน” แล้วคนประเภทที่เหมาะสมกับการสร้างนวัตกรรมตามแบบฉบับของ WEDO ก็ไม่ใช่ “specialist” แต่เป็น “มนุษย์เป็ด” ที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเป็น ทำไมต้องมนุษย์เป็ด? มาฟังคำตอบจาก พี่อาร์ท อภิรัตน์ หวานชะเอม, Chief Digital Officer แห่ง WEDO ในหัวข้อ “เป็ด” The Secret Sauce of Future Talent” ในงาน Thailand HR Tech 2022 ที่จัดขึ้นที่ Royal Paragon Hall สยามพารากอนเมื่อวันที่ 18–19 ตุลาคมที่ผ่านมากันเลย

“zero to one” ยุคแห่งความท้าทายขององค์กร

zero to one เป็นยุคที่องค์กรจะต้องเริ่มกลับไปที่ศูนย์ใหม่เพื่อคิดว่าถ้าเราจะอยู่คู่กับลูกค้า และประเทศไทยต่อไปได้ต้องทำสินค้าและบริการใหม่อะไรออกมาให้ตอบโจทย์กับพฤติกรรมลูกค้า และ context ทางด้านวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป นับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับหลายองค์กรในยุคนี้ เนื่องจากต้องปรับตัวจาก Operation Organization เป็น Innovation Organization

WEDO หน่วยงานดิจิทัลที่เริ่มจาก “คน”

แม้จะมีภารกิจให้สร้างทีมที่ช่วยให้ SCG สามารถสร้างนวัตกรรมด้านดิจิตอลได้ แต่พี่อาร์ทเล่าว่างานแรกที่เขาทำกลับไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีเลย แต่เป็นเรื่อง “คน” โดยใน 3–6 เดือนแรกพี่อาร์ททำงานใกล้ชิดกับ HR มากเพราะต้องการสร้างทีมใหม่ หา talent ยุคใหม่เข้ามาอยู่ในองค์กร ซึ่ง talent ที่ว่าจะต้องมีความสามารถในการสร้างสินค้า บริการ และโอกาสทางธุรกิจใหม่ให้องค์กรได้ “ทีมนี้จะต้องไม่เริ่มจากเทคโนโลยีแต่เริ่มจากคนก่อนเพราะจะต้องเข้าใจคน เข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งแล้วนำความเข้าใจนั้นมาทำให้เป็นธุรกิจใหม่ที่เติบโตและยั่งยืนให้ได้ หลังจากนั้นถึงจะเป็นเรื่องของศักยภาพในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเข้าถึงลูกค้าให้ดีขึ้น สร้างบริการใหม่ที่ทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นและทำธุรกิจใหม่ที่เราสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้มากขึ้น” พี่อาร์ทกล่าว โดยแนวคิดเริ่มต้นคือต้องการสร้างทีมที่มี core ingredients 3 อย่างคือ design business และ technology ซึ่งทำงานได้ 3 โหมด คือโหมดลองผิดลองถูกคล้ายสตาร์ทอัพ โหมดขยายผลธุรกิจ เทคโนโลยีหรือโหมดของ engineering และสุดท้ายคือโหมดที่ดูแลเทคโนโลยีเหล่านี้ให้มีความยั่งยืน

THE JOURNEY OF WEDO

หลายคนจะสังเกตได้ว่าหน่วยงาน Digital Office หรือที่เป็นที่รู้จักทั่วไปในนาม SCG WEDO จะมีกลิ่นอายที่ไม่เหมือน SCG พี่อาร์ทยังเล่าว่า “WEDO ต้องการสร้างภาพลักษณ์และสื่อสารออกไปยัง talent ภายนอกว่าเรามี area ใหม่ในการทำนวัตกรรมที่ต้องการคนที่มีความสามารถด้าน design business และ technology อีกทั้งมี passion humble fearless หรือการไม่กลัวที่จะลองของใหม่ให้เข้ามาร่วมในองค์กร”

ปีแรก เป็นปีที่ WEDO พิสูจน์ตัวกับองค์กรว่าทีมใหม่นี้สามารถสร้างของใหม่ให้กับองค์กรได้จริง

ปีที่สอง เป็นปีที่ไม่มีโอกาสที่จะหัดเดินแต่ต้องวิ่ง WEDO ได้ทำสิ่งใหม่ให้ SCG หลายอันทั้ง software และ hardware ด้าน IoT และ smart device ด้วย

ปีที่สาม เป็นปีที่ WEDO ทำงานอย่างใกล้ชิดทั้งกับภาคการศึกษา ภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลักดัน new economy และ digital economy ในระดับประเทศ ซึ่ง Techsauce Global Summit ปีนี้เป็นครั้งแรกที่ไปออกบูธด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ “สิ่งที่เราภูมิใจที่สุดสำหรับการไปออกงาน Techsauce ก็คือคำพูดจากคุณอัฐ CEO ของกลุ่มเปาโลพญาไทว่า สิ่งที่น่าตื่นเต้นไม่ใช่แค่นวัตกรรมของ SCG แต่ว่าเป็นทีมเป็นนวัตกรผู้อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมนั้น” พี่อาร์ทกล่าว

NEW TALENT ไม่จำเป็นต้องเป็นเด็ก

สำหรับพี่อาร์ท และ WEDO คำว่า “new talent” หมายถึงทุกอายุ ทุกเพศ ทุกวัยจากทุกส่วนของประเทศ ไม่ได้แปลว่าต้องเป็นเด็กรุ่นใหม่ Gen Z เท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงมีโครงการ “Work from Where You Are” อยู่ที่ไหนก็ได้สร้างนวัตกรรมได้ ไม่ต้องเลือกระหว่างชีวิตที่อยากใช้กับงานที่อยากทำ ยังมีอีกโครงการหนึ่งชื่อว่า “Young at Heart” ที่ดึงพี่ ๆ วัยเกษียณที่ยังมีไฟ อยากสนุกกับน้อง ๆ กลับมาเอาประสบการณ์เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่แล้วสามารถเป็นส่วนหนึ่งของทีมนวัตกรได้ โครงการที่ประสบความสำเร็จมากอีกหนึ่งโครงการชื่อว่า “Young Talent” เป็นโครงการที่เอานิสิตนักศึกษาปี 1 ถึงปีที่ 4 ซึ่งปีนี้จะรับตั้งแต่มัธยมปลาย ม. 4 ถึงม. 6 เข้ามาฝึกงาน ทำจริงเจ็บจริงเป็นเวลา 6 เดือนแล้วสามารถมีนวัตกรรมออกมาได้ ตอนนี้โครงการนี้ทำมา 2 รุ่นแล้ว โดยเดือนธันวาคมปีนี้จะเริ่มรับรุ่นที่ 3 ซึ่งผลลัพธ์ของการสร้างนวัตกรแบบนี้คือ รางวัลองค์กรนวัตกรรมดีเด่นจาก NIA อีกทั้ง Young Talent Program ยังได้รางวัลระดับ Gold จากทาง PMAT ด้วย

“มนุษย์เป็ด”เบื้องหลังความสำเร็จของ WEDO

Digital Office ย่อว่า DO คน DO เรียกว่า DODER และคน DODER ต้อง DODEE เป็นคอนเซ็ปต์ที่ทีม Talent Development คิดขึ้นมาโดย DODEE ประกอบไปด้วย 3 D ได้แก่ Mindset Dee, Skillset Dee และ Contribution Dee ซึ่งคน DODEE คือ “มนุษย์เป็ด” คนที่จำเป็นสำหรับการทำ zero to one และทำนวัตกรรมใหม่จะเป็น specialist ที่เชี่ยวชาญด้านเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีความเป็น T-shaped ต้องเป็นคนคิดและคนทำด้วย เป็นคน manage อย่างเดียวไม่ได้ต้องสามารถ lead และ coach ด้วย ที่สำคัญคือจะมีแต่ critical thinking ไม่ได้ ต้องเก่งในเรื่อง creative thinking และ design thinking ซึ่ง WEDO เรียกว่า “new talent” หรือ “เป็ด” ซึ่ง “secret sauce” ในการสร้างเป็ดหรือคน DODEE มีประกอบด้วย 5 อย่าง ได้แก่

  1. สร้าง innovation portfolio ว่าในปีนี้หรือปีถัดไปจะทำของใหม่ ๆ ในจุดไหนบ้าง ทั้งธุรกิจหลัก ธุรกิจต่อยอด และธุรกิจใหม่
  2. ทำ model ที่เจาะจงว่า talent ที่มีความ DODEE ใน version ของแต่ละองค์กรต้องเป็นแบบไหน
  3. สร้าง culture ขององค์กรที่เหมาะสมกับ talent
  4. ตามหา talent ที่ใช่และเหมาะสมกับองค์กรให้เจอ
  5. ชวน talent ที่ใช่เข้ามาทำในสิ่งที่ตอบโจทย์กับ passion และ higher value ของเขาเพื่อให้เขาไม่รู้สึกว่าทำให้เราแต่ทำให้ตัวเอง

innovation portfolio จะประกอบด้วยธุรกิจ 3 ส่วน ได้แก่

  1. core หรือธุรกิจหลัก เหมาะกับกลุ่ม comfort zone ที่ไม่อยากเปลี่ยน ไม่อยากออกจาก comfort zone โดยเราสามารถ reskill เขาได้ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยการทำนวัตกรรมในส่วนนี้จะช่วยส่งเสริมเพื่อเสริมและสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจหลัก
  2. adjacent หรือธุรกิจต่อยอดจากธุรกิจหลักเหมาะกับกลุ่ม follower ที่มักสังเกตการณ์จากคนอื่นที่ลองทำก่อน ถ้าดีเดี๋ยวตามไป
  3. new s-curve หรือธุรกิจใหม่เหมาะกับกลุ่ม early adopter ที่ชอบลองของใหม่ ชอบประกวดนวัตกรรม

การที่ innovation portfolio เป็นหลักตามนี้จะทำให้การสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องของทุกคนในองค์กรไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของกลุ่มเล็ก ๆ นอกจากนี้ทางองค์กรจำเป็นต้องสร้าง culture ใหม่ที่ตอบโจทย์ของกลุ่ม adjacent และ new เพื่อตามหา talent ที่ใช่เข้ามาในองค์กรอีกด้วย การมี Top down direction ที่ชัดเจนจากผู้บริหาร และมี Bottom-up solution ที่ตอบโจทย์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมได้ อย่าง SCG ที่มี Top down direction ว่า passion for better living โดยต้องการเปลี่ยนตัวเองจากการทำวัสดุก่อสร้างให้เป็น experience company จึงเกิดการ execute ออกมาเป็นนวัตกรรมที่ทำให้อากาศในบ้านดีขึ้น สุขภาพของคนในบ้านดีขึ้น ใช้พลังงานน้อยลง ประหยัดน้ำมากขึ้น เป็นต้น ส่วน Bottom-up solution คือหลักการ micro entreprise สร้างทีมเป็ด 6 ถึง 7 คน มีทั้ง design business และ technology ที่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองขึ้นมาเพื่อช่วยกันตีโจทย์ไปพร้อม ๆ กันโดยวัดผลผ่าน OKRs และ KPIs เป็น phrase ไป

“WE DON’T JUST TALK, WE DO”

ชื่อ WEDO มาจาก we are digital office ประกอบกับการที่เราเป็นคนที่ชอบทำหนึ่งในเครื่องพิสูจน์ของประโยคนี้คือ BiT หรือ Born in Thailand นวัตกรรมที่ช่วยผลักดันสร้างความเชื่อว่าประเทศไทยสามารถเปลี่ยนตัวเองจาก user เป็น maker สร้างนวัตกรรมออกสู่ตลาดโลก โดยมีแนวความคิดจากการที่ประเทศไทยจะมีประชากรวัยทำงานลดลง เราต้องหารายได้ต่อหัวที่เพิ่มขึ้นจึงไม่สามารถพึ่งพาระบบอุตสากรรมและเกษตรกรรมได้อย่างเดียว แต่ต้องพึ่งพาระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นเชิงนวัตกรรม เชิงสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีด้วย

ปัจจุบัน WEDO เริ่มนำงานนวัตกรรม งานวิจัยของคนไทยจากมหาวิทยาลัยออกสู่ตลาดเป็นผลสำเร็จ หนึ่ง ในอันที่ภูมิใจมากเพราะใช้เวลาแค่ 6 เดือนเท่านั้นจากการวิจัยสู่ตลาดก็คือ “ก๊อกน้ำพูดได้” ที่ใช้ระบบการพูดคุยภาษาไทยคล้ายกับ Siri สามารถใช้งานนได้แบบ offline ไม่ต้องมีอินเทอร์เน็ต และ Cloud

พี่อาร์ทเล่าว่า “นวัตกรรมนี้สามารถใช้งานเป็นภาษาไทยได้โดยการพูดคุยซึ่งเป็นการใช้งานที่เป็นธรรมชาติ และ inclusive ที่สุด ต่อให้เราตาบอด หรืออยู่ที่ไหนบนโลกก็สามารถใช้งานได้เพราะไม่ต้องการทั้งอินเทอร์เน็ตและ cloud จึงเป็นความภูมิใจของทีมที่สามารถทำให้ passion ที่อยากเปลี่ยนจาก user เป็น maker และ enabler สามารถ enable นวัตกรรมคนไทยได้ภายใต้ concept BiT”

เป็ดน้อยกับภารกิจสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

นอกจากก๊อกน้ำพูดได้ที่ทีมนวัตกรเป็ดของ WEDO ได้พัฒนาจนสำเร็จแล้ว เป็ดน้อย จาก WEDO Young Talent Program ที่ยังเป็นนักศึกษาปีที่ 1 ถึง 4 สามารถสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลกตาม passion ของแต่ละกลุ่มออกมาโดยใช้เวลาเพียง 13 สัปดาห์เท่านั้น

1.“NAIYANA” Computer Vision ผู้ช่วยในการเดินทางของผู้พิการทางสายตา ในรูปแบบของเครื่องสวมใส่บริเวณตา เพื่อคอยเตือนให้ผู้สวมใส่หลบสิ่งกีดขวางที่อยู่โดยรอบ

2.“meplug” Smart Energy Anywhere Smart Outlet ได้รับการออกแบบสำหรับติดตั้งในลานจอดรถภายในคอนโดมีเนียมที่สามารถชาร์จได้ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น เครื่องดูดฝุ่นรถยนต์ เครื่องล้างรถยนต์ สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า และ สามารถติดตามการใช้งานไฟฟ้า รวมทั้งคิดค่าใช้จ่ายตลอดจนชำระเงินได้ผ่านแอปพลิเคชัน

3.“Never fall” Computer Vision ที่วัดความเสี่ยงในการพลัดตก และหกล้มของผู้สูงอายุ โดยใช้ศาสตร์การป้องกัน ศึกษาและหยิบยกหลักการทางกา​ยภาพบำบัด Timed up and go test (TUG) มาปรับใช้กับเทคโนโลยี Computer Vision ในการเก็บผลข้อมูลของผู้ใช้​งาน และแสดงให้เห็นถึงความเสี่ย​งที่อาจเกิดขึ้น พร้อมแนะแนวทางการป้องกันกา​รรักษา รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อแพทย์​และนักกายภาพ ในการเป็นข้อมูลประกอบการรั​กษาเบื้องต้นในรูปแบบ Software/ Digital Platform ในการประมวลผลโดยรับ input จากอุปกรณ์ เช่น กล้อง

4.“รากแก้ว” เครื่องอ่านหนังสือสำหรับผู้พิการทางสายตาที่สามารถรู้ใจความสำคัญของแต่ละบทของหนังสือ ทำให้ผู้พิการทางสายตามีความสามารถในการใช้หนังสือเทียบเท่ากับคนทั่วไป

5. “BCI (Brain Computer Interface)” อุปกรณ์ที่ใช้ติดกับศีรษะของคนเพื่อให้คลื่นสมองสั่งงานและจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ช่วยผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกายหรือพูดคุยได้ ให้พวกเขาเหล่านี้สามารถสื่อสารกับผู้ดูแล รวมทั้งคนในครอบครัวได้ 24 ชั่วโมง

ในงาน Thailand HR Tech 2022 ครั้งนี้เรียกได้ว่าพิเศษกว่าครั้งไหน ๆ เพราะ WEDO ขนกันมายกทีมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับความรู้และประโยชน์กลับไปมากที่สุด มีทั้ง workshop sessions ที่จะเล่าถึง secret sauce และ framework ในการพัฒนาคนสำหรับ HR ที่ต้องการสร้าง culture แบบเป็ด และ design ความ DODEE ในแบบของตัวเองซึ่งมี canvas ให้ลองทำไปพร้อมกัน step by step อีกทั้งยังมี clinic เป็ด แนะนำวิธีปลดล็อคศักยภาพของ future talent สำหรับองค์กร โดยพี่อาร์ทและทีม WEDO เข้าไป coaching เพื่อที่จะประยุกต์ใช้แนวคิดของ DODEE ให้เข้ากับสถานการณ์ของแต่ละองค์กรเลยทีเดียว

นอกจากนี้พี่อาร์ทยังฝากไว้ว่าในการทำให้สิ่งที่ WEDO กำลังผลักดันอย่าง BiT สำเร็จได้ ไม่สามารถทำได้เพียงคนเดียวแต่ต้องทำด้วยกันทั้งภาคองค์กร ภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคการศึกษาเพื่อให้ประเทศไทยสามารถเปลี่ยนจากการเป็น user ที่ซื้อนวัตกรรมมาใช้งานและขายไป เป็น maker ผู้สร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

“TO GET THERE TOGETHER”

เขียนโดย พิสินี ตันตราชีวธร YTPGen1, WEDO

--

--