D-Class Special จะเขียนอย่างไรให้โดนใจผู้อ่าน

Parima Spd
WEDO
3 min readApr 29, 2021

--

คุณ P Panit เจ้าของเพจ “วันนี้สรุป..มา — Clubhouse Thailand”

ที่มาของเพจ

  • ชอบไปงานสัมมนา ชอบฟัง Podcast
  • เป็นคนชอบจดบันทึกลงในไอแพดของตัวเอง ไม่ว่าจะไปงานไหนก็ตาม
  • เมื่อ 2 เดือนที่แล้วมีแอปพลิเคชัน Clubhouse เกิดขึ้นมา (จริงๆ มันมีมานานแล้ว แต่ Elon musk เป็นคนจุดกระแสมันขึ้นมา
  • พอเริ่มเข้าไปใน Clubhouse ก็จดลงใน Note ตามปกตินั่นแหละ แล้วก็คิดว่า สิ่งที่เราจดมันดี/เป็นความรู้ แล้วแอปนี้มันก็ดูย้อนหลังไม่ได้ ก็เลยคิดว่า ทำไมไม่ลองเอาสิ่งที่เขียนมาแชร์ล่ะ? พอคิดได้ก็เปิดเพจ แล้วก็โพสต์ลงไป โดยโพสต์แรกคือ แนวทางการปั้น YouTube จาก iCreator Clubhouse ก็ได้รับการแชร์หลักร้อย พอโพสต์หลังๆ ก็ได้รับการตอบรับที่ดี แล้วก็มาทำโพสต์ทุกวัน ใน 1 เดือน ได้ยอดไลก์เพจมากขึ้น 20,000 ไลก์

วิเคราะห์ตัวเองว่า ทำยังไงให้เพจโตไวได้ขนาดนี้

  • จับกระแสได้ตรงจุด เพราะ Clubhouse เพิ่งมาใหม่
  • Solve problem ได้ตรงจุด (FOMO) เช่น เข้าฟังไม่ได้, คนที่ไม่ชอบฟังแต่ชอบอ่านมากกว่า
  • ช่วยกระจายคอนเทนต์จาก iOS -> android
  • ทำ infographics สลับเนื้อหา คิดว่าฟังอย่างเดียวอาจจะไม่เห็นภาพ ก็ใส่ graphic เพิ่มเข้าไป และทำให้เป็นหมวดหมู่
  • คิดว่าเพจตัวเองเป็นเหมือน Netflix ต้องทำ Content ของตัวเองบ้างแล้ว ก็เลยทำทำ Original Content ต่อยอด ดูว่าอันไหนยังไม่มีคนจัด คิด Topic มาแล้วก็ไปเชิญคนในวงการมาคุยกัน
  • มีการสื่อสารกับลูกเพจเสมอ Content ทั้งหมดจะตอบเอง และตอบทุกวัน
  • ทำสรุปทุกวัน Consistency is the key ถึงช่วงหลังๆ จะทำน้อยลงเพราะมีการจัด session ของตัวเอง แต่ก็ยังทำสรุปอยู่ อาจจะวันเว้นวัน
  • Top 3 ของ Content ที่ได้รับความนิยม: P&G เค้าสอนอะไร (How To, Self development, คน P&G ช่วยแชร์ > คนอกหักอยากดูดวงโดยหมอช้าง > Marketing 5.0 ของพี่ Parin

ทำไมเราถึงควรเริ่มเขียน

  • ใช้ต้นทุนน้อย ถ้าเทียบกับการถ่ายภาพหรืออื่นๆ
  • เป็นการเริ่มต้นเล่าเรื่องที่ง่ายที่สุด
  • ช่วยบันทึกความทรงจำ เหมือนกับการเขียนไดอารี่
  • ช่วยเก็บความรู้และสามารถส่งต่อ

การเขียนให้ประโยชน์อะไร

  • ได้ทบทวนตัวเอง พอกลับมาอ่านก็ได้ทบทวนอีกรอบด้วย
  • ทำให้เราได้ย้อนกลับไปนึกถึงความคิด ความรู้สึกของช่วงเวลานั้นๆ (เช่นการเขียนไดอารี่ ทำให้เรานึกออกว่าเราเป็นยังไง ซึ่งมันชัดเจนกว่าการดูรูปถ่าย)

ทำไมเขียนแล้วถึงควรแชร์

  • ทำให้เราตั้งใจในการเขียนมากขึ้น ต้องเข้าใจเนื้อหาก่อนถึงจะเขียนได้
  • ได้ Feedback งานเขียนของเรา
  • ได้ความเห็นอื่นๆ เพิ่มเติม เอาไปต่อยอดได้
  • ช่วยกระตุ้นสังคม ซึ่งเราอาจจะเห็นได้หลายเพจ เช่น เขียนไว้ให้เธอ ของพี่โจ้ ธนา, เพจของพี่นิดนก — ห้องน้ำของไอคอนสยาม ที่ตอนแรกไม่มีไอคอน M, W แปะ แต่ตอนหลังทางห้างก็มีการปรับปรุงเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายมากขึ้น
  • เป็นการหารายได้เสริม

คุณพีได้อะไรจากการเขียนแล้วแชร์บ้าง

  • ได้รู้จักคนใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
  • ได้กำลังใจจากลูกเพจ
  • ได้รายได้เพิ่มเติม
  • ได้มีโอกาสพูดคุยกับคนมีชื่อเสียง
  • ได้ต่อยอดไปทำอย่างอื่น

เขียนอย่างไรให้น่าสนใจ

  • ต้องเร็ว ชิงพื้นที่ จับกระแส — เวลาในห้องก็ฟัง พิมพ์ไปด้วย พอจบก็รีบเกลาคำ ดูคำผิด แล้วก็โพสต์ทันที
  • ถ้าไม่เขียนให้เร็วสุดก็ต้องละเอียดที่สุด ลง Detail ให้มากสุด เช่น ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไรใน 5 ปี โพสต์นี้ขึ้นหลังจาก session จบแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ลง Detail ทำเป็น bullet และทำ Infographic

เทคนิคในการทำสรุป

  • ตัวสะกด ห้ามผิดเด็ดขาด เวลาเขียนก็ต้องอ่านอีกรอบ และมีตัวช่วยสำคัญคือคุณแม่ช่วย Proof-read อีกรอบ / ถ้าโพสต์ไปแล้ว มีคนทักมาว่าสะกดผิด ก็จะรีบแก้ไขทันที
  • อย่าพลาด Keyword ที่สำคัญ รวมถึงบางคำที่เป็น Specific ของเค้า
  • อันไหนไม่แน่ใจควรหาข้อมูลเพิ่มเติม อันไหนไม่แน่ใจก็ทักกลับไปหา Speaker ที่พูด หรือบางคำเป็นคำเฉพาะมากๆ ก็จะไป Google แล้วเอาคำอธิบายมาแปะเพิ่มเติมให้
  • ทำ Fact-checking เราไม่ควรเป็นหนึ่งในการกระจายข้อมูลผิดออกไป ควรรับผิดชอบในสิ่งที่เราเขียนและโพสต์ด้วย
  • หาข้อมูลรอบตัวอยู่เสมอ
  • จัดลำดับให้เป็น Structure ยิ่งเป็น Clubhouse มันอาจจะคุยกระโดดไปมา ก็ต้องมานั่งอ่านแล้วจัดดีๆ ถ้าเป็นการเล่าเรื่องส่วนตัว ก็จะเขียนตามนั้นและพยายามเก็บมาให้ครบ

แล้วจะเริ่มยังไงล่ะ?

  • เพื่อเป็นบันทึกส่วนตัว
  • เพื่อบันทึกความรู้
  • เพื่อการส่งต่อความรู้
  • เพื่อกระตุ้นสังคม
  • เพื่อหารายได้เสริม

ตอนที่เขียนไปเรื่อยๆ อาจจะเปลี่ยนแนวทางก็ได้ เช่นเขียนดีมากๆ ก็ไปเขียนหนังสือก็เป็นได้

เลือกแพลตฟอร์ม

  • WEDO
  • Medium ที่ชอบคือ เขียนแล้วจัดหน้า/รูปสวย ถ้าเป็นนักเขียน Premium ก็ set ให้คนจ่ายเงิน Exclusive content ของเราได้ ในไทยอาจจะใช้ในกลุ่มจำกัด เช่น กลุ่ม Tech ข้อดีอีกข้อคือ สามารถทำ Personal Branding ได้
  • Facebook Profile/Page ข้อดีคือมันกระจายง่าย แต่ถ้าทำเพจอาจจะยากนิดนึง เพราะว่า Reach, การยิง Ads ช่วงนี้มันยาก | Trick คือ เขียนเสร็จแล้วเอาไปแชร์ใน Group (แต่ทั้งนี้ก็ต้องตาม Algorithms ที่มันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา)
  • Blockdit มีการประชาสัมพันธ์ว่า ไม่มีโฆษณาและไม่มีดราม่า พยายามสนับสนุนให้คนมาเขียน ถ้ามี Follower > 1,000 แล้วมีผลลัพธ์ที่ดีภายใน 24 ชั่วโมง จะมีการแบ่ง incentive ให้ ค่อนข้าง Mass กว่า Medium

Roll up your sleeves and let’s write together!

P’Phorn — Relationship Manager WEDO

รูปแบบของบทความ

Fact

  • แปลข่าว
  • สัมภาษณ์บุคคล
  • สรุปเนื้อหา
  • ประสบการณ์

Opinion

  • การบอกเล่าเรื่องราว
  • ประสบการณ์
  • ความคิดเห็น
  • การวิเคราะห์ข้อมูล

เราอาจไม่สามารถเชื่อถือข้อมูลนั้นได้ทั้งหมด ต้องมีการวิเคราะห์ก่อนว่าน่าเชื่อถือหรือไม่

Opinion อาจจะเป็นเรื่องจริง แสดงจุดยืนในด้านใดด้านหนึ่ง แหล่งอ้างอิง(ซึ่งต้องมีการ Proof เช่นกัน) อธิบายเชิงตรระกะ/ทฤษฎี

เราจะเขียนบทความอะไร ในเชิง Strategic Content

  • Story เขียนจาก Passion, ความสนใจ เพราะจะทำให้มีแรงเขียนให้จบได้มากขึ้น ถ้าต้องไป Research เพิ่มเติม
  • Audience
  • Sequence
  • Channel
  • Evaluation เป็นอะไรก็ได้ จะได้มี milestones ว่า next step เราอยากจะไปในทิศทางไหน
  • เราได้อะไร คือการตอบคำถามตัวเองว่าที่เสียเวลาทำ ทำไปทำไม
  • Key Takeaways

ตัวอย่างการเขียน บทความที่วิเคราะห์ Clubhouse ก็เอา BMC เข้ามาช่วยวิเคราะห์ แล้วก็ หยิบ AARRR Framework (Growth Funnel) มาแล้วค่อยใส่ความคิดเห็น จากนั้นอย่าลืมให้ Credit ของสิ่งที่เรา Reference มา

Format ยกตัวอย่างรูปแบบที่เห็นๆ กัน

  • Title, Summary, Content+Photo, Conclusion Call to action
  • Title, Introduction, Content — Bullet point, Conclusion, Call to action
  • Title, Keyword, Content, Reference, Content, Conclusion, Call to action

Cover | Photo — Tricks and Tips

  • Creation: Remove.bg, Canva, Paper, Procreate
  • References: Pixabay, Freepik, Pexels, Unsplash

แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานเขียน

Q1: เราเริ่มชอบเขียนตั้งแต่เมื่อไหร่ คิดว่าอะไรที่ทำให้ชอบการเขียน

  • คุณพี — ชอบจดอยู่แล้ว เขียนก็แบบไดอารี่บ้าง Facebook status บ้าง พอมาทำเพจก็เลยทำให้รู้ว่าตัวเองชอบเล่าเรื่อง
  • พี่พอน — สมัยเด็กคือจะเป็นตัวแทนด้านอ่านทำนองเสนาะ การเขียน การพูด แต่ก็ไม่ได้เรียนนิเทศ น่าจะเป็นเพราะได้จับมาตั้งแต่เด็ก

Q2: คนที่เขียนเก่งมักจะชอบอ่านหนังสือ/อ่านหนังสือเยอะ

  • พี่พอน — เป็นคนอ่านหนังสือไม่เยอะ เพราะรับข้อมูลได้ดีจากการฟัง และรู้สึกว่าการฟังใช้เวลาน้อย การอ่านอาจจะไม่เกี่ยว แต่มีส่วนช่วย เพราะมันคือการดูตัวหนังสือ การใช้คำ การเรียงประโยค การร้อยเรียงเนื้อหา
  • คุณพี — เป็นคนชอบฟังมากกว่า ชอบคุยกับคน ก็จะช่วยเรื่องงานเขียน ถ้าอยากเขียนหนังสือ อาจจะต้องอ่านหนังสือเยอะจริงๆ การอ่านช่วยเรื่องการเกลาคำ/ภาษา เราจะมีคลังคำอยู่ในหัวเยอะ เลือกใช้ได้เยอะ ถ้าจะแนะนำคือขึ้นกับว่าเราชอบแบบไหนดีกว่า เพราะสมัยนี้ก็มีสื่อหลายรูปแบบ เลือกเสพสิ่งที่ง่าย สิ่งที่เราชอบ เวลามาเขียนก็จะง่ายและไม่เบื่อ

Q3: อุปสรรคในการเขียน ผ่านจุดนั้นมาได้ยังไง วิธีก้าวผ่านแรงกดดัน

  • พี่พอน — ถ้ายังหาคำตอบไม่ได้ว่าเขียนไปทำไม ก็จะผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ | เป็นคนชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ พอผ่าน Step1 ไปได้ ต่อไปก็ง่ายขึ้น | ไม่ค่อยแคร์กับจำนวนคน เราอยากทำ ก็ทำของเราต่อไป
  • คุณพี — อุปสรรคสำคัญคือเราไม่มี Deadline พอไม่มีจุด cut point เราก็จะปล่อยมันไปเรื่อยๆ | ต้องตั้ง Deadline ให้ตัวเอง | ต้องนึกว่าเราชอบอะไร เวลาไปเห็นอะไรอาจจะจด Note ไว้ สิ่งที่ยากสุดคือจุดเริ่ม และจุดที่สองคือการจบ พอมันเริ่มแล้ว มันจะลื่นไหล ระหว่างนั้นก็หา material มาเสริม

Q4: รู้สึกรักงานเขียนชิ้นไหนมากที่สุด เพราะอะไร และมีไอดอลในงานเขียนไหม

  • คุณพี — บทความที่เขียน เอาไปพูดใน CH แล้วก็สรุปสิ่งที่เราพูดมา — 9 วิธีสร้างแรงจูง ทำอะไรก็สำเร็จ ส่วนอีกตัวที่ชอบคือเนื้อหาสรุป CH ที่คุณตันมาแชร์ | ไอดอล ถ้านึกไวๆ คือ พี่โจ้ ธนา, James Clear (ผู้เขียนหนังสือ Atomic Habits), วิเคราะห์บอลจริงจัง
  • พี่พอน — ไม่มีอันไหนที่รัก/ชอบมากที่สุด เพราะรู้สึกว่าทุกอันที่เขียนมันมีเนื้อหา/วัตถุประสงค์ที่ต่างกัน | จะชอบของ harvard business review กับ Poetry of Bitch

Q5: อยากมีงานเขียนรูปแบบอื่น หรือทำอะไรอย่างอื่นเพิ่มไหม

  • พี่พอน — การเขียนคือ based ของ storytelling, structure sequence เรื่องอื่นๆ รวมถึงการ Meeting ตอนนี้เริ่มทำ YouTube ซึ่งรู้สึกว่ามัน Challenge มากๆ เพราะไม่ได้แค่เขียน แต่ต้องถ่าย มีกราฟิก มีอื่นๆ อีก
  • คุณพี — ก็จะมี Startup ของตัวเอง รวมถึง CH ที่เริ่มจัดเอง อนาคตอยากทำรายการโชว์ แล้วก็ไปสายพิธีกร สัมภาษณ์/พูดสด รวมถึง Podcast, Youtube

Q6: ให้กำลังใจ/ไม่มั่นใจในการเขียนว่าควรทำยังไง

  • พี่พอน — ทุกคนเขียนทุกวันอยู่แล้ว เช่น การพิมพ์คุยงาน การเขียนมันอยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด แต่ถ้าไม่มั่นใจ การอ่านจะช่วยให้เราเลือกคำ การเรียงลำดับเรื่องได้ดีขึ้น จะเป็นบทความ สรุปเพจ โดยที่ไม่ต้องเป็นหนังสือก็ได้ โดยเริ่มได้จากพื้นที่ส่วนตัว ยังไม่ต้อง Public ก็ได้ แค่ต้องลองทำดูก่อน
  • คุณพี — อยากให้มาลองเขียน เพราะเราไม่รู้หรอกว่าการเขียนของเราจะพาเราไปจุดไหน เราไม่ต้องเขียนเพื่อใครก็ได้ เราเขียนเพื่อตัวเอง ตอบโจทย์ตัวเองก็ได้ เริ่มจากตัวเอง แชร์ให้ครอบครัว หรือแชร์ให้ WEDO ก่อนก็ได้
    ให้เราลองคิดว่า ถ้าเราจะเริ่มทำอะไรบางอย่าง Worst case ที่สุดที่จะเกิดขึ้นคืออะไร เช่น ถ้าเขียนแล้วมีคนมาว่าเรา มันก็คือแค่นั้น ก็ไม่ได้เป็นอะไร ถ้ามันไม่ได้หนักหนาอะไร เราก็จะกล้าทำสิ่งนั้น แค่ต้องเริ่ม และต้องมี Deadline
  • พี่พอน — ถ้าไม่มั่นใจ ก็ใช้เป็นนามปากกาก็ได้ ไม่ต้องบอกว่าเป็นเรา จะช่วยให้เราเริ่มได้ง่ายขึ้น
  • คุณพี — การไม่เปิดเผยตัว อาจช่วยลดเรื่อง bias ได้ด้วย และ keep privacy ถ้าเราต้องการส่วนนี้อยู่

ปิดท้ายด้วย Q&A สุด Exclusive และ Class Challenge เพื่อลุ้นรับของรางวัล (ถ้าไม่ขี้เกียจก็จะทำ) 555+

--

--

Parima Spd
WEDO
Writer for

I enjoy reading and writing. Continue to learn and try new things to improve. Before you die, explore this world.